Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29795
Title: คุณภาพน้ำนมโคดิบ : ปัญหาและการแก้ไข : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: The quality of raw milk : problems and resolution
Authors: เกรียงศักดิ์ สายธนู
รุ่งทิพย์ ชวนชื่น
Email: ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: น้ำนมดิบ
น้ำนม -- คุณภาพ
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการวิจัยครั้งนี้ได้แบ่งรายงานเป็น 6 ตอน 1. เก็บตัวอย่างน้ำนมดิบที่ฟาร์มและศูนย์รับน้ำนมดิบ จำนวน 266 ตัวอย่าง มาการเพาะหาจำนวนเชื้อแบคทีเรีย ผลการวิจัยพบว่าจำนวนแบคทีเรียทั้งหมดและโคลัยฟอร์มในน้ำนมดิบที่เก็บที่ฟาร์มจะต่ำกว่าในน้ำนมดิบที่เก็บที่ศูนย์รวมน้ำนม ซึ่งแสดงว่าจำนวนแบคทีเรียได้เพิ่มขึ้น โดยน้ำนมดิบที่เก็บที่ฟาร์มและที่ศูนย์รวมน้ำนมมีแบคทีเรียทั้งหมดไม่เกิน 500,000 โคโลนี/มล. จำนวน 77.85 และ 61.97% ตามลำดับ และจำนวนตัวอย่างที่มีโคลัยฟอร์มไม่เกิน 1,000 โคโลนี/มล. มีจำนวน 69.44 และ57.33% จำนวนตัวอย่างที่มีเชื้อที่เจริญเติบโตในความเย็นไม่เกิน 3,000 โคโลนี/มล. มีจำนวน 85.63% และ 85.24% ตามลำดับ ตัวอย่างส่วนใหญ่ (98.31%) ของน้ำนมที่ฟาร์มและ 90.25% ของน้ำนมที่ศูนย์รวมน้ำนมมีเชื้อที่เจริญเติบโตที่ 55°ซ ไม่เกิน 500 โคโลนี/มล. น้ำนมดิบทั้งสองแหล่งส่วนใหญ่จะมีเชื้อที่ย่อยโปรตีนและไขมันไม่เกิน 100,000 โคโลนี/มล. ส่วนใหญ่มีการปนเปื้อนยีสต์และรา เชื้อก่อโรคในคนไม่พบยกเว้น ซาลโมเนลล่า ที่พบในน้ำนมดิบ 6 ตัวอย่าง ผ2.3%) 2. วิเคราะห์ตัวอย่างน้ำนมดิบ 216 ตัวอย่าง ด้วยเครื่อง Milko-Scan 133B พบว่าจำนวนตัวอย่างของน้ำนมโค 98.1, 95.5, 81.5, 88.4 และ 67.6% มีมันเนย โปรตีน แล็คโตส ธาตุน้ำนมทั้งหมด และธาตุน้ำนมไม่รวมมันเนย สูงกว่า 3.6, 3.2, 4.4, 12.5 และ 8.5% ตามลำดับ น้ำนมดิบที่เก็บจากตำบลหนองโพ จังหวัดราชบุรี ส่วนใหญ่จะมีมันเนย โปรตีน แล็คโตส ธาตุน้ำนมทั้งหมด และธาตุน้ำนมไม่รวมมันเนยสูงกว่าตัวอย่างน้ำนมดิบที่เก็บจากบริเวณอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี 3. ตรวจหา Coagulase positive Staphylococcus aureus (CPS) และทดสอบ California mastitis test (CMT) จากตัวอย่างน้ำนมในถังส่งนมที่อำเภอมวกเหล็ก จ.สระบุรี และตำบลหนองโพ จ.ราชบุรี จำนวน 223 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนธันวาคม 2536 ถึงกรกฎาคม 2537 ผลการศึกษาพบ PCS 52.9% และ CMT ให้ผลบวก 65.5% แสดงว่าฟาร์มโคนมที่ให้นมดังกล่าวส่วนใหญ่จะมีโคที่ติดเชื้อ CPS ซึ่งบ่งว่าโคเป็นโรคเต้านมอักเสบชนิดไม่แสดงอาการ ตัวอย่างน้ำนมจาก อ.มวกเหล็ก จะพบ CPS และ CMT ให้ผลบวก 65.5% ซึ่งแสดงว่าฟาร์มโคนมที่ได้พบดังกล่าวส่วนใหญ่จะมีโคที่ติดเชื้อ CPS ซึ่งบ่งว่าโคอาจเป็นโรคเต้านมอักเสบชนิดไม่แสดงอาการ ตัวอย่างน้ำนมจาก อ.มวกเหล็ก จะพบ CPS และให้ผล CMT บวก มากกว่าตัวอย่างจาก ตำบลหนองโพน้ำนม 4. วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของน้ำนมโคดิบ น้ำนมพาสเจอร์ไรซ์ น้ำนมยูเอชที และน้ำนมสเตอร์ริไรส์ พบว่าตัวอย่างน้ำนมทั้ง 4 ชนิด มีปริมาณของมันเนย โปรตีน แล็กโตส ธาตุน้ำนม ไม่รวมมันเนย ธาตุน้ำนมทั้งหมด แคลเซียม และปริมาณกรดอมิโน 18 ชนิด เกือบ ไม่แตกต่างกันเลย ปริมาณของวิตามินเอ บีหนึ่ง บีหก และกรดโฟลิค ในน้ำนมโคดิบจะสูงกว่าในน้ำนมที่ผ่านความร้อน