Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29930
Title: ผลของรายการโทรทัศน์ "ธรรมะวันละ 2 นาที" ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรม เกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษา
Other Titles: Effects of the television program "Dhamma two minutes a day" on moral cognition concerning self-directed behaviors of mathayom suksa students
Authors: ทิพยรัตน์ ไทศรีวิชัย
Advisors: สมชาย ธัมมนันท์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรายการโทรทัศน์ "ธรรมะวันละ 2 นาที" ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร เป็นเพศชาย 67 คน และเพศหญิง 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยเครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นวีดีโอเทป แถบบันทึกภาพรายการโทรทัศน์ "ธรรมะวันละ 2 นาที" และรายการชีวิตสัตว์ มาตรวัดความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเอง ซึ่งสร้างขึ้นโดย ศ.ดร.ชัยพร วิชชาวุธ และคณะ ในด้านการกระทำ 8 ด้าน และห้องสำหรับทำการทดลองการออกแบบการวิจัยเพื่อควบคุมตัวแปรกระทำโดยการแบ่งกลุ่มตัวอย่างเพื่อเปรียบเทียบผลใน 2 สภาพการณ์ คือในสภาพการณ์ทดลอง กลุ่มตัวอย่างจะได้ดูรายการโทรทัศน์ "ธรรมะวันละ 2 นาที" และรายการชีวิตสัตว์ และในสภาพการณ์ควบคุมกลุ่มตัวอย่างจะได้ดูรายการชีวิตสัตว์เพียงอย่างเดียว ในการดำเนินการวิจัยเริ่มด้วยการนำมาตรวัดความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองฉบับที่ 1 ไปทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง แล้วแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ตามสภาพการณ์ทดลอง โดยที่ทั้ง 2 กลุ่มนี้มีคะแนนจากมาตรวัดความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวกับพฤติกรรมต่อตนเองไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในทุกการกระทำ ต่อจากนั้นจึงฉายแถบบันทึกภาพในกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มตอบมาตรวัดความรู้ความเข้าใจทางจริยธรรมเกี่ยวพฤติกรรมต่อตนเองฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นการทดสอบครั้งหลังการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบด้วย t-test ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า จากการเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลอง การกระทำที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนจากการทดสอบครั้งหลังสูงกว่าการทดสอบครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.001) ได้แก่ การกระทำด้านการมีความรู้สึกผิด ส่วนการกระทำที่มีค่าเฉลี่ยคะแนน จากการทดสอบครั้งแรกสูงกว่าการทดลองครั้งหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การไม่ควบคุมอารมณ์ (P<.001) การมีความเชื่อมั่นในตนเอง (P<.001) การมีวินัยในตนเอง (P<.01) และการปรับปรุงตนเอง (P<.01) สำหรับการกระทำที่เหลือไม่พบความแตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนจากการทดสอบครั้งหลังระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าการกระทำที่กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนมากกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การสำรวจตนเอง (P<.05) และการมีความขยันหมั่นเพียร (P<.01) สำหรับการกระทำที่เหลืออีก 6 ด้าน ไม่พบความแตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effect of the television program "Dhamma Two Minutes a Day" on the moral cognition concerning self-directed behaviors of Mathayom Suksa students. The subjects were 67 boys and 92 girls in Mathayom Four students from Bangmunnakphumevidhayakom School, Amphur Bangmunnak, Changwat Pichit. The apparatus consisted of a color television monitor, a video cassette player, two videotape cassettes in which the television program "Dhamma Two Minutes a Day" and animal life series were recorded, the moral cognition scale self-directed behaviors devised by Professor Chaiyaporn Wichawut and his collegues and an experimental room. In order to control variables, subjects were randomly assigned into two conditions; the experimental group viewed the program "Dhamma Two Minutes a Day" together with animal life series but the control group viewed only animal life series. At first, all subjects were tested with the moral cognition scale : self-directed behaviors volume I and they were randomly divided into two equivalent groups of which the mean scores in every dimension of the moral cognition scale had no significant differences. Subjects viewed the program according to condition of assignment for 8 consecutive days. On the last day, post-test were applied to the both groups by using the moral cognition scale volume II. The data were analysed by using T-test. The result shows that within the experimental group, the mean score of post-test is significantly more than the mean score of pre-test (P<.001) in the dimension of guilt. Those mean scores from pre-test are significantly more than the mean scores from post-test in 4 dimensions, i.e., expression of emotion (P<.001), self-confidence (P<.001), self-discipline (P<.01) and self-adjustment (P<.01). Other dimensions of behavior are not significant different. The results of the post-test between control group and experimental group show that the mean scores of the control group are significantly more than the experimental group in two dimensions, i.e., self-exploration (P<.05) and diligence (P<.01). There is no significant difference in other 6 dimensions.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29930
ISBN: 9745671584
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tippayarut_th_front.pdf8.44 MBAdobe PDFView/Open
Tippayarut_th_ch1.pdf25.79 MBAdobe PDFView/Open
Tippayarut_th_ch2.pdf8.08 MBAdobe PDFView/Open
Tippayarut_th_ch3.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open
Tippayarut_th_ch4.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open
Tippayarut_th_ch5.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open
Tippayarut_th_back.pdf19.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.