Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29657
Title: Multi-approach model for improving agrochemical safety among farmers in Pathumthani province, Thailand
Other Titles: รูปแบบการให้ความรู้แบบบูรณาการเพื่อความปลอดภัยในการใช้สารเคมีทางการเกษตรกรรมของชาวนาในจังหวัดปทุมธานี
Authors: Buppha Raksanam
Advisors: Surasak Taneepanichskul
Gregory Robson, Mark
Other author: Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences
Advisor's Email: Surasak.T@Chula.ac.th
No information provided
Subjects: Agricultural chemicals
Chemicals -- Safety measures
Farmers
Rice farmers -- Thailand -- Pathumthani
Issue Date: 2011
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Objectives 1) To evaluate the knowledge, beliefs and behaviors regarding agrochemical safety among rice farmers 2) To develop a model for improving farmer’s health and preventing them from agrochemical hazards. 3) To evaluate the effectiveness of the model of interventions associated with improving agrochemical safety among farmers in the Khlong Seven community in Pathumthani province, Thailand over the period October 2009 to January 2011. Methods Quantitative and qualitative data collections were divided into two phases. Firstly, a cross-sectional study: 482 rice farmers were randomly recruited. Secondly, a quasi-experimental study: fifty rice farmers from Khlong Seven Community (study group) and fifty one rice farmers from Bueng Ka Sam community (control group) were randomly recruited. The mean change in scores of the four variables of knowledge, belief, behavior, home pesticide safety assessment, and community participation regarding agrochemical safety were measured. Intervention involved in a combination of home visits and community participatory activities regarding agrochemical safety. Results Phase: Farmers had a neutral level of total belief regarding agrochemical use. They had neutral levels of perceived susceptibility, benefits, and barriers on agrochemical safety. The belief concerning the perceived of severity of agrochemicals was high (positive belief).They had a moderate level of total behavior regarding agrochemical safety and a moderate level of healthy personal care behavior. However, the level of use of personal protective equipment was low. Health risk behaviors regarding agrochemical exposure in the study area were mainly caused by the misuse of pesticides including the erroneous beliefs of farmers concerning pesticide toxicity, lack of attention to safety precautions and the use of faulty protective gear. Phase 2: After six months of the intervention program, there were significant improvements in the overall scores on knowledge, belief, behavior, the home’s pesticide safety assessment, and community participation regarding agrochemical safety in the study group (p<0.05). There were no significant improvements in all total scores for the control group (p>0.05). Conclusion Therefore, this intervention model appeared to be effective in improving agrochemical safety among the Khlong Seven Community rice farmer participants. To sustain the intervention, it is necessary to work collaboratively with the community partners and local authorities. However, this model can be applied to other vulnerable groups, and variation across regions should be concerned. For further study, biomarker assessments should be concerned.
Other Abstract: วัตถุประสงค์ 1) เพื่อวัดระดับความรู้ ความเชื่อและพฤติกรรมการป้องกันตนเองของ ชาวนาในพื้นที่ ตำบลคลองเจ็ด อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แบบบูรณาการเพื่อความปลอดภัยในการใช้สารเคมีทางการเกษตรกรรมของชาวนาในตำบลคลองเจ็ด อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการให้ความรู้แบบบูรณาการเพื่อความปลอดภัยในการใช้สารเคมีทางการเกษตรของชาวนาในพื้นที่ ตำบลคลองเจ็ด อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 ถึง เดือนมกราคม 2554 รูปแบบและวิธีการศึกษา การศึกษานี้มีการเก็บข้อมูลทั้งแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือการศึกษาแบบภาคตัดขวางและกึ่งทดลอง ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาสถานการณ์ทั่วไป ปัญหาและปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเคมีทางการเกษตรโดยเก็บข้อมูลจากชาวนาในตำบลคลองเจ็ด 482 คน ส่วนระยะที่ 2 เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลองโดยเก็บข้อมูลจากชาวนา 2 กลุ่ม คือ (1) ตำบลคลองเจ็ด (กลุ่มทดลอง) โดยการสุ่มเลือกชาวนา 50 คน จากชาวนา 482 คนในระยะที่หนึ่ง และ (2) ตำบลบึงกาสาม (กลุ่มควบคุม) โดยการสุ่มเลือกชาวนา 51 คน แล้ววัดการเปลี่ยนแปลงคะแนนของ 4 ตัวแปรหลัก คือ ความรู้, ความเชื่อ พฤติกรรม, ความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่บ้าน, และความร่วมมือของชุมชนเรื่องความปลอดภัยในการใช้สารเคมีทางการเกษตร ภายในระยะเวลา 6 เดือน รูปแบบการให้ความรู้แบบบูรณการนี้ประกอบด้วยการเยี่ยมบ้านและกิจกรรมการมีส่วนร่วมในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมีทางการเกษตร ผลการศึกษา การศึกษาระยะที่ 1 พบว่า ชาวนามีระดับความเชื่อเรื่องความปลอดภัยในการใช้สารเคมีทางการเกษตรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยที่ความเชื่อด้านโอกาสเสี่ยงต่ออันตราย, ประโยชน์, และอุปสรรคในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีการเกษตรอยู่ระดับปานกลาง ในขณะที่ความเชื่อด้านความรุนแรงของสารเคมีทางการเกษตรอยู่ในระดับสูง(มีความเชื่อในเชิงบวก) พฤติกรรมความปลอดภัยในการใช้สารเคมีทางการเกษตรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยที่พฤติกรรมด้านการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่พฤติกรรมด้านการดูแลสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีทางการเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่าพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยในการใช้สารเคมีทางการเกษตรส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก การใช้สารเคมีทางการเกษตรไม่ถูกวิธี ขาดความรู้เรื่องความเป็นพิษและอันตรายจากการใช้สารเคมี การใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองไม่เหมาะสมในขณะปฏิบัติงาน และการดูแลหรือตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ที่ไม่ต่อเนื่อง ส่วนผลการศึกษาในระยะที่ 2 หลังจากใช้รูปแบบการให้ความรู้แบบบูรณการนี้เป็นเวลา 6 เดือน พบว่า ชาวนาในกลุ่มทดลองมีระดับคะแนนรวมด้านความรู้, ความเชื่อ, พฤติกรรม, ความปลอดภัยการจากใช้สารเคมีการเกษตรในบ้าน, และความร่วมมือของชุมชนในเรื่องความปลอดภัยในการใช้สารเคมีทางการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การสรุปและอภิปรายผล โดยสรุปแล้วรูปแบบการให้ความรู้แบบบูรณาการเพื่อความปลอดภัยในการใช้สารเคมีทางการเกษตรนี้ มีผลทำให้ชาวนามีความความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของการศึกษานี้ได้ดี ความยั่งยืนนี้จะยังคงอยู่ได้ต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชนและองค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นตับขับเคลื่อนที่สำคัญ การศึกษานี้สามารถนำไปพัฒนาใช้กับพื้นที่อื่นได้ตามความเหมาะสม ในการวิจัยครั้งต่อไป เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของการวิจัยควรพิจารณาเรื่องการตรวจหาสารตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรร่วมด้วย
Description: Thesis (M.P.H.)--Chulalongkorn University, 2011
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Public Health
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29657
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1284
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1284
Type: Thesis
Appears in Collections:Pub Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
buppha_ra.pdf7.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.