Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29766
Title: ความรับผิดทางอาญาตามประมวลรัษฏากร : ศึกษาเฉพาะกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
Other Titles: Criminal libility according to the revenue code : a case study of personal income tax
Authors: อรชุน กนกทิพย์พรชัย
Advisors: อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ ศึกษาถึงความสำคัญของการนำมาตรการทางอาญามาใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีอากร และศึกษาถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาในความผิดเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรฝ่ายบริหาร และองค์กรในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ผลการวิจัยพบว่า มีการนำมาตรการทางอาญามาใช้บังคับแก่ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีอากรน้อย ทั้งนี้เป็นเพราะ การดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากรนั้นมีขั้นตอนที่ยุ่งยากกว่าการดำเนินคดีอาญาโดยทั่วไป นอกจากนี้ยังพบว่าบทบัญญัติของกฎหมายยังมีความลักลั่นในเรื่องของอัตราโทษโดยให้ผู้กระทำความผิดเลือกที่จะรับโทษตามบทมาตราที่มีอัตราโทษที่ต่ำกว่าได้แต่ได้รับประโยชน์จากการหลีกเลี่ยงภาษีอากรเท่ากัน ส่วนปัญหาในด้านกระบวนการดำเนินคดีโดยเจ้าพนักงานสรรพากรนั้นปรากฏว่ามีการพิจารณาดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร จึงทำให้มีการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดน้อย และในการสอบสวนนั้น ปรากฏว่า พนักงานสอบสวนที่มีความรู้ความชำนาญในด้านนี้มีจำนวนน้อย อันทำให้เกิดความยากลำบาก ต่อการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกกล่าวหาได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอให้มีการปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับภาษีในส่วนของอัตราโทษมิให้เกิดความลักลั่นกัน รวมทั้งปรับปรุงเรื่องเจตนาของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีและบทกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินคดีอาญาเป็นไปตามความมุ่งหมายของกฎหมายที่ได้กำหนดความผิดและโทษทางอาญาไว้
Other Abstract: This research studies the importance of the opplication of penal sanction to enforce the revenue provisions concerning tax evasion. Included therein are problems relating to criminal process confronted by administrative and criminal justice agencies. This research finds that in actual reality there are very few applications of such penal provisions. This is so because criminal process concerning tax evasion is more cumbersome than ordinary criminal process. Aggravated by the contradiction of the provisions degree of punishment where offender may choose to benefit from lighter punishment with the same wrong doing. This research also finds that practices by administrative agencies are more often discriminatory. Besides criminal justice authorities in Thailand are not very well equibed with tools and legal expertise. Therefore, criminal convictions for tax evasion are scarce. This research also recommend that some form of revision should be made with the regard to the degree of punishment, culpability of wrongdoer and other relevant provisions so that the commencement of criminal process may attain its goals and objectives.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29766
ISBN: 9745837695
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orachun_ka_front.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open
Orachun_ka_ch1.pdf8.07 MBAdobe PDFView/Open
Orachun_ka_ch2.pdf8.33 MBAdobe PDFView/Open
Orachun_ka_ch3.pdf7.53 MBAdobe PDFView/Open
Orachun_ka_ch4.pdf7.31 MBAdobe PDFView/Open
Orachun_ka_ch5.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open
Orachun_ka_ch6.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
Orachun_ka_back.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.