Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30863
Title: การศึกษาความต้องการการพยาบาลของผู้สูงอายุ ในชมรมและสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ : รายงานการวิจัย
Other Titles: Nursing care needs of the aged in elderly club and home for the aged
Authors: ประนอม โอทกานนท์
จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Email: otpranom@gmail.com
wattanaj@yahoo.com
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: บริการทางการแพทย์ -- การประเมินความต้องการจำเป็น
แผนการดูแลด้านการพยาบาล
บริการการพยาบาล
บ้านพักคนชรา
ผู้สูงอายุ -- บริการทางการแพทย์
ชุมชนผู้เกษียณ
Issue Date: 2537
Abstract: การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุและการจัดสถานสงเคราะห์สำหรับผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและเป็นนโยบายของชาติในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ แต่การบริการพยาบาลในสถานที่ทั้ง 2 แห่งยังเ็นปัญหาอยู่มาก การศึกษาครั้งนี้ต้องการศึกษาความ้องการการพยาบาลของผู้สูงอายุในชมรมและสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ได้ตัวอย่างประชากรในชรมผู้สูงอายุเป็นชาย 165 คน หญิง 149 คน และในสถานสงเคราะห์เป็นชาย 120 คน หญิง 140 คน โดยวิธีสุ่มหลายขั้นตอนเครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบตรวจร่างกาย และแบบสัมภาษณ์ ที่มีความตรงและความเสี่ยง ผลการวิจัย ในชมรมผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมีควมต้องการการพยาบาลในเรื่อง การให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเพศ ในด้านการจัดการทางการพยาบาลพบว่า ผู้สูงอายุต้องการให้มีการตรวจไขมันในเลือด การบันทึกจำนวนครั้งการมาใช้บริการ การตรวจสายตา การตรวจภาวะซีดของร่างกายการเอ็กซเรย์ปอด และการตรวจการได้ยิน การทดลองค่าไค-สแควร์ พบว่า การรายงานการได้รับบริการพยาบาลของผู้สูงอายุใน 4 เรื่อง คือ การยอมรับว่าผู้สูงอายุเป็นสมาชิกคนหนึ่งของชุมชน การยอมรับนักถือผู้สูงอายุในฐานะผู้อาวุโส การจัดการให้มีการบำบัดรักษาสิ่งผิดปกติ และการจัดการให้มีการตรวจการได้ยินไม่มีความสัมพันธ์กับสถานที่ตั้งของชมรม (ภาค) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ พบผู้สูงอายุร้อยละ 36.92 มีปัญหาเรื่องเชาว์ปัญญา ร้อยละ 71.15 มีปัญหาเรื่องซึมเศร้า ร้อยละ 19.23 มีปัญหาเรื่องการช่วยเหลือตนเอง และพบผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นอัมพาต หรือหลงลืมขั้นรุนแรงร้อยละ 19.09 ผู้สูงอายุที่มีความต้องการการพยาบาลในเรื่องสุขวิทยาของเล็บ ผิวหนัง และผม พบถึงร้อยละ 42.30, 30.38 และ 27.31 ตามลำดับ ความต้องการการพยาบาที่เกิดจากความเลื่อมและความเจ็บป่วยของร่ายการ 3 อันดับแรกได้แก่ การพยาบาลในเรื่องกระดูกและข้อพบร้อยละ 77.69 เหงือกและฟัน พบจำนวนเท่ากันกัลการขับถ่ายปัสสาวะคือ พบร้อยละ 75.76 การทดสอบค่าคะแนนเฉลี่ยความต้องการการพยาบาลของผู้สูงอายุจำแนกตามภาคและตามสังกัด พบว่า ทุกกิจกรรมการพยาบาลในทุกเรื่องคะแนนเฉลี่ยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานในสถานสงเคราะห์ฯ ได้แก่ บุคลากรพยาบาลและบุคลากรที่ได้รับการฝึกฝนด้านการดูแลผู้สูงอายุมีจำนวนไม่เพียงพอ มีความจำกัดในเรื่องอุปกรณ์และเครื่องมือจำเป็น การศึกษาครั้งนี้ให้ประโยชน์ ให้ข้อมูล ความต้องการบริการพยาบาลในชมรมและสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผลการวิจัยจะช่วยให้นักการศึกษาพยาบาลและผู้เกี่ยวข้องจัดให้มีบริการพยาบาลอย่างเพียงพอในชมรมและสถานสงเคราะห์ผู้สูงอายุ
Other Abstract: Although the elderly club and home for thwe aged are encountered as place to support long-term National Health Plan for the elderly, a nursing care delivery in such place is still considered to be a severe problem in Thailand. This exploratory study was undertaken to determine nursing care needs of the aged in elderly club and home for the aged. A sample were drawn by multistage sampling techniques. A set of nursing service and nursing management questionnaire was utilized on 149 female and 165 male elderly people in elderly club, while a set of physical and mental assessment was utilized on 140 female and 120 male elderly people living in different homes for the aged. The findings indicated that In elderly club : In regards to elderly response, sx counseling was named as need in term of nursing practice. On the other hand, ear examination, chest x-ray, physical check up for anemia, recording of elderly club attendance, and taking blood test for cholesterol, were named as needs in terms of nursing management. Chi-Square anayses revealed that, at .05 level, there were no statistically significant difference among location of elderly club in response to the four nursing activities--respet elderly as a community member, respect elderly as a senior citizen, citizen, nursing management for treatment of illness, and nursing management for hearng examination. In home for the aged : In regtards to interviewing and mental assessment, the major nursing care needs were identified as cognitive imparment found 36.93%), depressve (found 71.15%), self care deposit (found 19.23 %) and there were 19.0% of the chronicaly ill elderly people. in regards to elderly physical examinaton, the nursing care needs in term of personal hygiene were identified as nail (found 42.30%), Skin (found 32.38%) and hair (found 27.31%). The first three nursing care needs in term of physical deterioration and illness were identified as bone and joint (77.96 %), gum and teeth (75.76%), and urination (75.76%). There were no statistically significant differene at .05 of nursing care needs regardng to cognitive and mental status, ability of self care, personal hygiene, bone and joint, nervous system, cardiovascular, and gastrointestinal system, of the elderly as classified by location of home for the aged. The problem for rendering nursing care in h ome for the aged were identified as there were none or a few of nurses, insufficient of health or well trained personnel, and limitation of resources. Implications : The study suggests that there are a great amount of nursing care need in elderly club and home for the aged. The findings would help nurse educators, as well as related government officers, in developing means and ways to solve the problems of delivgry nursing care in elderly club and home for the aged.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30863
Type: Technical Report
Appears in Collections:Nurse - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pranom_ot_2537.pdf12.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.