Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31364
Title: เงื่อนไขทางสังคมและเศรษฐกิจและทางเลือกของชาวนาไร้ที่ดิน ในการหารายได้สำหรับครัวเรือนในบ้านคลอง ฉะเชิงเทรา
Other Titles: Social and economic conditions and choices of landless farmers in search of household incomes in banklong chachoengsao
Authors: อารยะ ภูสาหัส
Advisors: ปรีชา คูวินทร์พันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำรงอยู่ของครอบครัวชาวนาไร้ที่ดินและทางเลือกในการหารายได้สำหรับครัวเรือนในลักษณะต่าง ๆ ต่อวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่ประสบอยู่ และเพื่อศึกษาว่าเบื้องหลังของทางเลือกในการหารายได้ในลักษณะต่าง ๆ นั้น พวกเขามีและ/หรือใช้เงื่อนไขอะไรบ้าง โดยการศึกษานี้มีสมมติฐานว่า “ ชาวนาไร้ที่ดินมีและ/หรือใช้เงื่อนไขทางสังคมและเศรษฐกิจในการหารายได้สำหรับครัวเรือน และถ้าหากครอบครัวชาวนาไร้ที่ดินครอบครัวใดมีและ/หรือใช้เงื่อนไขดังกล่าวมากเพียงใด โอกาสของทางเลือกในการหารายได้สำหรับครัวเรือนในลักษณะต่าง ๆ ก็จะมีมากขึ้นเพียงนั้น” ผู้ศึกษาได้ใช้แนวคิดการวิเคราะห์การกระทำของบุคคลของ Talcott Parsons ในการศึกษากระบวนการต่อสู้ดิ้นรนในการหาเลี้ยงชีพของชาวนาไร้ที่ดิน ซึ่งได้พบว่า ชาวนาไร้ที่ดินมีเงื่อนไขทางสังคมและเศรษฐกิจอยู่จริง และในกลุ่มของชาวนาไร้ที่ดินก็มีสภาพความเป็นอยู่และฐานะทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ชาวนาไร้ที่ดินมีเงื่อนไขทางสังคมและเศรษฐกิจและ/หรือใช้เงื่อนไขดังกล่าว ในระดับที่แตกต่างกันนั่นเอง ซึ่งเงื่อนไขที่สำคัญยิ่งก็คือ เงื่อนไขทางสังคม ได้แก่ระบบเครือญาติ และระบบอุปถัมภ์ภายในชุมชน ส่วนทางเลือกในการหารายได้สำหรับครัวเรือนมี 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ การเช่าที่ดินทำกิน และรับจ้างทั้งใน – นอกพื้นที่ ความแตกต่างทางฐานะและชั้นทางสังคมที่เกิดขึ้นดังกล่าวนี้ ทำให้ชาวนาที่มีฐานะด้อยกว่าเข้าไปอยู่ในข่ายของความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study the living condition of landless farmers’ families, their choices of economic alternatives under the economic crisis that they are facing. Specifically, this study in tens to study the condition behind these choices in search of their household incomes. This is to focus on a hypothesis stating that landless farmers have and/or use existing economic and social conditions in search of their household income. The more they have and/or use these conditions, the more they find alternatives. Talcott Parsons’ V0luntaristic Theory of Social Action is used for an analysis of individual action on order to study the process of farmers’ struggle for incomes. The findings of this study are firstly, landless farmers have their own economic and social conditions, and secondly, they have distinctive living condition as well as economic and social status among individual families. The distinctions are the result of having and/or using economic and social conditions at different levels. The important social conditions are kinship and patron – client systems that exist in their community. Those farmers who have inferior status are forced to get into a patron – client network.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31364
ISBN: 9745690074
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Araya_ph_front.pdf4.59 MBAdobe PDFView/Open
Araya_ph_ch1.pdf17.23 MBAdobe PDFView/Open
Araya_ph_ch2.pdf19.65 MBAdobe PDFView/Open
Araya_ph_ch3.pdf27.75 MBAdobe PDFView/Open
Araya_ph_ch4.pdf3.97 MBAdobe PDFView/Open
Araya_ph_back.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.