Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29625
Title: การเริ่มมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดบุตรของสตรีไทย
Other Titles: Resumption of sex after childbirth among Thai women
Authors: มุกดา เจตนเมษฐ์
Advisors: เกื้อ วงศ์บุญสิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแบบแผนการเริ่มมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดบุตรและความแตกต่างในลักษณะประชากร เศรษฐกิจและสังคมกับการเริ่มมี เพศสัมพันธ์หลังคลอดบุตรของสตรีไทย โดยใช้ข้อมูลของโครงการการสำรวจประชากรและการอนามัยในประเทศไทย พ.ศ.2530 (TDHS) หน่วย ตัวอย่างที่ศึกษาคือสตรีที่ เคยสมรสอายุระหว่าง 15-49 ปี และมีบุตรคนล่าสุด เกิดในช่วง 5 ปีก่อนการ สำรวจ คือเกิดตั้งแต่ มกราคม พ.ศ.2530 เป็นต้นมาจนถึงวันสำรวจ รวมจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 2,989 ราย โดยเป็นการวิเคราะห์ด้วยวิธีการตารางชีพ ซึ่งตารางชีพจะแสดงสัดส่วนสะสมของสตรีที่ เริ่มมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดบุตรตาม เดือนที่เริ่มมี เพศสัมพันธ์หลังคลอด ผลการวิจัยทบแบบแผนการ เริ่มมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดบุตรของสตรีไทยโดยทั่วไป กล่าวคือ สตรีเกือบทั้งหมดคือร้อยละ 94.4 เริ่มมีเพศสัมพันธ์ภายใน 12 เดือนหลังคลอด และร้อยละ 19.3 เริ่มมีเพศสัมพันธ์ภายใน 2 เดือนหลังคลอด โดยพบว่าระยะ เวลามัธยฐานของการเริ่มมี เพศสัมพันธ์หลังคลอดบุตรมี ระยะเวลาประมาณ 3 เดือน และพบแบบแผนความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการเริ่มมีเพศสัมพันธ์ภายใน 2 เดือนหลังคลอด กับตัวแปรทางประชากรที่นำมาศึกษา ซึ่งได้แก่ ตัวแปรอายุของสตรีเมื่อคลอดบุตร คนล่าสุด ระยะเวลาสมรส การใช้การคุมกำเนิดหลังคลอด การมีประจำเดือนหลังคลอด และการให้นมตนเองแก่บุตรหลังคลอด กล่าวคือ สตรีที่มีอายุน้อย เมื่อคลอดบุตรคนล่าสุด เริ่มมี เพศสัมพันธ์ เร็วกว่าสตรีที่มี อายุมาก เมื่อคลอดบุตรคนล่าสุด สตรีที่มีระยะเวลาสมรสน้อยเริ่มมี เพศสัมพันธ์เร็วกว่าสตรีที่มีระยะ เวลาสมรสมาก สตรีที่มีการใช้การคุมกำเนิดหลังคลอด เริ่มมี เพศสัมพันธ์เร็วกว่าสตรีที่ไม่มีการใช้การคุมกำเนิดหลังคลอด สตรีที่ยังไม่มีประจำเดือนหลังคลอด เริ่มมีเพศสัมพันธ์ เร็วกว่าสตรีที่มีประจำ เดือนแล้วหลังคลอด และสตรีที่ให้นมตนเองแก่บุตรหลังคลอด เริ่มมีเพศสัมพันธ์เร็วกว่าสตรีที่ไม่ได้ให้นมตนเองแก่บุตรหลังคลอด สำหรับแบบแผนความสัมพันธ์ความแตกต่างในลักษณะทางสังคมและ เศรษฐกิจ กับการเริ่มมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดของสตรีไทย พบแบบแผนความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการเริ่มมี เพศสัมพันธ์ภายใน 2 เดือน หลังคลอด กับตัวแปรทางสังคมและ เศรษฐกิจ อันได้แก่ ตัวแปรศาสนา เขตที่อยู่อาศัย ภาค ภาษา อาชีพ ปัจจุบัน และระดับความมั่งคั่งของครัวเรือน กล่าวคือ สตรีที่นับถือศาสนาพุทธเริ่มมีเพศสัมพันธ์ เร็วกว่าสตรีที่นับถือศาสนาอิสลาม คริสต์ และอื่นๆ สตรีที่อาศัยอยู่ในเขตชนบทเริ่มมีเพศสัมพันธ์เร็วกว่าสตรีที่อาศัยอยู่ใน เขต เมือง สตรีในภาค เหนือ เริ่มมีเพศสัมพันธ์ เร็วกว่าสตรีในภาคอื่น สตรีที่พูดภาษา เหนือและภาษาอีสานเริ่มมี เพศสัมพันธ์ เร็วกว่าสตรีที่พูดภาษาอื่น ซึ่งความสัมพันธ์ยังคง เหมือน เดิม เมื่อควบคุมตัวแปรภาษาด้วยตัวแปรการ ใช้การคุมกำเนิดหลังคลอด สตรีที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เริ่มมีเพศสัมพันธ์เร็วกว่าสตรีที่ประกอบอาชีพ นอกภาค เกษตรกรรม และสตรีที่มีระดับความมั่งคั่งของครัวเรือนต่ำเริ่มมีเพศสัมพันธ์เร็วกว่าสตรีที่มีระดับความมั่งคั่งของครัวเรือนสูง ในส่วนของแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางประชากรคือ จำนวนบุตรที่มีชีวิต และตัวแปร ทางสังคมคือ ระดับการศึกษา กับการ เริ่มมีเทศสัมพันธ์ภายใน 2 เดือนหลังคลอด พบว่า ความสัมพันธ์เป็น ไปได้ทั้ง 2 ทิศทาง กล่าวคือ สตรีที่มีบุตรที่มีชีวิตจำนวนน้อยอาจจะ เริ่มมี เพศสัมพันธ์ทั้งเร็วหรือช้ากว่าสตรีที่มีบุตรที่มีชีวิตจำนวนมาก ซึ่งความสัมพันธ์นี้ยังคงเติม เมื่อควบคุมด้วยตัวแปรอายุ เมื่อคลอดบุตรคนล่าสุด และ สตรีที่ได้รับการศึกษาต่ำอาจจะเริ่มมี เพศสัมพันธ์ทั้งเร็วหรือช้ากว่าสตรีที่ได้รับการศึกษาสูง
