Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29825
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวัฒนา ธาดานิติ | |
dc.contributor.advisor | ดุษฎี ทายตะคุ | |
dc.contributor.author | มนตรี ศักดิ์เมือง | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2013-03-15T08:15:06Z | |
dc.date.available | 2013-03-15T08:15:06Z | |
dc.date.issued | 2527 | |
dc.identifier.isbn | 9745638404 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29825 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en |
dc.description.abstract | รายงานการวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางการวางแผนการใช้ที่ดินชุมชนเมืองยะลา โดยอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจลักษณะพิเศษของเมืองยะลา ในฐานะเป็นชุมชน เมืองแห่งหนึ่งของภูมิภาคสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเบื้องต้นได้ทำการศึกษาถึงสภาพพื้นฐาน ทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผลการศึกษาพบว่าเป็นภูมิภาคที่มีลักษณะพิเศษ 2 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง คือ ลักษณะพิเศษทางภูมิศาสตร์ เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีพรหมแดนส่วนหนึ่งติดต่อกับประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย ประการที่สอง คือ ลักษณะพิเศษทางสังคม สภาพสังคมของภูมิภาค ประกอบด้วย ประชากรที่มีสังคมวัฒนธรรมแตกต่างกันอยู่ร่วมกัน โดยมีประชากรที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ลักษณะพิเศษทั้งสองประการ ทำให้ภูมิภาคส่วนนี้เป็นภูมิภาคที่มีปัญหา เฉพาะตัวหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาทางสังคมจิตวิทยาระหว่างประเทศและปัญหาทางการเมือง เช่น ปัญหาขบวนการแบ่งแยกดินแดน ปัญหาการแข่งขันเชิงพื้นที่กับมาเลเซีย เป็นต้น ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงแห่งชาติ โดยสภาพดังกล่าว การวางแผนพัฒนาพื้นที่จึงต้องมีรูปแบบที่พิเศษแตกต่างจากการวางแผนโดยทั่วไป กล่าวคือ การวางแผนไม่เพียงแต่จะคำนึงถึงการแก้ไขปัญหาทางกายภาพ หรือทางเศรษฐกิจเท่านั้น แผนยังจะต้องสอดคล้องต่อลักษณะพิเศษของภูมิภาคอีกด้วย ดังนั้น กระบวนการวางแผนจึงต้องเพิ่มเงื่อนไขเบื้องต้น 3 ประการ คือ 1. การวางแผนจะต้องเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตภายใต้วัฒนธรรมอิสลาม 2. การวางแผนต้องคำนึงถึงการแข่งขันเชิงพื้นที่กับภูมิภาคตอนเหนือของมาเลเซีย 3. การวางแผนต้องคำนึงถึงความมั่นคงของชาติ รายงานการวิจัยในส่วนต่อมา ได้นำแนวความคิดการวางแผนที่เสนอแนะนำไปประยุกต์ใช้เพื่อวางแผนชุมชนเมืองยะลา เริ่มต้นจากการศึกษาสภาพพื้นฐานของชุมชน ทางกายภาพ, ปัญหาทางการบริการสังคม, ปัญหาการคมนาคมขนส่ง, ปัญหาการจราจร, ปัญหาการบริหาร, ปัญหาการใช้ที่ดินและปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ การศึกษาในลำดับต่อมาเป็นการวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาของพื้นที่ชุมชน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ชุมชนเมืองยะลามีการขยายตัวทางแนวราบไปทางทิศตะวันออกเพียงด้านเดียวเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการขยายตัวทางด้านอื่นถูกจำกัดโดยข้ออุปสรรคต่างๆ ดังนั้น พื้นที่การวางแผนจึงประกอบด้วยการแก้ไขข้อจำกัดต่อการพัฒนาของพื้นที่ในเขตเทศบาล และวางแนวทางพัฒนาพื้นที่ต่อเนื่องกับเขตเทศบาล ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตตำบลสะเตงนอก ทั้งนี้การวางแผนจึงอยู่บนพื้นฐานการแก้ไขปัญหาของเมืองพร้อมทั้งประยุกต์กับการวางแผนชุมชนลักษณะพิเศษ ผลการศึกษาขั้นสุดท้ายได้เสนอแนะแนวทางการพัฒนาพื้นที่ทางด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย 1. แนวทางการพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม 2. แนวทางการพัฒนาพื้นที่ทางเศรษฐกิจ เสนอแนะการเปิดจุดผ่านแดนแห่งใหม่ที่อำเภอยะหา 3. แนวทางการพัฒนาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเช่น ถนน, การจราจร, การคมนาคมขนส่ง, การประปา, การระบายน้ำและการกำจัดขยะ 4. แนวทางการพัฒนาการใช้ที่ดิน แบ่งการใช้ที่ดินออกเป็น 2 กลุ่ม 4.1 รูปแบบการใช้ที่ดินโดยส่วนรวม เสนอแนะให้คงรูปแบบตามแนวทางที่ผังเมืองเดิมวางไว้ โดยกำหนดให้มีการเกาะกลุ่มของกิจกรรมแต่ละประเภท 4.2 รูปแบบการใช้ที่ดินสำหรับชุมชนอิสลาม เสนอแนะให้สงวนพื้นที่สำหรับการบริการชุมชนอิสลาม ซึ่งหมายถึงการกำหนดพื้นที่เพื่อการให้บริการต่อการดำรงชีวิตภายใต้วัฒนธรรมอิสลาม พื้นที่ลักษณะนี้เน้นการวางโครงสร้างทางกายภาพ และการบริการสังคมให้สอดคล้องตามหลักการของอิสลาม โดยกำหนดให้มีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดี, มัสยิดกลางประจำชุมชน, ระบบการศึกษาที่เอื้ออำนวยต่อการศึกษาทั้งวิชาสามัญและวิชาศาสนา ตลอดจนการควบคุมไม่ให้มีกิจกรรมที่ขัดต่อบทบัญญัติ เป็นต้น การเลือกพื้นที่เพื่อชุมชนอิสลาม จะกำหนดเขตพื้นที่ที่อยู่อาศัยของมุสลิมทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะการตั้งถิ่นฐานเป็นประการสำคัญ สำหรับชุมชนเมืองยะลาเนื่องจากประชากรมุสลิมตั้งบ้านเรือนเกาะกลุ่มหนาแน่นอย่างเด่นชัด จึงกำหนดเขตได้ 3 ชุมชน คือ (1) เขตชุมชนมุสลิมย่านตลาดเก่า (2) เขตชุมชนมุสลิมตำบลสะเตง(3) เขตชุมชนมุสลิมตำบลสะเตงนอก ท้ายที่สุด รายงานการวิจัยได้เสนอแนะให้มีการศึกษาต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปรับปรุงสถาบันทางสังคมให้สอดคล้องต่อวัฒนธรรมอิสลามให้มากที่สุด (ภายใต้เงื่อนไขการไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ) ซึ่งจะทำให้ชุมชนอิสลามนี้ มีความสมบูรณ์อย่างแท้จริง | |
