Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29520
Title: อัตราการเกิดและลักษณะทางกายภาพของขยะจากอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: Generation rate and physical characteristic of solid wasters from food processing industry in Bangkok metropolis
Authors: ยุทธนา เรืองเดชบุญฤทธิ์
Advisors: ธเรศ ศรีสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาหาอัตราการเกิดของขยะรวมทั้งลักษณะทางกายภาพและเคมีจากอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร 10 กลุ่ม คือ อุตสาหกรรมการฆ่าและชำแหละสัตว์ปีก, น้ำนม, สัตว์น้ำทะเลบรรจุกระป๋องหรือแช่แข็ง, น้ำมันพืช, ผักผลไม้ไม้กระป๋องหรือแช่แข็ง, บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, เครื่องปรุงรสอาหาร, ไอศกรีม, ขนมขบเคี้ยวและน้ำตาลกลูโคสเหลว ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการขยะที่เกิดขึ้น จากอุตสาหกรรมเหล่านี้ ผลของการศึกษาพบว่าอัตราการเกิดขยะของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารมีอัตราการเกิดขยะอยู่ระหว่างร้อยละ 0.4 – 10.5 ของน้ำหนักวัตถุดิบ และอยู่ระหว่างร้อยละ 0.6 – 9.9 ของน้ำหนักผลิตภัณฑ์ สำหรับอุตสาหกรรมผักผลไม้กระป๋องและซอสปรุงรสอาหารจะมีอัตราการเกิดที่สูง เนื่องจากการทิ้งเศษวัตถุดิบไปเป็นขยะ โดยมีอัตราการเกิดขยะเท่ากับร้อยละ 39 และ 29 ของน้ำหนักวัตถุดิบ และอัตราการเกิดขยะเทียบกับผลิตภัณฑ์เท่ากับร้อยละ 57 และ 22.5 ของน้ำหนักผลิตภัณฑ์ ส่วนลักษณะทางกายภาพและเคมีที่วิเคราะห์ได้จะใช้เป็นตัวกำหนดวิธีกำจัดขยะที่เกิดขึ้น ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่าขยะจากอุตสาหกรรมเหล่านี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ 1) ขยะจากการบรรจุ มีองค์ประกอบหลักเป็นพวกพลาสติกและเศษกระดาษ โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 26.56 – 75.83 และ 20.26 – 48.73 ของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ มีปริมาณเถ้าเฉลี่ยร้อยละ 1.49 -9.14 และค่าความร้อนเฉลี่ย 2,710 – 7,000 แคลลอรี่ต่อกรัม จึงสามารถกำจัดโดยวิธีการเผาได้ 2) ขยะจากกระบวนการผลิตได้แก่ เปลือกผลไม้ กากซุป เศษบะหมี่ เปลือกมันและเศษขนม เป็นสารอินทรีย์ที่มีความชื้นเฉลี่ยร้อยละ 10.44 – 92.87 และมีค่าอัตราส่วนระหว่างคาร์บอน และไนโตรเจนในช่วง 10.75 -78.51 สามารถนำไปทำปุ๋ยหรืออาหารสัตว์ สำหรับผงฟอกสีและผงคาร์บอนมีปริมาณเถ้าสูงถึงร้อยละ 55.4 และ 29.32 ควรกำจัดโดยวิธีฝังกลบ เช่นเดียวกับกากซอสปรุงรสอาหารเพราะมีความเค็มของเกลือแกง
Other Abstract: The objective of this research is to study the generation rate and the physical and chemical characteristics of solid waste from 10 groups of food processing industries; poultry slaughting, milk, seafood canning or freezing, vegetable oil, vegetable and fruit canning or freezing, ready made noodle, seasoning sauce, ice cream, snacks, and glucose syrup industry in Bangkok Metropolis in order to use these data for solid waste management from these industries. This study indicated that generation rate of solid waste from food processing is from 0.4 -10.5% of raw material weight and from o.6 -9.9% of product weight. High solid waste generation rate of fruit canning and seasoning sauce industry because of raw material wasting. The generation rate are 39 and 29% of raw material weight, and 57 22.5% of product weight, respectively. The physical and chemical characteristics are used to consider the disposal method. From the study, the solid waste from these industries are divided into 2 types, first is solid waste from packaging which mainly composed of plastic, 26.56 – 75.82%, and paper, 20.26 – 48.73% by dry weight. These have ash content 1.49 – 9.14% and calorific value, 2,710 – 7,000 cal/g, which can dispose by incineration. The second is solid waste from process such as fruit peel, soup and noodle residue, potato peel and snack residue. These solid waste are organic substances which have moisture content, 10.44 – 92.87%, and range of C : N ratio is 10.75 -78.51, so these solid waste make feedstuff or composting. For spent bleaching earth and carbon powder have high ash content, 55.40 and 29.32%, which suitable for landfill like sauce residue from seasoning sauce industry because of salinity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29520
ISBN: 9746362739
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yuthana_re_front.pdf4.78 MBAdobe PDFView/Open
Yuthana_re_ch1.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Yuthana_re_ch2.pdf12.42 MBAdobe PDFView/Open
Yuthana_re_ch3.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open
Yuthana_re_ch4.pdf23.46 MBAdobe PDFView/Open
Yuthana_re_ch5.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Yuthana_re_ch6.pdf620 kBAdobe PDFView/Open
Yuthana_re_back.pdf30.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.