ทั้ง 3 ชนิด โดยค่าเฉลี่ยของวิตามินดังกล่าวในน้ำนมโคดิบ 100 มิลลิลิตร มีค่าเท่ากับ 45.15, 50, 75, 0.24, 56 และ 5 ไมโครกรัม ตามลำดับ 5. วิเคราะห์ปริมาณสารอาหารมันเนย โปรตีน แล็คโตส ธาตุน้ำนมไม่รวมมันเนย และธาตุน้ำนมทั้งหมดในน้ำนมปรุงแต่งพาสเจอร์ไรช์ 4 ชนิด จำนวน 205 ตัวอย่าง ซึ่งสุ่มเก็บจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว 154 รุ่นผลิต จากผู้ผลิต 13 ราย ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดติดสลากว่าทำจากน้ำนมโคสด ปริมาณมันเนยในน้ำนมสดพาสเจอร์ไรช์ของ 42 รุ่นการผลิต ที่มีค่าสูงต่ำ 3.2% โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23%±0.32% ซึ่งสูงกว่าปริมาณมันเนยในน้ำนมปรุงแต่งพาสเจอร์ไรช์ทุกชนิด ปริมาณโปรตีนของตัวอย่างทั้งหมดไม่แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3.27±0.23% ในน้ำนมชนิดจืดและน้ำนมปรุงแต่งชนิดหวานสูงสุด 3.31±0.23% น้ำนมชนิดจืดน้ำนมปรุงแต่งชนิดหวาน 11 รุ่นการผลิต (16 ตัวอย่าง) น้ำนมปรุงแต่งรสช็อกโกแลค 21 รุ่นการผลิต (23 ตัวอย่าง) น้ำนมปรุงแต่งรสสตอร์เบอร์รี่ 10 รุ่นการผลิต (13 ตัวอย่าง) (23 ตัวอย่าง) และน้ำนมรสกาแฟ 15 รุ่นการผลิต (20 ตัวอย่าง) จะมีปริมาณมันเนยต่ำกว่า 3.2% ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นน้ำนมปรุงแต่งพาสเจอร์ไรช์ส่วนใหญ่จะทำจากน้ำนมขาดมันเนยส่วนน้ำนมพาสเจอร์ไรช์ชนิดจืดจะทำจากนมสด 6. วิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร มันเนย โปรตีน แล็คโตส ธาตุน้ำนมไม่รวมมันเนย และธาตุน้ำนมทั้งหมด ของน้ำนมยูเอชที 5 ชนิดจำนวน 437 รุ่นการผลิตจากผู้ผลิต 7 ราย โดยวิธี infrared spectroscopic ตัวอย่างประกอบด้วย น้ำนมยูเอชทีชนิดจืด (132 รุ่นการผลิต) น้ำนมยูเอชทีชนิดหวาน (88) น้ำนมยูเอชทีรสช็อคโกแล็ค (128) น้ำนมยูเอชทีรสสตรอเบอร์รี่ (68) และน้ำนมยูเอชทีชนิดรสกาแฟ (21) โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดติดฉลากกว่าผลิตจากน้ำนมโคสด ตัวอย่างมีทั้งขนาดบรรจุ 200 มิลลิลิตร และ 250 มิลลิลิตร เก็บตัวอย่างระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนธันวาคม 2537 หลังการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจะแบ่งเป็น 2 เกรด คือ เกรด 1 เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณมันเนยเท่ากับหรือมากกว่า 3.2% และเกรด 2 เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณมันเนยต่ำกว่า 3.2% พบว่าน้ำนมชนิดจืดจะเป็นเกรด 1 ทั้งหมด ในขณะที่น้ำนมชนิดหวาน 52 รุ่นการผลิตจะเป็นกรด 1 และ 36 รุ่นเป็นเกรด 2 น้ำนมรสช็อคโกแล็ต 21 รุ่นเป็นเกรด 1 และ 107 รุ่นเป็นเกรด 2 น้ำนมรสสตรอเบอรรี่ 8 รุ่น เป็นเกรด 1 และ 60 รุ่นเป็นเกรด 2 ในขณะที่น้ำนมรสกาแฟ 19 รุ่นเป็นเกรด 2 และมีเพียง 2 รุ่นที่เป็นเกรด 1 สำหรับปริมาณโปรตีนพบสูงสุดในน้ำนมชนิดหวานมีค่าเฉลี่ย 3.48±0.05% และต่ำสุดในน้ำนมรสกาแฟมีค่าเท่ากับ 3.12±0.11% ผลิตภัณฑ์น้ำนมยูเอชทีส่วนใหญ่จะมีคุณภาพตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข แต่เมื่อพิจารณาตามปริมาณของมันเนย ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า น้ำนมชนิดรสจืดและชนิดหวานจะผลิตจากนมโคสด ในขณะที่น้ำนมยูเอชทีชนิดอื่น ๆ จะผลิตจากน้ำนมพร่องมันเนย