dc.description.abstractalternative | The research has main objective to be a guideline for land use planning of Yala urban area, with basic understanding on the unique characteristics of that study area, as Yala is one of the four Southern most provinces of Thailand. The first task of the study is to examine the physical, economic and social conditions in the sub-region. Two distinguished characteristics have been found as follows:- Firstly, according to the geographical characteristic, the study area has formed the frontier connecting to Malaysia. Secondly, the social characteristic is the congregation of different culture; and this, the Muslims are majority. The mentioned characteristics cause some specific problems, especially the political and International social psychological conflict, namely, the spatial competition with Malaysia and the guerilla disturbance in the secessionist movement. These will probably trouble the national security. As a result, the development planning will have a different form from other general planning, for it will not only concern the social and economic essence, but it will also accord to the sub region’s extra characteristics. So, the planning process will take three additional conditions as follows:- 1. The planning must provide an appropriate living condition under the Islamic culture. 2. The planning must concern to the spatial competition with the Northern Malaysia. 3. The planning must consider the national security. These considerations are consolidated into the urban Yala development planning, beginning by studying the general conditions of facilities, public welfare, communication, traffic, administration, land use and ethnic groups. The next sequence is the analysis of its potential to find out the trend and the appropriate area for the community expansion. The study found that the Yala urban area has been expanding to the east, horizontally, while the other parts are limited by several constraints. Therefore, the plan will try to minimize the constraints of the municipal development and will also upgrade the neighboring area, namely, tambon Sa teng Nok. In conclusion, the planning is based on solving problems of the town, and applies to the specific community development at the same Finally, the study has suggested the guidelines for the study area development, as follows:- 1. Guideline for physical development: it suggests a flood control. 2. Guideline for economic development : It suggests opening a new border entrance at Amphoe Yaha. 3. Guideline for utility and facility development: It suggests development of all infrastructure, such as road, traffic, communication, pipe water, drainage and garbage demolition. 4. Guideline for land use development: It suggests 2 patterns: 4.1 General land use pattern, it suggests the following of the former structure plan, with agglomeration of each activity. 4.2 Land use Pattern for Muslim community; it prepares a specific area for the Muslim settlement. This means specification of a zone based on the Islamic culture. The plan emphasizes on physical structure and social facilities according to the religion rules, so it will have a fine infrastructure, central mosque, education system privileges to both general and religious subjects, including some measures to prevent the out-of-religion activities. Selection of the area for Muslim community will specify their dwelling zone depending on their present settlement pattern. In Yala, they are congregated in three areas as follows:- (1) Talad Kao Community (2) Sa Teng Community (3) Sateng Nok Community Finally, the study suggests a further study, particularly improvement of the social institutes to be in most accordance with the Islamic culture as well as not to disturb the national security, that will provide a complete Muslim community. | |
dc.format.extent | 9439892 bytes | |
dc.format.extent | 2717359 bytes | |
dc.format.extent | 7164442 bytes | |
dc.format.extent | 54387433 bytes | |
dc.format.extent | 62318942 bytes | |
dc.format.extent | 28004610 bytes | |
dc.format.extent | 28710215 bytes | |
dc.format.extent | 1914654 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | แนวทางการวางแผนการใช้ที่ดินของชุมชนเมืองในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ศึกษาชุมชนเมืองยะลา | en |
dc.title.alternative | The urban land use guidelines for the one of four Southern special provinces : Yala | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ผังเมืองมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ผังเมือง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Montri_sa_front.pdf | 9.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montri_sa_ch1.pdf | 2.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montri_sa_ch2.pdf | 7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montri_sa_ch3.pdf | 53.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montri_sa_ch4.pdf | 60.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montri_sa_ch5.pdf | 27.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montri_sa_ch6.pdf | 28.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Montri_sa_back.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.