Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29832
Title: สภาพการจัดและปัญหาของโครงการฝึกอบรมครู และบุคลากรทางการศึกษาประจำการ ในวิทยาลัยครูกลุ่มภาคกลาง
Other Titles: Organization and problems of the in-service training project for teachers and educational personnel in the central region teacher colleges
Authors: ปรีชา กิจเกษาเจริญ
Advisors: ชนิตา รักษ์พลเมือง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โครงการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ
การฝึกอบรม
ครู -- การฝึกอบรม -- ไทย (ภาคกลาง)
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดและปัญหาของโครงการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ และเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ให้การอบรม ผู้อยู่ระหว่างรับการอบรม และผู้สำเร็จการอบรมจากโครงการในวิทยาลัยครูกลุ่มภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ให้การอบรม จำนวน 213 คน ผู้อยู่ระหว่างรับการอบรม จำนวน 305 คน และผู้สำเร็จการอบรมแล้ว จำนวน 323 คน ซึ่งสุ่มมาจากวิทยาลัยครูกลุ่มภาคกลางทั้ง 5 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ประกอบด้วยคำถามแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนแรกเป็นคำถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 7 ข้อ และตอนที่สองเป็นคำถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการจัดและปัญหาในการจัดโครงการฝึกอบรม จำนวน 43 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการทดสอบแบบเชฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการจัดโครงการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ 1.1 ในด้านระยะเวลาของโครงการพบว่า การเปิดโครงการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการในวันเสาร์-อาทิตย์ มีความเหมาะสมมาก และส่วนใหญ่เห็นว่าระยะเวลาตลอดหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับปานกลาง 1.2 ในด้านจุดมุ่งหมาย พบว่า ส่วนใหญ่เห็นด้วยมากกับจุดมุ่งหมายของโครงการที่จะทำให้ผู้รับการอบรมมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในการปฏิบัติงานได้ 1.3 ในด้านหลักสูตร พบว่า ความสัมพันธ์ของเนื้อหาวิชาในหลักสูตรกับระยะเวลาเรียน การใช้ประโยชน์จากรายวิชาในหลักสูตร การนำเนื้อหาวิชาไปใช้ในงานที่ปฏิบัติและการเปิดวิชาโทให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้ารับการอบรม มีความเหมาะสมปานกลาง 1.4 ในด้านการเรียนการสอน พบว่า การใช้ตำราและเอกสารประกอบการเรียนการการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน วิธีการอบรมของผู้ให้การอบรม การมอบหมายงานและการให้โอกาสผู้เข้ารับการอบรมเลือกวิชาเลือกเสรี มีความเหมาะสมในระดับปานกลาง 1.5 ในด้านการประเมินผลการเรียนการสอน ทั้งสามกลุ่มเห็นด้วยมากว่าการวัดผลมีความครอบคลุมเนื้อหาวิชา 1.6 ในด้านการบริหารและการดำเนินการ ส่วนใหญ่เห็นว่าผู้ให้การอบรมมีความรับผิดชอบต่องานที่ปฏิบัติอยู่ 2. ปัญหาการจัดโครงการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ 2.1 ในด้านสภาพทั่วไป ส่วนใหญ่เห็นว่ามีปัญหาในการเปิดศูนย์นอกวิทยาลัย 2.2 ในด้านจุดมุ่งหมาย ทั้งสามกลุ่มเห็นว่ามีปัญหาในการระดมสรรพกำลังและทรัพยากรท้องถิ่น 2.3 ในด้านหลักสูตร ทั้งสามกลุ่มเห็นว่ามีปัญหาในด้านความสัมพันธ์ของเนื้อหาวิชาในหลักสูตรกับระยะเวลาเรียน และการนำรายวิชาในหลักสูตรไปใช้ประโยชน์ 2.4 ในด้านการเรียนการสอน ทั้งสามกลุ่มเห็นว่ามีปัญหาหลายด้านโดยเฉพาะในด้านความเหมาะสม และความเพียงพอของตำรา เอกสารประกอบการเรียน สื่อการเรียน วิทยากรพิเศษ การฝึกปฏิบัตินอกศูนย์ และการมอบหมายงาน 2.5 ในด้านการประเมินผลการเรียนการสอน ทั้งสามกลุ่มเห็นว่ายังมีปัญหาในการที่ผู้ให้การอบรม และผู้รับการอบรมนำผลการวัดและการประเมินผลจากโครงการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการไปปรับปรุงการเรียนการสอนของตนเอง 2.6 ในด้านการบริหารและการดำเนินการ ส่วนใหญ่เห็นว่ายังมีปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะความเหมาะสมของการเก็บเงินค่าบำรุง ค่าหน่วยกิต และค่าวัสดุฝึก การประสานงาน การประชาสัมพันธ์ การใช้บริการห้องสมุด และการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการจัดและปัญหาของโครงการฝึกอบรมครู และบุคลากรทางการศึกษาประจำการ 3.1 ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการจัดโครงการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการในด้านสภาพทั่วไป จุดมุ่งหมายของโครงการ ด้านหลักสูตร และการประเมินผลการเรียนการสอนของผู้ให้การอบรม ผู้อยู่ระหว่างรับการอบรม และผู้สำเร็จการอบรมแล้ว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3.2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาในการจัดโครงการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการในด้าน สภาพทั่วไป จุดมุ่งหมาย หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผลการเรียนการสอน และการบริหารการดำเนินการของผู้ให้การอบรม ผู้อยู่ระหว่างรับการอบรม