Other Abstract: The results of this research project were devided in to 6 parts. 1. Two hundred and sixty six samples of raw milk were collected at farms and at the corresponding milk collecting centers for bacterial culture. Total bacterial count and coliform count of raw milk collected at farm were significantly lower than of those collected at the milk collection centers (MCC) indicating that number of bacteria in milk were increased during transportation. The percentage of the samples collected at farm and at MCC with total count less than 500,000 colony forming unit/ml (CFU/ml) were 77.85 and 61.97% respectively. Coliforms count did not exceed 1,000 CFU/ml in 69.44 and 57.33% of the samples, respectively, with psychrotrophs less than 3,000 CFU/ml in 85.63 and 85.24%, respectively. Most of the samples, 98.31%, of the samples taken at farm and 90.25% of the samples taken at MCC, contained thermophiles lower than 500 CFU/ml. The majority of the samples were contaminated with proteolytic and lipolytic bacteria at the level lower than 100,000 CFU/ml. Yeast and moulds were frequently detected in most of the samples. Human pathogens were not found except salmonella spp. Which were positive in 6 samples (2.3%). 2. Two hundreds and sixteen samples of raw cow milk were analysed for major milk components using Milko Scan 133B. It was found that 98.1, 95.5, 81.5, 88.4 and 67.6% of samples tested contained fat, protein, lactose, total solids and solids not fat >3.6, >3.2, >4.4, >12.5 and >8.5%, respectively. The majority of the milk samples from Nongpo area contained fat protein, lactose, toltal solids not fat higher than those from Muaklek area. 3. Two hundreds and twenty three samples of raw milk were collected from the farm milk cans in Muaklek and Nongpo district for determination of subclinical mastitis using the bacteria cultivation method for detection of caoagulase positive staphylococcus aureus (CPS) and California mastitis test (CMT). The study was carried out from December 1993 to July 1994. It was found that 52.9% of the total samples were CPS positive and 65.5% of 223 samples were CMT positive. The results showed that the majority of the dairy farms were infected with CPS which indicated that subclinical mastitis cows were existed in the corresponding herds. Samples form Ampoe Muaklek were found higher positive rate of CPS and CMT than those from Nongpo district. Culture of farm milk for CPS in combination with CMT are useful procedures for screening subclinical mastitis in the herds. 4. The nutrition composition of raw, pasteurized, ultra high temperature, and sterilized fresh milk were studied. It was found that all products contained almost the same levels of fat, protein, lactose, solids not fat, total determined solids, calcium,. And 18 amino acids. Vitamins A, B1, B2, B6 and folic acid, in raw milk were higher than the heated fresh milk products. The concentration of the vitamins in 100 ml of raw milk were 45.13, 50.75, 0.24, 56 and 5 g, respectively. 