Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29186
Title: การประมาณต้นทุนการก่อสร้างของโครงการเคหะชุมชนลาดกระบัง
Other Titles: estimation of construction cost of the housing project in Lat Krabang
Authors: มยุรี อัศดรวงศ์ไพศาล
Advisors: สุภาพรรณ รัตนาภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีพของประชาชน รัฐบาลจึงให้ความสำคัญในด้านที่อยู่อาศัยของประชาชนให้มีการอยู่ดีและถูกสุขลักษณะโดยได้อนุมัติให้การเคหะแห่งชาติจัดทำโครงการเคหะชุมชนลาดกระบัง ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งในแผนงานเร่งรัด เพื่อสนองความต้องการในด้านที่อยู่อาศัยของประชาชน โครงการนี้มีหลักการใหม่ที่สำคัญคือ พยายามให้ผู้อยู่อาศัยในโครงการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และรัฐบาลจะช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น จำนวนของผู้รับผลประโยชน์ของโครงการนี้ได้เน้นให้เพิ่มมากขึ้นกว่าโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมาของการเคหะแห่งชาติ ด้วยการสร้างที่อยู่อาศัยประเภทสร้างบางส่วนเพื่อให้มีต้นทุนต่ำ ซึ่งผู้เช่าซื้อที่มีรายได้น้อยจะได้สามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ และมีโอกาสที่จะต่อเติมที่อยู่อาศัยได้เมื่อฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น วัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์นี้ก็เพื่อศึกษาถึงวิธีการกำหนดต้นทุนที่อยู่อาศัยของโครงการเคหะชุมชนลาดกระบังซึ่งเป็นโครงการที่มีลักษณะพิเศษ คือโครงการที่มุ่งให้ผู้ที่อยู่อาศัยในโครงการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยการให้ผู้มีรายได้สูงช่วยอุดหนุนต้นทุนที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย แต่จะได้รับความสะดวกสบายจากสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นสิ่งทดแทน จากการศึกษาปรากฏว่าวิธีการกำหนดต้นทุนที่อยู่อาศัยของการนี้มีขั้นตอนดังนี้ ขั้นแรก สำรวจกลุ่มรายได้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการ เพื่อกำหนดอัตราการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อของผู้มีรายได้แต่ละระดับอันจะทำให้ทราบถึงประเภทที่อยู่อาศัยที่ควรจัดทำในโครงการและจำนวนที่อยู่อาศัยที่ควรสร้างสำหรับแต่ละระดับรายได้นั้น โครงการเคหะชุมชนลาดกระบังได้ทำการสำรวจกลุ่มรายได้ของประชาชนที่คาดว่าจะเข้าอยู่อาศัยในโครงการเมื่อปี 2521 ซึ่งได้แก่ แหล่งเสื่อมโทรมคลองเตย นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง และโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ใกล้บริเวณโครงการ และยังได้นำข้อมูลของผู้แสดงความจำนงว่าต้องการที่อยู่อาศัยที่การเคหะแห่งชาติเป็นผู้จัดสร้าง ซึ่งเรียกว่า “บัญชีรอ” มาประกอบการจัดกลุ่มรายได้และความต้องการของกลุ่มรายได้นั้น ๆ นอกจากการสำรวจรายได้ดังกล่าวแล้วก็ได้นำอัตราร้อยละของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจไว้ เมื่อปี 2518-2519 มาประกอบการกำหนดอัตราการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ และประเภทที่อยู่อาศัยของโครงการ ซึ่งจากอัตราการผ่อนชำระและกลุ่มรายได้นี้สามารถนำมากำหนดประเภทและต้นทุนที่อยู่อาศัยแต่ละประเภทของโครงการได้ ขั้นที่สอง พิจารณาเงินทุนทั้งหมดที่ต้องใช้ในโครงการซึ่งประกอบด้วยค่าที่ดิน ค่าปรับปรุงที่ดิน (ระบบป้องกันน้ำท่วม) ค่าสาธารณูปโภคและสาธารณูปการทั้งภายในและภายนอกโครงการ และค่าก่อสร้างที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ ในการคำนวณเงินทุนที่ต้องใช้สำหรับแต่ละรายการข้างต้นได้มีการรวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าออกแบบและอำนวยการ ค่าดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง สำรองราคาทางกายภาพและสำรองราคาเผื่อวัสดุขึ้นราคา โดยคำนวณในรูปของสัมประสิทธิ์ร่วม เงินทุนทั้งหมดของโครงการนี้จะจัดทำขึ้นเป็นงบประมาณเพื่อเสนอขออนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ขั้นที่สาม จัดสรรค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการให้แก่ที่อยู่อาศัยแต่ละประเภทในลักษณะที่ก่อให้เกิดการอุดหนุนซึ่งกันและกันในระหว่างผู้เช่าซื้อที่มีระดับรายได้ต่างกัน ซึ่งต้องมีการพิจารณาทั้งโครงเป็นส่วนรวมด้วยว่าโครงการมีรายรับที่ได้จากผู้เช่าซื้อ และจากหน่วยงานของรัฐที่กำหนดให้มีโครงการคุ้มกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการหรือไม่ จากการวิเคราะห์ของผู้เขียนสรุปได้ว่า วิธีการกำหนดต้นทุนที่อยู่อาศัยแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับระดับรายได้และความสามารถในการผ่อนชำระของผู้เช่าซื้อ โดยทำให้โครงการทั้งโครงการคุ้มทุนนี้เป็นวิธีการที่น่าสนใจสำหรับภาครัฐบาลคือ โครงการสามารถประสบความสำเร็จได้โดยรัฐบาลให้การอุดหนุนเฉพาะสิ่งที่จำเป็นในด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการของโครงการเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นโครงการที่ช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยที่เป็นของตนเองด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในระหว่างผู้เช่าซื้อที่อยู่อาศัยในโครงการ แต่ก็มีข้อน่าสังเกตเกี่ยวกับวิธีการกำหนดต้นทุนว่า การกำหนดอัตราค่าดำเนินการคงที่ในอัตราร้อยละสองของต้นทุนแต่ละประเภทเหมาะสมเพียงใด การกำหนดให้ดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้างเกิดขึ้นสำหรับระยะเวลาสองในสามของระยะเวลาการก่อสร้างทั้งโครงการจะถูกต้องใกล้เคียงกับระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานจริงเพียงใด และสำรองราคาทางกายภาพและสำรองราคาเผื่อวัสดุขึ้นราคาที่กำหนดไว้สูงหรือต่ำเกินไปหรือไม่ หากสิ่งเหล่านี้ไม่ถูกต้องก็อาจมีผลให้ต้นทุนที่อยู่อาศัยจริง (ราคาที่ได้จากการประกวดราคาก่อสร้างโครงการนี้) ต่างจากจำนวนที่กำหนดไว้ นอกจากนี้สภาวะการตลาดของอุตสาหกรรมการก่อสร้างก็อาจมีผลต่อต้นทุนที่อยู่อาศัย เนื่องจากในปัจจุบันสภาวะการตลาดของอุตสาหกรรมนี้ค่อนข้างซบเซา และมีการแข่งขันกันมากเพื่อให้ได้งาน ดังนั้นต้นทุนที่อยู่อาศัยจริงที่เกิดขึ้นอาจต่ำกว่าต้นทุนที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามการศึกษาถึงวิธีการกำหนดต้นทุนของโครงการลาดกระบังของผู้เขียนนี้เป็นเพียงการศึกษาและวิเคราะห์ถึงวิธีการประมาณโดยเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ควรจะได้มีการศึกษาต่อเมื่อต้นทุนจริงของโครงการได้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นหากโครงการนี้ได้รับผลสำเร็จด้วยดีแล้ว รัฐบาลก็จะมีรูปแบบของโครงการที่ดีที่จะใช้ต่อไปในอนาคต
