Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29807
Title: การควบคุมการใช้จ่ายเงินแผ่นดินนอกงบประมาณ
Other Titles: Control of the government spending of non budgetary fund
Authors: มนตรี เจริญฉัตรชัย
Advisors: นันทวัฒน์ บรมานันท์
อรพิน สบายรูป
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โดยหลักการของการจ่ายเงินจากคลัง อันเป็นหลักการคลังเบื้องต้นนั้น การจ่ายเงินจะกระทำได้แต่โดยกฎหมาย หลักการเช่นนี้ปรากฏให้เห็นได้ ดังเช่น การที่งบประมาณรายจ่ายของประเทศต้องกระทำเป็นกฎหมาย แต่การใช้จ่ายเงินของรัฐบาลนั้น โดยแท้จริงมิได้จำกัดอยู่เพียงแค่การใช้จ่ายตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีเท่านั้น หากแต่ยังมีการใช้จ่ายอีกส่วนหนึ่งที่อยู่นอกเหนือจากงบประมาณ รายจ่ายประจำปี นั่นคือ การใช้จ่ายเงินแผ่นดินนอกงบประมาณ การใช้จ่ายเงินแผ่นดินนอกงบประมาณเป็นข้อยกเว้นของหลักการในทางการคลังข้างต้น ซึ่งในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีการใช้จ่ายที่มากขึ้น ดังนั้น หากสามารถควบคุมการใช้จ่ายได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ก็จะเป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ จากการศึกษาถึงวิธีการใช้จ่ายตลอดจนปัญหาต่าง ๆของการใช้จ่ายเงินแผ่นดินนอกงบประมาณประเภทต่าง ๆ พบว่า การใช้จ่ายยังขาดมาตรการ ในการรายงานการใช้จ่ายต่อรัฐสภา และองค์กรที่เข้ามาควบคุมก็ยังไม่มีความเป็นอิสระและเป็นกลาง จึงทำให้การควบคุมไม่ได้ผลที่ดีพอ จึงควรมีการปรับปรุงในหลาย ๆส่วน ทั้งในแง่กฎหมาย กฎเกณฑ์ ตลอดจนองค์กรที่ทำหน้าที่ควบคุม เช่น การแก้ไขพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ให้มีความเป็นอิสระและเป็นกลางเพื่อให้การควบคุมการใช้จ่ายเงินในภาครัฐเป็นไปโดยถูกต้อง เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด
Other Abstract: Under the general principle of finance in Democratic Countries, No money shall be expended except by law. For instance, the budget expenditure shall be established by means of a budgetary law. However, the Thai government spending is not only in the budget expenditure but it includes the non-budgetary fund also. The non- budgetary fund spending is exceptional from the general principle that mentioned above. Moreover, currently the amount of the non- budgetary fund is increasing rapidly. In order to find an effective solution to these issues, this study proposes to improve the spending control processes are as follows. 1) reporting the settlement of accounts for spending to the legislation Assembly 2) liberation the Auditor General Office from the executive power 3) amendment the law that involve the spending control process such as The Budgetary Procedure Act, B.E. 2502.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29807
ISBN: 9746368427
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nontri_ch_front.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open
Nontri_ch_ch1.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Nontri_ch_ch2.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open
Nontri_ch_ch3.pdf29.75 MBAdobe PDFView/Open
Nontri_ch_ch4.pdf20.02 MBAdobe PDFView/Open
Nontri_ch_ch5.pdf5.97 MBAdobe PDFView/Open
Nontri_ch_back.pdf15.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.