Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29252
Title: การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน : ศึกษาบทบาทของประเทศไทย สมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน
Other Titles: The establishment of Asean free trade area : a study of the role of Thailand under Anand Panyarachun's Government
Authors: เสวก มีลาภกิจ
Advisors: ชัยโชค จุลศิริวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาบทบาทของประเทศไทย สมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน (ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2534 - 28 มกราคม 2535) ที่มีต่อความสำเร็จของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเชียนหรืออาฟต้า ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ในปี 2535 ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า การดำเนินการเพื่อให้ประเทศสมาชิกของอาเซียนมีเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันมีความสำคัญต่อการจัดตั้งฯ มากกว่าสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกประเทศในขณะนั้น ผลการศึกษาได้ข้อสรุปที่ตรงกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่า สภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นเพียงปัจจัยผลักดันและสร้างเงื่อนไขกระตุ้น ตลอดจนเอื้ออำนวยให้ประเทศสมาชิกของอาเซียนมีการดำเนินการ เพื่อให้มีการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจได้ง่ายขึ้นเท่านั้น แต่การยอมรับและร่วมลงนามในเอกสารจัดตั้งฯ ดังกล่าวเกิดขึ้นไค้เพราะรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน สามารถดำเนินการโน้มน้าวทางการทูตจนประเทศสมาชิกอื่น ๆของอาเซียน ทั้งในระดับผู้นำสูงสุดและรัฐมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอินโดนีเซีย มีเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันในเรื่องดังกล่าวได้สำเร็จ ความสำเร็จดังกล่าวทำให้ได้ข้อสรุปเพิ่มเติมว่า 1) ความสำเร็จของการดำเนินนโยบายต่างประเทศขึ้นอยู่กับผู้นำสูงสุดและเจ้าหน้าที่ในระดับ ต่าง ๆ ที่มีความสามารถส่วนตัวและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย 2) เขตการค้าเสรีอาเซียนที่ได้รับการยอมรับและร่วมลงนามในเอกสารจัดตั้งฯ นั้นสามารถ ประสบความสำเร็จได้ หากประเทศสมาชิกของอาเซียนมีเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันและให้ความร่วมมือกันอย่างจริงจัง โดยไม่มุ่งปกป้องผลประโยชนแห่งชาติของตนจนละเลยผลประโยชน์ของภูมิภาคโดยรวม
Other Abstract: This thesis's major objective focuses on the study of the role of Thailand under Anand Panyarachun’s government (March 2,1991 to January 28, 1992) in making the establishment of ASEAN Free Trade Area (AFTA) a success in the fourth ASEAN Summit Meeting held in 1992. This is to show that the attempt to have a joint political will of all ASEAN member countries has greatly affected the establishment than the internal and external environments at that time. The summation of this study is in line with the established assumption in that the environments created only encouraging conditions as well as facilitating ASEAN member countries to work for an economic- grouping; however, the acceptance and joint-signing of the AFTA documents resulted from the ability of Anand Panyarachun's government in exercising diplomatic role to inspire all top leaders and ministers of ASEAN member countries particularly Indonesia, to have a joint political will on such matter. The said success provided an additional conclusion as follows: 1) the success of generating the foreign policy of a state depends on the top leader and various ranking officers who have personal competency and joint effective work within a facilitating environments; 2) the accepted and signed ASEAN Free Trade Area can be a great success provided that all ASEAN member countries have a joint political will and a sincere cooperation without aiming to protect their national interests and disregarding the common interests of the region.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29252
ISBN: 9745839264
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Savek_me_front.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open
Savek_me_ch1.pdf8.64 MBAdobe PDFView/Open
Savek_me_ch2.pdf17.12 MBAdobe PDFView/Open
Savek_me_ch3.pdf20.29 MBAdobe PDFView/Open
Savek_me_ch4.pdf33.04 MBAdobe PDFView/Open
Savek_me_ch5.pdf4.64 MBAdobe PDFView/Open
Savek_me_back.pdf24.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.