Other Abstract: One factor among the four necessities of life is housing. The government consequently has shown its keen interest in providing adequate housing for the people. To achieve this goal, the government has given its approval to the National Housing Authority (NHA) to set up the Ladkrabang Housing Community Project, to be included in the state accelerated plan. In order to meet the demand of the public on housing, this project has one important criteria, that is, there will be a cross subsidy among the hire-purchasers while the government will render assistance only on certain necessary aspects, since this project aims to benefit more people than previous projects of the NHA, the types of dwellings to be offered will include that of sites and services so that the costs will be low while the purchasers can expand it as or when they require and are in a position to do it. The author was interested in making a study of this project. The study revealed that calculation of construction cost of the project had been done in three steps:- The first step surveyed the objective groups’ revenue in order to find the affordability rate of payment for each revenue group that would give an estimate of the number and kind of habitats which ought to be built in this project. In B.E. 2521 the Ladkrabang housing Community Project made a survey of the people who would like to live in this project. The areas surveyed were the slums in Klong Toey, companies in the ladkrabang Industrial Estate, factories and industries in the area close to the project; the waiting list which had shown interest in housing to be provided by the NHA was also taken into consideration. The project used the percentage rate of expenditures on housing surveyed by the National Statistics office in B.E. 2518-2519. This percentage rate would help estimating the rate of affordability of payment and the kind of habitat suitable for each revenue group. The second step considered the total cost of the project, which includes the cost of land acquisition, land improvement (flood protection), on-site and off-site infrastructures, provision of community facilities, and construction costs. Also to be included are the expenses of management, the cost of designing and overseeing, interest during construction, some provision for physical contingency and price contingency. To facilitate calculation, these expenses are to be included into total cost by means of co-efficients, the total amount arrived at for the project would then be corporated into a budget in order to ask for a government appropriation. The third step was to allocate the total cost of the project to each kind of the habitats, taking into consideration the cross-subsidy of the various revenue groups among the hirepurchasers. The revenue received from the hirepurchasers and from various government agencies which would be involved in the provision of various facilities must break even with the total cost of the project. Going through the various steps the NHA applied in arriving at the total cost of each type of housing it offered as well as monthly payment for its hirepurchasers, the author has following reservations :- 1) The appropriateness of fixing the cost of management at 2% on other costs. 2) The assumption of interest to be applied only to 2/3 of the period of construction could be very much affected should the period of construction be unduly extended. 3) The state of construction market at the time of the tender for the project would have an effect on the construction cost. The NHA itself seems to have same doubts on the appropriateness of the rate to be charged for management of the Project as it is at present making a study on it. The result of the study will give some indication as to how and what rate should be applied. However, the present study undertaken by the author involved only the estimation of the cost of the project. After the project has been completed, a further study should be undertaken, so that a comparison between the estimated and actual costs could be made which would provide the Government with a basis for decisions involving further beneficial projects.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29186
ISBN: 9745631531
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mayuree_as_front.pdf5.27 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_as_ch1.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_as_ch2.pdf7.15 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_as_ch3.pdf7.55 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_as_ch4.pdf34.76 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_as_ch5.pdf11.34 MBAdobe PDFView/Open
Mayuree_as_back.pdf29.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.