Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29984
Title: การศึกษาเปรียบเทียบเกณฑ์ตัดสินความดีในพุทธปรัชญาเถรวาท กับในปรัชญาของคานท์
Other Titles: The criteria of goodness in theravada buddhism and knat's philosophy : a comparative study
Authors: ไพลิน เตชะวิวัฒนาการ
Advisors: สุนทร ณ รังษี
อุกฤษฏ์ แพทย์น้อย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื้อหาของงานวิจัยฉบับนี้คือ การเสนอเกณฑ์ตัดสินความดีในพุทธปรัชญาเถรวาท และการเสนอเกณฑ์ตัดสินความดีใบปรัชญาของคานท์ แล้วนำเกณฑ์ตัดสินความดีของทั้งสองมาเปรียบเทียบให้เห็นถึงความคล้ายคลึง และความแตกต่างกัน จากการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบเกณฑ์ตัดสินความดี มีประเด็นหลักๆ 4 ประเด็น คือ 1. ทัศนะเรื่องการใช้เจตนาเป็นเกณฑ์หลักในการตัดสินความดี 2. ทัศนะเรื่องกฎแห่งเสรีภาพ 3. ทัศนะเรื่องแรงจูงใจ 4. ทัศนะเรื่องความเมตตากรุณา ในเนื้อหาของงานวิจัย ผู้วิจัยได้นำเอากฎศีลธรรมของดานท์มาวิเคราะห์ ศีล 5 เพื่อแสดงให้เห็นว่า ศีล 5 เป็นจริยธรรมสากลที่มนุษย์ทุกคนพึงปฏิบัติตาม ความแตกต่างที่ปรากฏในเกณฑ์ตัดสินความดีของทั้งสองคือ พุทธศาสนาตัดสินการกระทำ โดยดูที่เจตนาของผู้กระทำเป็นองค์ประกอบหลัก และเอาผลของการกระทำที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเองและผู้อื่นเป็นองค์ประกอบรองในการพิจารณาว่าการกระทำ นั้นมีคุณค่าทางจริยธรรมมากน้อยแค่ไหน ส่วนลัทธิของคานท์ตัดสินการกระทำ โดยถือเอาเจตนาเป็นหลักและไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นเลย โดยถือว่าผลเป็นสิ่งที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ผลจึงมิใช้ตัววัดคุณค่าทางจริยธรรม ในภาคผนวกผู้วิจัยได้เพิ่มเติมเนื้อหาการเปรียบเทียบความคล้ายคลึงของพุทธศาสนาและของ คานห์ในทัศนะเรื่องความสุขที่เกิดจากการทำความดี โดยทั้งสองเห็นว่าบุคคลที่สามารถฝืนแรงกระตุ้นของ อำนาจฝ่ายต่ำได้ เขาจะได้รางวัลแห่งการทำความดีคือความสุขใจ
Other Abstract: The content of this research is the presentation of the criteria of goodness in Theravada Buddhism and in Kant's moral philosophy, and the comparison between and contrast of the two criteria. This research introduces notion of these two criteria in four main respects. 1. The use of intention as the main criterion of goodness. 2. The idea of autonomy. 3. The idea of motivation. 4. The idea of loving-kindness and compassion. The researcher also employs Kant's notion of the moral law to analyse Buddhism's five precepts in order to show that these precepts are universal laws prescribed to all rational beings. The difference between the two criteria is that Theravada Buddhism also uses action's consequences affecting both the performer's and the others' interests as additional considerations in determining its moral values. But Kant's moral philosophy uses only the intention as the main criterion of goodness and an action's consequences as irrelevant since they vary according to circumstances. In the Appendix, the researcher compares Theravada Buddhism's and Kant's conceptions of the kind of happiness that may be the result of good actions and finds them to share the same view that a person who succeeds in resisting base motivations will be rewarded by contentment.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ปรัชญา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29984
ISBN: 9745770663
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pailynn_ta_front.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open
Pailynn_ta_ch1.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Pailynn_ta_ch2.pdf16.96 MBAdobe PDFView/Open
Pailynn_ta_ch3.pdf8.12 MBAdobe PDFView/Open
Pailynn_ta_ch4.pdf10.22 MBAdobe PDFView/Open
Pailynn_ta_ch5.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Pailynn_ta_back.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.