Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29779
Title: การศึกษาอุณหภูมิเพิ่มแบบกักกันความร้อนในคอนกรีตหลา
Other Titles: A study on adiabatic temperature rise in mass concrete
Authors: ยศชัย จูประพัทธศรี
Advisors: เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความร้อนที่เกิดในโครงสร้างคอนกรีตหลาก่อให้เกิดการขยายตัวและการหดตัวไม่เท่ากันทั้งองค์อาคารเป็นเหตุให้เกิดการแตกร้าวและส่งผลต่อกำลังของโครงสร้างโดยส่วนรวม การแก้ปัญหาดังกล่าวกระทำโดยหาปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นในคอนกรีตหลาทั้งหมดแล้วศึกษาพฤติกรรมการกระจายและถ่ายเทความร้อนในองค์อาคารนั้นๆ งานวิจัยนี้ ได้ศึกษาการเกิดความร้อนในคอนกรีตด้วยการทดสอบพาอุณหภูมิเพิ่มแบบกักกันความร้อนโดยกำหนดตัวแปรหลัก คือ ประเภทของซีเมนต์ ปริมาณซีเมนต์ในส่วนผสม อัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ และอุณหภูมิเริ่มแรกของคอนกรีต แล้วนำผลการเกิดความร้อนมาศึกษาการกระจายและการถ่ายเทความร้อนในองค์อาคารโดยการวิเคราะห์ตามวิธีการทางไฟไนท์เอเลเมนต์ที่ครอบคลุมถึงผลจากการนำ การนำและแผ่รังสีของความร้อนทั้งที่ผิวและในเนื้อคอนกรีตพร้อมทั้งพิจารณาถึงการดูดซับแสงแดด การระเหยของน้ำที่ผิวหน้า การดึงความร้อนออกด้วยท่อน้ำผ่าน และเงื่อนไขของเวลาตามขั้นตอนการก่อสร้าง การทดลองหาอุณหภูมิแบบกักกันความร้อน ใช้ปริมาตรคอนกรีต 50 ลิตร และหุ้มด้วยโฟมโดยรอบ แล้ววางไว้ในเตาอบที่ปรับอุณหภูมิรอบข้างให้เท่ากับอุณหภูมิในเนื้อคอนกรีตได้โดยอัตโนมัติ เพื่อจำลองสภาวะเสมือนของคอนกรีตหลา ความร้อนที่เกิดขึ้นจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามเวลา โดยจะเกิดอุณหภูมิสูงสุดที่ประมาณ 42-65 ชั่วโมงหลังการผสมคอนกรีต และหลังจากนั้นจะไม่เพิ่มอีกต่อไป จากผลการทดลองหาอุณหภูมิเพิ่มแบบกักกันความร้อนในคอนกรีตตามตัวแปรต่างๆ พบว่า อัตราส่วนของน้ำต่อซีเมนต์และอุณหภูมิเริ่มแรกของคอนกรีตมีผลต่อการเพิ่มความร้อนน้อยมาก แต่ปริมาณซีเมนต์ในส่วนผสมของคอนกรีตที่เพิ่มขึ้นอีกทุก 10 ก.ก./ลบ.ม. จะทำให้อุณหภูมิสูงสุดเพิ่มขึ้น 1 °ซ. ซีเมนต์ประเภทที่ I, III และ V จะให้อุณหภูมิสูงสุดในสัดส่วน 1.0, 1.1 และ 0.9 ตามลำดับ งานวิจัยนี้ได้สร้างสมการเพื่อกำหนดการเพิ่มอุณหภูมิแบบกักกันความร้อนที่เกิดขึ้นตามเวลา แล้วนำไปใช้ในการวิเคราะห์ทางไฟไนท์เอเลเมนต์เพื่อคำนวณหาความร้อนที่เกิดขึ้นในโครงสร้างหลังจากการเทคอนกรีตแล้วเสร็จ โดยจะเปรียบเทียบผลที่ได้กับงานวิจัยที่ผ่านมาทั้งการทดสอบและการวัดจริงเปรียบเทียบกับวิธีการคำนวณจากความร้อนของปฏิกิริยาไฮเดรชันในซีเมนต์ และเปรียบเทียบกับผลการวัดอุณหภูมิจากโครงสร้างคอนกรีตหลาที่ก่อสร้างแล้ว ผลจากการวิเคราะห์จากสมการอุณหภูมิเพิ่มแบบกักกันความร้อนจากงานวิจัยนี้ให้ค่าอุณหภูมิในโครงสร้างที่ต่ำกว่าค่าที่ได้จากการวัดจริงในตัวโครงสร้าง เนื่องจากที่เครื่องมือทดสอบที่ใช้ไม่อาจกักกันความร้อนที่ระเหยไปกับน้ำที่ใช้ผสมคอนกรีตได้ ด้วยวิธีการศึกษาเชิงตัวเลขพบว่า ควรใช้ตัวคูณประกอบ 1.7 ปรับค่าที่ได้จากการทดสอบตามวิธีในงานวิจัยนี้ จึงจะให้ค่าพยากรณ์อุณหภูมิในโครงสร้างที่เชื่อถือได้ตามสภาพจริง
Other Abstract: Heat generation in mass concrete causes unbalanced stresses due to expansion and contraction in structures so that cracks would be induced and lead to sturctural damages. To solve such problem, heat generation and dissipation in mass concrete should be studied. For heat generation, adiabatic temperature rising tests were conducted on the basis of several variables such as cement type, cement content, water cement ratio and concrete placing temperature. For heat dissipation, the Finite Element Method was employed to analyze heat in concrete structures effected from heat conduction, convection and radiation, on surface and in the mass, considering solar absorption, surface evaporation, pipe cooling system and time constraint from construction sequence. The adiabatic temperature rising tests in this program used concrete 50 litre for each specimen, they were cast and covered with poly-styrene foam, then kept in the oven so that surrounding temperature could be automatically adjusted to the one in the specimen. Such method was applied to simulate mass concrete condition so that heat generation has varied with time and rate of hydration . The maximum temperature would be reached within 42-65 hr. after mix. The results of adiabatic temperature rising test have shown less influence from water to cement ratio and placing temperature but the adiabatic temperture rise was much affected from cement content and cement type .The temperature rise have found to be 1๐C increase for every 10 Kg./m.3 increase in cement content. The maximum temperature rises for cement type I, III and V were found to be at ratio of 1.0, 1.1 and 0.9, respectively. Heat generating equations were fitted to analyze temperature in mass concrete structures. The results were compared to the calculation from heat of hydration and to the measurement from actual structures. The results indicated that the adiabatic temperature rise as heat generating equation in this study produced less temperature than the measurement and by means of numerical solution, the factor of 1.7 should be applied to the adiabatic test results to obtain reliable temperatures in the mass concrete structure.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29779
ISBN: 9745762857
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yotchai_ju_front.pdf11.28 MBAdobe PDFView/Open
Yotchai_ju_ch1.pdf19.7 MBAdobe PDFView/Open
Yotchai_ju_ch2.pdf11.85 MBAdobe PDFView/Open
Yotchai_ju_ch3.pdf27.46 MBAdobe PDFView/Open
Yotchai_ju_ch4.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open
Yotchai_ju_back.pdf53.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.