Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30007
Title: ความรู้และความสนใจในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร
Other Titles: Political participation : a study of cognitive and affective domains of police commissioned officers
Authors: หฤทัย จารุชัยนิวัฒน์
Advisors: พรศํกดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่องความรู้และความสนใจ ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรที่ศึกษาในหลักสูตรผู้กำกับการ รุ่นที่ 23 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรู้และความสนใจในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ว่าประชากรวิจัยมีความรู้ ความสนใจ และการเห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองแตกต่างกันหรือไม่ ทั้งนี้เนื่องจากตำรวจเป็นข้าราชการที่มีบทบาทที่แตกต่างกันไปตามภารกิจและหน้าที่ สิ่งสำคัญตำรวจถือเป็นกลไกส่วนหนึ่งของรัฐที่รัฐจะใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ ซึ่งหากตำรวจมีความรู้พื้นฐานที่ไม่สอดคล้องกับระบบการเมืองการปกครองแล้ว ก็อาจส่งผลกระทบต่อสังคมและระบบการเมืองได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม การเก็บข้อมูลใช้วิธีการแบบสำรวจ โดยการเลือกตัวอย่างจากนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรที่ศึกษาในหลักสูตรผู้กำกับการ รุ่นที่ 23 จำนวน 80 นาย เก็บข้อมูลเมื่อเดือน ธันวาคม 2537 ผลการวิจัยพบว่าประชากรวิจัย มีความรู้ ความสนใจ การเห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และการเปิดรับข่าวสารทางการเมือง อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ประชากรวิจัยที่มีภูมิหลังทางเศรษฐกิจสังคมและภารกิจหน้าที่ที่แตกต่างกัน มิได้มีผลทำให้ความรู้ ความสนใจ การเห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และการเปิดรับข่าวสารทางการเมือง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งบ่งชี้ว่ากลุ่มนายตำรวจที่เป็นผู้บริหารระดับต้น มีขอบข่าย ความรู้ ความสนใจทางการเมืองที่ค่อนข้างคับแคบ และคล้ายคลึงกัน สภาพดังกล่าวน่าจะมีผลโดยตรงและทางอ้อมต่อการตัดสินใจและการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ อันน่าจะส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งสมควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจทางการเมืองแก่ผู้บริหารของข้าราชการตำรวจให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
Other Abstract: A study on political participation, cognitive and affective domains of police commissioned officers in a course of police superintendent, group 23 is confined to the study of the differences in political participation, cognitive, affective domains and political message recognition among the police officers belonging to different units in the Police Department. Since the police force play an important part in the government administration, their cognitive and affective domains generate significant impacts on the social and political systems. Survey method was applied in the data collection by selecting 80 police commissioned officers attending a course of superintendent group 23 as samples. The collection was proceeded in December 1994. The finding has been that the police officers have low criteria in political participation, cognitive, affective domains and political message recognition. Consequently, it is recommended that the police officers should be encouraged to widen their perspectives and to develop their political participation and their cognitive and affective domains. The achievement of those qualities would be contributive to their responsive service in the democratic political system.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30007
ISBN: 9746327895
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Harutai_ch_front.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open
Harutai_ch_ch1.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open
Harutai_ch_ch2.pdf20.01 MBAdobe PDFView/Open
Harutai_ch_ch3.pdf6.71 MBAdobe PDFView/Open
Harutai_ch_ch4.pdf17.03 MBAdobe PDFView/Open
Harutai_ch_ch5.pdf8.34 MBAdobe PDFView/Open
Harutai_ch_back.pdf11.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.