Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30700
Title: เกณฑ์การออกแบบ การบริหารและการจัดการดำเนินงานของโรงแรมเชิงนิเวศ
Other Titles: Design criteria, management and operation of ecological hotel
Authors: ศิริวรรณ ชละกุล
Advisors: ปรีชญา สิทธิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: preechaya.s@chula.ac.th
Subjects: โรงแรม -- การออกแบบ
โรงแรม -- การบริหาร
โรงแรม -- การจัดการ
การออกแบบอย่างยั่งยืน
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิอากาศทำให้กระทบกับระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ เกิดการเปลี่ยนแปลง ฤดูกาล ปริมาณน้ำฝน การรณรงค์การลดใช้พลังงานของอาคารตั้งแต่เริ่มต้นการออกแบบ การก่อสร้าง และการบริหารจัดการอาคาร ที่คำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อมเริ่มเข้ามามีบทบาทใน การออกแบบทางสถาปัตยกรรมเพิ่มขึ้น โรงแรมก็เป็นอาคารประเภทหนึ่งที่มีการใช้พลังงาน มากเนื่องจากมีการใช้งานที่หลากหลาย ในปัจจุบันมีการออกแบบโรงแรมเชิงนิเวศ หรือ Eco hotel (Ecological hotel) แต่เนื่องจากไม่ได้มีการรับรองหรือกำหนดเป็นมาตรฐานของโรงแรม เชิงนิเวศจึงทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถทราบข้อมูลที่แท้จริงได้ งานวิจัยนี้ต้องการหาเกณฑ์การออกแบบ การบริหาร และการจัดการโรงแรมเชิงนิเวศ โดยการศึกษาเปรียบเทียบหลักการออกแบบโรงแรมเชิงนิเวศ เริ่มตั้งแต่การเลือกที่ตั้งโครงการ การออกแบบทางสถาปัตยกรรม การเลือกใช้วัสดุการก่อสร้าง การออกแบบจัดการขยะและ น้ำเสีย การบริหารและจัดการดูแลรักษาอาคารและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เป็นโรงแรมเชิงนิเวศที่ สมบูรณ์ การศึกษาเกณฑ์การประเมินด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสากล และจากกรณีตัวอย่าง ของโรงแรมที่ได้รับรางวัลด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสากลและของไทยเพื่อวิเคราะห์แนวทางการ ปฏิบัติเปรียบเทียบกับแนวทางทางทฤษฎี ซึ่งพบว่าการเป็นโรงแรมเชิงนิเวศนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ ภาพลักษณ์ภายนอกของตัวสถาปัตยกรรมหรือที่ตั้งเท่านั้น แต่ต้องมีความสมดุลของระบบ นิเวศโดยการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่จำกัดได้อย่างประหยัดเหมาะสมกับการใช้งาน และยังคงประสิทธิผลในการบริหารและการจัดการดำเนินงานของโรงแรมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
Other Abstract: Global warming is a problem that currently impacts on life. Climate change has affected the ecological system of plants and animals leading to the change of season and rainfall amount. The environmental campaign to reduce energy consumption of building has started to play an increasing role in the construction design and building management. The hotel is a type of building that uses up a lot of energy due to its having multiple functions. Although at present there are designs for ecological hotels (Eco hotel), none have become industry standards. As a result, there is little factual information available to the general public about this kind of hotel design. This research aims to discover the design criteria, management, and operation of the Eco hotel by comparing their design principles. This comparison study covered the hotel location selection, the architectural design, the construction material selection and the design and management of waste and wastewater. Further, it looked into the management of building maintenance and environmental monitoring to maximize the Eco hotel’s performance. International studies of environmental assessment criteria and case studies of both internationally and domestically recognized hotel designs were also analyzed to compare their operations in practice with theory. The findings reveal that being an effective Eco hotel not only depends on architectural appearance or location but also the balance of the ecological system. This means having the ability to utilize the limited natural resources economically and efficiently to meet with the hotel’s operations and management.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30700
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1296
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1296
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriwan_ch.pdf11.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.