Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29818
Title: การประยุกต์ใช้ระบบการกรองโดยตรง
Other Titles: Application of direct filtration
Authors: ปรีชา แสงพิสิทธิ์
Advisors: มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เครื่องกรองและการกรอง
การรวมตะกอน
น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์
สารส้ม
น้ำประปา
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ระบบการกรองโดยตรงเป็นระบบที่ใช้ในการทำความสะอาดน้ำมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดอนุภาคความขุ่นที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ ระบบนี้มีส่วนประกอบที่สำคัญ 2 กระบวนการคือ กระบวนการโคแอกกูเลชันและกระบวนการกรอง โดยไม่ต้องมีกระบวนการตกตะกอนทำให้ระบบนี้มีข้อดีในด้านความประหยัด มีต้นทุนในการผลิตต่ำ แต่ระบบนี้ก็มีข้อจำกัดในด้านคุณภาพน้ำดิบที่จะต้องมีระดับความขุ่นต่ำ จากการวิจัยซึ่งทำการศึกษาระบบการกรองโดยตรงแบบกรองสัมผัสที่ใช้สารส้มเป็นสารโคแอกกูแลนด์ พบว่าระบบนี้สามารถใช้กับน้ำดิบที่มีระดับความขุ่น 10 NTU ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่อัตราการกรอง 10 ลบ ม/ตร ม-ชม และใช้ปริมาณสารส้ม 5-7.5 มก/ล โดยทำการล้างย้อนเพียงวันละ 1 ครั้ง แต่สำหรับน้ำดิบที่มีระดับความขุ่นสูง และมีความต้องการปริมาณสารส้มสูงจะส่งผลให้มีโอกาสเกิดเบรคธรูได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้ต้องทำการล้างย้อนบ่อยครั้งขึ้น จากการทดลองสามารถสรุปผลและแนวโน้มได้ดังนี้คือ ระดับความขุ่นของน้ำที่ผ่านกรองมีความสัมพันธ์แปรตามระดับความขุ่นของน้ำดิบ และอัตราการกรอง แต่แปรผกผันกับปริมาณสารส้ม ส่วนอัตราการสูญเสียเฮดมีความสัมพันธ์แปรตามระดับความขุ่นของน้ำดิบ อัตราการกรองและปริมาณสารส้มที่ใช้ นอกจากนี้ยังพบว่าประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นมีความสัมพันธ์แบบผกผันกับระดับความขุ่นของน้ำดิบ
Other Abstract: Direct filtration is a water purification process used to remove colloidal particulates from the water. This process is a combination between coagulation and filtration. By utilizing the direct filtration in a water treatment system, sedimentation is not needed any more. This results in the reduction of water production cost. However, the disadvantage of this system is the limited level of turbidity in the raw water allowed to enter the filtration system. According to experimental results obtained during the direct filtration of synthetic water utilizing alum as a coagulant, the best performance of the pilot plant was obtained under the following condition : filtration rate 10 m³/m²-hr, raw water turbidity 10 NTU, alum dosage 5-7.5 mg/l. Daily backwash of the pilot filter was required. When applying to the high-turbidity raw water, more alum was required and consequently, the turbidity breakthrough occurred very quickly. The filtration cycle was short and frequent backwash of filter was necessary. Experimental results tended to indicate that filtrate turbidity varied directly with raw water turbidity and filtration rate but inversely with alum dose. While the loss of head seemed to vary with raw water turbidity, filtration rate and alum dose. In addition, efficiency of turbidity removal had inversely relationship to raw water turbidity.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสุขาภิบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29818
ISBN: 9745694037
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preecha_sa_front.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sa_ch1.pdf975.63 kBAdobe PDFView/Open
Preecha_sa_ch2.pdf489.11 kBAdobe PDFView/Open
Preecha_sa_ch3.pdf10.4 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sa_ch4.pdf4.63 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sa_ch5.pdf11.95 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sa_ch6.pdf866.77 kBAdobe PDFView/Open
Preecha_sa_ch7.pdf531.14 kBAdobe PDFView/Open
Preecha_sa_ch8.pdf446.64 kBAdobe PDFView/Open
Preecha_sa_back.pdf15.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.