Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29614
Title: การซื้ออาวุธทันสมัยกับการเมืองระหว่างประเทศ : ศึกษากรณีประเทศไทยกับเครื่องบินเอฟ-16
Other Titles: Modern Arms Procurement in International Politics : a case Study of Thailand and the F-16
Authors: พันธ์นิดา ธูปะเตมีย์
Advisors: สุขุมพันธุ์ บริพัตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษานี้ ผู้ทำการศึกษาได้ตั้งสมมติฐานไว้ดังนี้ คือ การตัดสินใจซื้อเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบ เอฟ-18 เอ/บีนั้น มีปัจจัยที่กำหนดคือ “แนวความคิดของผู้มีอำนาจเกี่ยวกับความต้องการของระบบป้องกันประเทศของไทย” แนวความคิดดังกล่าวได้แก่ การมองว่าเวียดนามเป็นภัยและความต้องการพัฒนากองทัพให้ทันสมัยและพึ่งตนเอง เพื่อรับภัยคุกคามนั้น การซื้อระบบอาวุธทันสมัยโดยประเทศในโลกที่สามเป็นปรากฏการณ์สำคัญแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในการเมืองระหว่างประเทศ นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา การค้าอาวุธทันสมัยกับโลกที่ 3 ได้ขยายตัวออกไปมากทั้งด้านปริมาณและมูลค่าการซื้อขายอาวุธ ประเทศผู้ซื้อ และการเปลี่ยนแปลงในเรื่องคุณภาพของอาวุธที่มีความทันสมัยขึ้นเรื่อย ๆ มีความพยายามที่จะศึกษาว่าเหตุใดประเทศโลกที่ 3 จึงมีการซื้อขายอาวุธทันสมัยในขอบเขตที่กว้างขวาง แต่เนื่องจากปรากฏการณ์ในระดับโลกมีความสลับซับซ้อนมาก และยากที่จะเข้าใจได้อย่างแท้จริง และเนื่องจากแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของตน ดังนั้น เพื่อช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในปรากฏการณ์ดังกล่าวแนวทางในการศึกษาควรเป็นการศึกษาเฉพาะกรณี การทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เลือกศึกษากรณีของประเทศไทย เกี่ยวกับการตัดสินใจของรัฐบาลในการซื้อเครื่องบิน เอฟ-18 ให้กับกองทัพอากาศในช่วงปี 1983-1987 เมื่อศึกษาจากข้อมูลขั้น ทุติยภูมิ (secondary sources) คือจากบทความต่าง ๆ และจากข้อมูลขั้นปฐมภูมิ (primary sources) คือแถลงการณ์ และ การสัมภาษณ์ผู้มีบทบาทในการตัดสินใจโดยเฉพาะผู้นำทหารระดับสูงในระยะเวลาดังกล่าว คือ พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพล.อ.อ. ประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ แล้วปรากฏว่ามีแนวความคิดการมองปัญหาภัยคุกคามไปในทางเดียวกัน และมีความต้องการพัฒนากองทัพให้ทันสมัย โดยการซื้อเครื่องบินเอฟ-18 เข้าประจำการ ซึ่งเป็นการยืนยันสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ และยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าการซื้ออาวุธทันสมัยมิได้เป็นเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศนั้น แต่บทบาทของผู้นำทหารระดับสูงในการเมืองภายในประเทศมีส่วนสำคัญอย่างมากเช่นกันที่ทำให้เกิดการดำเนินการจนบรรลุผลสำเร็จได้
Other Abstract: Purchases of modern weapon systems by developing states of the third world constitute an important new phenomenon in international politics. Since the 1970s the arms trade involving the third world has expanded considerably in terms of both quantity and quality of weapon systems transferred, with more and more developing countries becoming involved in the process. This phenomenon is a global one, and its scope and complexity makes the task of analyzing it at the global, “macro” level very difficult, especially if one considers the fact that different buyer countries may have different motivations. To help understand this phenomenon, the case-study approach may be more useful and here the case selected is the decision of the government of Thailand to purchase the sophisticated F-16 aircraft for its air force during the 1983-87 period. The hypothesis is that the decision to buy the F-16 A/B, a multi-purpose fighter aircraft, was influenced by the perspectives and understanding of those with political power concerning the requirements of the country’s defense system. On the basis of evidence gathered from secondary and primary sources, the latter including documents and interviews with key decision-makers, the author concluded that two of the most powerful military leaders during that period, namely army chief General Arthit Kamlang-ek and airforce chief ACM. Prapan Dhupatemiya, shared common perspectives and understanding concerning the threat arising from Vietnam and the need to modernize Thailand’s armed forces and hence the necessity of buying the F-16s, and that these two leaders’ influence was decisive in bringing about the purchase of the fighter aircraft. Apart from proving the hypothesis, the findings also help to point out that decisions to buy modern weapon systems are not influenced only by international political factors, but also by domestic variables.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29614
ISBN: 9745693316
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pannida_dh_front.pdf4.43 MBAdobe PDFView/Open
Pannida_dh_ch1.pdf16.33 MBAdobe PDFView/Open
Pannida_dh_ch2.pdf10.86 MBAdobe PDFView/Open
Pannida_dh_ch3.pdf19.04 MBAdobe PDFView/Open
Pannida_dh_ch4.pdf10.31 MBAdobe PDFView/Open
Pannida_dh_ch5.pdf7.24 MBAdobe PDFView/Open
Pannida_dh_back.pdf12.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.