Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29582
Title: ปฏิกิริยาของปูนขาวกับซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา ระหว่างการเผาไหม้ถ่านหิน
Other Titles: Reaction of lime and sulfur dioxide released buringcoal combustion
Authors: พัชรี ชุติศิลป์
Advisors: กัญจนา บุณยเกียรติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เทคนิคการขจัดกำมะถันในถ่านหินที่ถูกปลดปล่อยออกมาขณะเผาไหม้ โดยใช้หินปูน (CaCO₃) ปูนขาว (CaO) และโดโลไมต (Dolomite, MgC0₃,CaC0₃) เป็นเทคนิคที่รู้จักแพร่หลาย ในงานวิจัย นี้ศึกษาถึงปฏิกิริยาตลอดจนสภาวะที่เหมาะสมในการเกิดปฏิกิริยา อันจะนำไปสู่การศึกษาถึงกลไกการเกิดปฏิกิริยาดังกล่าว โดยทดลองกับถ่านหินที่มีกำมะถันรวม 2-5 % ผสมกับปูนขาวในอัตราส่วน CaO/S (โดยโมล) ระหว่าง 0-3 และอุณหภูมิ 600-1000ซ ในบรรยากาศที่มีออกซิเจนเกินพอในหลอดแก้วควอร์ตซ์ ต่อกับอุปกรณ์บรรจุสารละลายดูดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ตามมาตรฐาน ASTM D1551 และ ASTM D4239 เพื่อหาร้อยละของกำมะถันที่ถูกปล่อยออกมา และนำเถ้าไปหาองค์ประกอบเถ้าด้วยวิธีทาง X-ray diffraction จากผลการทดลอง พบว่า ปูนขาวที่เติมลงไปในถ่านหินทำหน้าที่ดูดจับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซค์ที่เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ 17.3-78.5 % เทียบกับกำมะถันทั้งหมด เมื่อเพิ่มอัตราส่วน CaO/S ที่อุณหภูมิคงที่ กำมะถันในก๊าซที่ถูกปล่อยออกมาจะลดลง ถ้าเพิ่มอุณหภูมิที่อัตราส่วน CaO/S คงที่ ปริมาณกำมะถันในก๊าซที่ถูกปล่อยออกมาจะเพิ่มขึ้น ปริมาณการปล่อยก๊าซของกำมะถันแบ่งออกเป็น 3 ช่วงคือ ช่วงแรก (อุณหภูมิ 600-800 ◦ ซ) มีปริมาณการปล่อยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนช่วงที่สอง (อุณหภูมิ 800-900 ◦ซ) ปริมาณการปล่อยลดน้อยลงกว่าช่วงแรก และคงที่ที่ช่วงสุดท้าย (อุณหภูมิ 900-1000 ◦ซ) สภาวะที่เหมาะสมสำหรับปฏิกิริยาของปูนขาวกับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สำหรับถ่านหินที่มีกำมะถันรวมระหว่าง 2-5 % คืออัตราส่วน CaO/S (โดยโมล) 2-2.5 ที่อุณหภูมิ 800-900 ◦ซ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเถ้าด้วยเทคนิค X-ray diffraction พบ CaSO เป็นผลิตภัณฑ์หลักจากปฏิกิริยา ดังนั้นลำดับและชนิดของปฏิกิริยาที่สำคัญ ระหว่างปูนขาวกับก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ จากการเผาไหม้ถ่านหิน ที่น่าจะเป็นไปได้ มีขั้นตอนดังนี้คือ (1) 2 FeS₂ + 11/2 O₂ --------> Fe₂O₃+ 4SO₂ (2) กำมะถันอินทรีย์ + O₂ --------> SO₂ (3) SO₂ + 11/2 O₂ <====> SO3 (4) SO3 ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนที่ (3) ถ่ายเทมวลสาร (mass transfer) จากวัฏภาคก๊าซ ไปยังผิวอนุภาค CaO แล้วเกิดปฏิกิริยาตามขั้นตอนที่ (6) (5) SO₃ที่ยังเหลืออยู่ แพร่ผ่าน CaSO₄ ที่ เกิดเป็นผลิตภัณฑ์อยู่ในรูพรุนของ CaO เข้าไปยัง CaO ที่ยังไม่ไค้ทำปฏิกิริยา (6) CaO + SO₃ --------> CaSO₄
Other Abstract: Technique of coal desulfurization by using limestone (CaCO3), lime (CaO) and dolomite (MgC03, CaCO3) is widely known. This research studied about the variables that effect the desulfurization reaction during coal combustion, and the optimum condition. In the experiment, the coals containing 2-5 percent total sulfur were mixed with the lime in CaO/S mole ratio 0-3. At the temperature ranged between 600 ◦C and 1000°C with excess oxygen atmosphere, combustion of lime- coal mixtures was tested in the quartz tube connected to the absorber in accordance with ASTM D 1551 and D 4239 to determine the percentage of sulfur emissions. The mineral composition of ash was analyzed by the x-ray diffraction spectrometer. The results showed that the lime-coal mixtures absorbed SO2 17.3 - 78.5 % with respect to the total sulfur. At constant temperature, increased mole ratio decreased the sulfur emission. At constant mole ratio, higher temperature increased the emissions. The change in rate of evolved S02 was observed in three intervals; occurring rapidly at 600-800 ◦C, slowly at 800- 900 °C and finally becoming steady at 900-1000 ◦C. The optimum condition for coal having 2-5 % total sulfur was the CaO/S mole ratio 2-2.5 at 800-900 ◦C. The X-ray diffract grams showed that CaSO4 was the major product. Thus the possible steps of the reaction between lime and S02 released during coal combustion should be : (1) 2 FeS2 + 11/2 O2 --------> Fe2O3 + 4SO2 (2) organic sulfur + 02--------> S02 (3) SO2 + 11/2 O2 <====> SO3 (4) mass transfer of SO3 in the gaseous phase into the CaO particles and form CaSO4 according to (6). (5) diffusion of remaining S03 through the CaSO4 layer already formed towards the pore of the particles where unreacted CaO still exists. (6) CaO + SO3 --------> CaSO4
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29582
ISBN: 9745768731
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharee_ch_front.pdf5.02 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_ch_ch1.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_ch_ch2.pdf8.32 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_ch_ch3.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_ch_ch4.pdf10.89 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_ch_ch5.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Patcharee_ch_back.pdf6.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.