Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30616
Title: การตรวจหาความชุกของ เพเทนท์ฟอราเมนโอวาเล่ ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดเฉียบพลันซึ่งเข้าได้กับสาเหตุจากลิ่มเลือดอุดตันด้วยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของหัวใจทางหน้าอกผนวกด้วยการฉีดอจิเตทซาไลน์
Other Titles: The prevalence of patent foramen ovale in acute embolic stroke detected by transthoracic echocardiography with agitated saline injection
Authors: สมบูรณ์ จิรภัทรธำรง
Advisors: สุรพันธ์ สิทธิสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Surapun.S@Chula.ac.th
Subjects: หลอดเลือดสมอง -- โรค
หัวใจ -- การวินิจฉัยด้วยคลื่นเหนือเสียง
หัวใจ -- โรค
เพเทนท์ฟอราเมนโอวาเล
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ : ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลความชุกของเพเทนท์ฟอราเมนโอวาเล่ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่เข้าได้กับการอุดตันจากลิ่มเลือดโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจนในประชากรไทย ในขณะที่มีข้อมูลจากหลายการศึกษาสนับสนุนว่าการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของหัวใจทางหน้าอกผนวกด้วยการฉีดอจิเทซาไลน์สามารถให้การวินิจฉัยเพเทนท์ฟอราเมนโอวาเล่ได้ใกล้เคียงกับการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของหัวใจผ่านทางหลอดอาหาร การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อหาความสุขของเพเทนท์ฟอราเมนโอวาเล่ในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวโดยอาศัยการวินิจฉัยจากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของหัวใจทางหน้าอกผนวกด้วยการฉีดอจิเตทซาไลน์ วิธีการศึกษา : ทำการศึกษาในผู้ป่วยสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่เข้าได้กับการอุดตันจากลิ่มเลือดโดยอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบประสาทเป็นผู้ให้การวินิจฉัย ผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติเข้าได้กับเกณฑ์การวิจัยจะได้รับการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของหัวใจทางหน้าอกตามมาตรฐาน และผนวกด้วยการฉีดอจิเตทซาไลน์เพิ่มเติม ทำการศึกษาในผู้ป่วยแบบต่อเนื่องระหว่างกุมภาพันธ์ 2551 ถึง พฤศจิกายน 2551 ผลการศึกษา : ตรวจพบเพเทนท์ฟอราเมนโอวาเล่ในผู้ป่วย 13 รายจาก 66 ราย คิดเป็นร้อย ละ 19.7 เป็นผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 45 ปี จำนวน 6 รายจาก 14 ราย (ร้อยละ 43) และอายุมากกว่า 45 ปีจำนวน 7 รายจาก 52 ราย (ร้อยละ 13) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR = 4.821, 95% CI = 1.282-18.132, p = 0.020) สรุปผลการศึกษา : โดยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของหัวใจทางหน้าอกผนวกด้วยการฉีดอจิเตทซาไลท์ ความชุกของเพเทนท์ฟอราเมนโอวาเล่ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดเฉียบพลันของ รพ.จุฬาฯ ซึ่งเข้าได้กับการอุดตันจากลิ่มเลือดซึ่งไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน คือร้อยละ 19.7 และตรวจพบในกลุ่มผู้ป่วยสมองขาดเลือดอายุน้อย (น้อยกว่า 45 ปี) มากกว่ากลุ่มที่อายุสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: Background : Nowadays, epidemiologic data of PFO in Thai patients presented with acute embolic stroke without known source of embolism is not available. While many recent studies showed the comparable efficacy for PFO detection by transthoracic echocardiography with agitated saline injection and transesophageal echocardiography. Objective : Identifying prevalence of PFO in acute embolic stroke without known source of embolism in Thai patients, by using transthoracic echocardiography with agitated saline injection, is the primary objective of this study. Methods : 66 patients with acute embolic stroke, diagnosed by neurologist, matched with criteria of the study (18-80 years old patient without evidence of atrial fibrillation / mitral stenosis / LVEF < 30% / prosthetic valve replacement / infective endocarditis / technically difficult echocardiographic window) were consecutively enrolled, from February 2008 to November 2008, for standard transthoracic echocardiography with agitated saline injection. Results : The prevalence of PFO in patients presented with acute embolic stroke without known source of embolism was 19.7% (13 of 66 patients). The prevalence of PFO was significantly higher in patients who were under 45 years old (43%) compared to the older (13%) (OR = 4.821, 95% CI = 1.282 -18.132, p = 0.020). Conclusion : The prevalence of PFO in acute embolic stroke without known source of embolism assessed by transthoracic echocardiography with agitated saline injection was 19.7% at King Chulalongkorn Memorial Hospital. Prevalence of PFO in the group of stroke in the young was significantly higher than the older.The main results of study match with previous data obtained from the studies in Asian population using transesophageal echocardiography.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30616
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.653
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.653
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somboon_ji.pdf930.15 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.