Other Abstract: The purpose of this study is to investigate the pattern of sex resumption after childbirth among Thai women as well as demographic and socio-economic factors related to the resumption of sex after childbirth. The data used in this study derive from Thailand Demographic and Health Survey 1987 (TDHS). The sample for this study represents the married women aged 15-49 who have lastbirth within 5 years before the survey, that is from January 1988 to the date of the survey. The total cases are 2,989. The life table approach is used to obtain an estimate of cumulative proportion of sex resumption after childbirth. This study finds that the general pattern of sex resumption after childbirth among Thai women. That is 94.4 percent of mothers have sex resumption after childbirth within 12 months and 19.3 percent within 2 months. The median duration of sex resumption is about 3 months. It also finds a distinctive pattern of the relationship between the resumption of sex after childbirth within 2 months and these demographic factors : age at last birth, duration of marriage, everuse of contraception, return of menstruation after childbirth and breastfeeding. In addition, quick resumption of sex after childbirth is found in mothers of low age at lastbirth, with short duration of marriage, everusing contraception, breastfeeding and without the return yet of menstruation. Regarding the pattern of the relationship between resumption of sex after childbirth and socio-economic factors which are religion, residential areas, region, dialects, current occupations, and household possessions, it is found in each factor that the respondents who resume sex after childbirth within 2 months are Buddhists, those living in urban areas, living in the North, speaking northern and northeastern dialects, in the agricultural sector working and with few household possessions. And when the dialect variable is controled by everuse, of contraception, the same relationship is found. Studying the relationship of resupmtion of sex after childbirth within 2 months with the number of living children and educational level, the study finds that the resumption of sex after childbirth of mothers who have few children and low educational level may be either quick or slow. In addition, the same relationship is found for the number of living children when controled by age at last birth.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29625
ISBN: 9745795496
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mukda_je_front.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open
Mukda_je_ch1.pdf17.44 MBAdobe PDFView/Open
Mukda_je_ch2.pdf10.2 MBAdobe PDFView/Open
Mukda_je_ch3.pdf11.37 MBAdobe PDFView/Open
Mukda_je_ch4.pdf11.96 MBAdobe PDFView/Open
Mukda_je_ch5.pdf5.2 MBAdobe PDFView/Open
Mukda_je_back.pdf11.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.