Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30886
Title: ความล้าของตาและจิตใจจากการใช้แว่นสามมิติแบบสเตอริโอสโคปิค
Other Titles: Visual and mental fatigue from using 3D stereoscopic glasses
Authors: สุชามาศ วรรณภาพร
Advisors: ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Phairoat.L@Chula.ac.th
Subjects: อุปกรณ์ปลายทางแสดงผลภาพ
การเห็น
ความล้า
ภาพสามมิติ
Video display terminals
Vision
Fatique
Three-dimensional illustration
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เทคโนโลยีสามมิติได้นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตภาพเสมือนจริง และได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนเป็นเครื่องฉายภาพสามมิติ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เกิดภาพสามมิติขึ้น ทุกวันนี้ระบบการแสดงภาพสามมิติกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เนื่องจากผู้ใช้ชอบในความสมบูรณ์แบบขององค์ประกอบทั้งแสงและภาพที่ทำให้เหมือนมีชีวิตจริงๆ แต่ปัญหาอย่างหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้เป็นเวลานานได้ก็คือ ความล้าของสายตา เพราะฉะนั้นการเปรียบเทียบความล้าทางสายตาที่เกิดขึ้น ระหว่างการใช้ระบบสองมิติกับสามมิติ รวมไปถึงการหาระยะเวลาใช้งานและระยะเวลาพักที่เหมาะสมจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดอาการล้าได้ การดำเนินการวิจัยได้ศึกษาจากอาสาสมัครที่มีอายุเฉลี่ย 23 ปีจำนวน 7 คน โดยให้ทำงานประเภทต่างๆ คือ การพิมพ์งาน การเล่นเกมสองมิติ การดูภาพยนตร์สองมิติ และการใช้แว่นสามมิติแบบสเตอริโอสโคปิคในการเล่นเกมและดูภาพยนตร์ ด้วยระยะเวลาทำงาน 30, 60 หรือ 90 นาที และระยะเวลาพัก 5 หรือ 15 นาที ระดับความล้าที่เกิดขึ้นจะทำการวัดจากแบบสอบถามก่อนและหลังการทดลอง, ค่าความถี่ในการมองเห็นแสงกระพริบหรือหยุดนิ่ง และระดับความเข้มสีผสมจากเครื่องตรวจจับสัญญาณการมองเห็น ผลจากค่าความถี่ของแสงกระพริบและระดับความเข้มสีผสม พบว่า มีแนวโน้มการเกิดความล้าของสายตาไปในทิศทางเดียวกันคือ การทำงานทุกประเภทตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไปทำให้เกิดความล้าทางสายตาได้ โดยที่การดูภาพยนตร์สามมิติจะเกิดอาการล้ามากที่สุด และเมื่อหยุดพักเป็นเวลา 15 นาที สายตาถึงจะมีแนวโน้มในการกลับคืนสู่สภาพปกติได้ ส่วนผลจากแบบสอบถาม พบว่า การดูภาพยนตร์สามมิติ จะทำให้ระดับอาการแสบตา ปวดหัว ปวดตาและการกระพริบตาบ่อยมีความรุนแรงมากที่สุด สำหรับด้านจิตใจจะเกิดจากการเล่นเกมสามมิติมากที่สุด
Other Abstract: 3D technology was a part of producing realistic graphics and was developed to be the stereoscope which was a new invention could take photographic images in 3D. It becomes very well known now because users like more 3D environments complete with realistic lighting and complicated simulation of real-life graphics grace on screens but a problem is visual fatigue may occur to users from long period watching. A comparison of fatigue occurred while watching the 2D and 3D system and finding the appropriate watching and resting period for reducing the fatigue. Seven volunteers with average age 23 years were chosen for this study. The conditions were typing with computer, playing a game and watching a movie in 2D or 3D system with 30, 60 or 90 minutes cross with rest 5 or 15 minutes. The fatigue level was measured by the critical flicker frequency, bicolor intensity from the visual signal detection and the questionnaires. The results from the critical flicker frequency and the visual signal detection were similar. It was concluded visual and mental fatigue was apparent even with 30-minuted operation of all tasks but the most fatigue caused by watching a 3D movie and it could be recovered after a rest of 15-minuted. For the results from the questionnaires showed that the symptoms were burning sensation, headache, eye pain and frequent blinking caused by watching 3D movies the most. Moreover, the mental fatigue from playing a 3D computer game was found to be the most.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30886
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1410
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1410
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suchamas_wa.pdf4.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.