5. Two hundreds and five sample of 154 lots of pasteurized fresh milk (PFM) and four types of pasteurized flavored milk labeled that the product were made from fresh whole milk were analysed for milk component, fat, protein, lactose, solides not fat and total solids. Samples were produced by 13 processors. The fat content of the majority of PFM, 42 lots, was 4.23 ± 0.32% which were higher than all types of the pasteurized flavored milk tested. The protein was not markedly different among the samples, 3.27 ± 0.19% to 3.31 ± 0.23% in pasteurized sweeten flavored milk and PFM, respectively. Eleven lots (16 samples), 21(23), 10(13), and 15(20) of pasteurized strawberry flavored milk and pasteurized coffee flavored milk, respectively, contained fat lower than 3.2%. The results indicated that most of PFM was made from fresh whole milk while the majority of pasteurized flavored milk made from skimmed milk. 6. A total of 437 lots of 5 different UHT milk from 7 producers in Thailand were analysed for fat content, protein, lactose, solids not fat and total solids using infrared spectroscopic method. Tested samples were UHT fresh milk (UHT-Fm) (132 lots), UHT sweeten flavored milk (UHT-sw) (88), UHT chocholate flavored milk (UHT-Ch) (128), UHT strawberry flavored milk (UHT-St) (68) and UHT coffee flavored milk (UHT-Co)(21). All lots of the products were made from fresh milk as labeled on the carton containers. Samples, packed in either 200 or 250 ml containers, were collected dusing February through December 1994. After analysis, the products were classified into 2 grades. Grade 1, was assigned for the products contained fat 3.2% or higher while grade 2 contained fat lower than 3.2%. All of the tested lots of UHT-Fm were in grade 1. Of the 88 lots of UHT-Sw, 52 lots were in grade 1 and 36 lots were in grade 2. Twenty one lots UHT-ch were in grade 1 and 107 lots were in grade 2. For UHT-St, eight lots were in grade 1 and 60 lots were in grade 2. Nineteen lots of the UHT-Co were in grade 2 and the rest was in grade 1. Protein content was slightly varied from the highest, 3.48±0.05%, in UHT-Sw, to the lowest, 3.12±0.11%, in UHT-Co. The components of most of UHT milk samples tested were not violated the regulations. Judging from the fat content, the results indicated that most of the UHT-Fm and UHT-Sw were made from fresh whole milk while most of the other UHT-flavored milk were made from skimmed milk.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29795
Type: Technical Report
Appears in Collections:Vet - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kriengsag_sai.pdf26.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.