Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30086
Title: ปัจจัยทำนายวิถีชีวิตที่สร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนชายอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: Predicting factors of health-promoting lifestyle among male vocational students, Northeastern Region
Authors: รัตนา ปรากฏมาก
Advisors: นรลักขณ์ เอื้อกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: noraluk@myrealbox.com
Subjects: การส่งเสริมสุขภาพ -- ไทย
นักเรียน -- สุขภาพ -- ไทย -- พยากรณ์
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงทำนายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิตที่สร้างเสริมสุขภาพและอำนาจทำนายของปัจจัยทำนาย ได้แก่ ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อิทธิพลของครอบครัว และอิทธิพลของเพื่อนกับวิถีชีวิตที่สร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นชายอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ชั้นปีที่ 1-3 อายุ 15-19 ปี จำนวน 440 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล วิถีชีวิตที่สร้างเสริมสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อิทธิพลของครอบครัว และอิทธิพลของเพื่อน แบบสอบถามได้ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงแล้ว มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .83, .95, .96, .92, .91, และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเชิงชั้น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า นักเรียนชายอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีวิถีชีวิตที่สร้างเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 157.99, SD = 18.49) ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน อิทธิพลของครอบครัว อิทธิพลของเพื่อน การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ประโยชน์ สามารถร่วมทำนายวิถีชีวิตที่สร้างเสริมสุขภาพนักเรียนชายอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ร้อยละ 22.3 ซึ่งสร้างสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ (โปรดดูสมการในตัวเล่มหรือไฟล์วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม)
Other Abstract: The purposes of this predictive correlational research were to study health-promoting lifestyle and to examine the predictability of predicting factors; history of alcohol drinking, perceived benefit, perceived barriers, perceived self-efficacy, parents influence, and peers influence among male vocational students. Four hundred and forty male vocational students aged 15-19 years old, were selected by multi-stage random sampling. The instruments used for data collection were the demographic data, health-promoting lifestyle questionnaire, perceived benefit, perceived barriers, perceived self-efficacy, parents influence, and peers influence. All questionnaires were tested for content validities by a panel of experts, and the reliabilities were .83, .95, .96, .92, .91, and .88, respectively. Descriptive statistic, Pearson’s product moment correlation coefficient and hierarchical multiple regression were used to analyze data. The results revealed : The mean score of health - promoting lifestyle among male vocational students was at a moderate level (X bar = 157.99, SD = 18.49). Perceived self-efficacy, perceived benefit, parents influence, peers influence, history of alcohol drinking, and perceived barriers, were predictors for health- promoting lifestyle. Variables accounted for 22.3% of total variance in health - promoting lifestyle. The equation derived from the standardized score was: (Due to the limit of system, equation can't display correctly. Please see the equation in hardcopy or full text file)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30086
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1063
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1063
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rattana _pr.pdf22.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.