และผู้สำเร็จการอบรมแล้ว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Other Abstract: Purpose of the study The objectives of this study were to examine present status and problems arising through the delivery of the in-service training program to teachers and educational personnel and to compare opinions regarding the status and problems of the program as perceived by instructors, program attendants, and program graduates of the central-region teacher colleges. Procedures Samples of the study were 213 program instructors, 305 program attendants, and 323 program graduates who were randomly selected from the five teachers colleges locating in the central region. The research tool devised by the researcher was devided into sections. The first section was comprised of 7 items on personal data. The second was comprised of 43 items on present status and problems of the program. The collected data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation, variance, and Scheff’e test. Findings of the study 1. Present status of the in-service training program. 1.1 General condition. It was found that delivering the program on Saturday and Sunday was rated very suitable and that the program duration was rated moderately suitable. 1.2 Program objectives. It was mostly asneed that objectives of the program could improve could help improve capability of attendant’s creativeness and knowledge applicability. 1.3 Curriculum. It was found that program content, program duration, program utility in general, program usefulness to one’s work, and minor courses offered were moderately related. 1.4 Learning activities. It was found that text-books, supplementary readings, instructional media, teaching methods, course assignments, and elective courses offered were moderately suitable. 1.5 Course evaluation. It was strongly agreed that the evaluation method used covered the topics included in the courses. 1.6 Administration and management. It was found that instructors were responsible for their individual responsibilities. 2. Problems arising through the delivery of the program. 2.1 General condition. The teachers colleges had some difficulties in founding training centers out of the main campus. 2.2 Program objectives. The three groups asserted the problems regarding the pulling and utilizing of local human and nonhuman resources. 2.3 Curriculum. The three groups asserted the problems regarding relations between the curriculum itself and the delivery time, and the problem regarding the applicability of individual courses. 2.4 Learning process. The three groups asserted the problems regarding suitability of the learning process, availability of text-books, supplementary learning materials, instructional media, course specialist, out-of-the centre trainings, and course assignments. 2.5 Course evaluation. The three groups asserted problems regarding their use of grade received from the project in the application of the knowledge for the improvement of their own instruction. 2.6 Administration and management. The majority asserted several problems concerning administration and management, especially problems regarding uppropriateness of the fees, coordinating functions, public service, library services, and advising service. 3. Differences in the perceptions on status and problems of the program. 3.1 There are statistical differences at .05 level between the three groups’ perceptions on the status of the program on general conditions, objectives, curriculum, and evaluation methods of the program. 3.2 There are statistical differences at .05 level between the three groups’ perceptions on the problems regarding general conditions, objectives, curriculum, and evaluation methods of the program.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สารัตถศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29832
ISBN: 9745678449
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preecha_ki_front.pdf9.63 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_ki_ch1.pdf7.99 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_ki_ch2.pdf15.2 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_ki_ch3.pdf4.92 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_ki_ch4.pdf26.74 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_ki_ch5.pdf14.96 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_ki_back.pdf13.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.