Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31459
Title: การควบคุมภายในเกี่ยวกับการจัดการพันธบัตรรัฐบาล โดยธนาคารแห่งประเทศไทย
Other Titles: Internal control on government bank management of the Bank of Thailand
Authors: เพ็ญจันทร์ มงคลกุล
Advisors: พรรณี ตรีสวัสดิ์
ธารี หิรัญรัศมี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารกลางของชาติ จึงมักเรียกกันว่า “ธนาคารชาติ” ในฐานะธนาคารกลาง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดระบบการเงิน และรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศ หน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการกู้เงินของรัฐบาล ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับมอบหมายจากกระทรวงการคลังให้เป็นผู้จัดการตั๋วเงินคลัง ซึ่งถือว่าเป็นการกู้เงินในระยะสั้น (อายุไม่เกิน 12 เดือน) และพันธบัตรรัฐบาลสำหรับการกู้เงินระยะยาว (อายุประมาณ 5-10 ปี) โดยใช้วิธีการออกพันธบัตรรัฐบาลจำหน่าย การจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล เป็นการกู้เงินภายในประเทศที่สำคัญของรัฐบาล เนื่องจากสามารถระดมเงินทุนให้แก่รัฐบาลได้ในจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมให้การดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการพันธบัตรรัฐบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามนโยบายของกระทรวงการคลัง อย่างไรก็ตามเท่าที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยในปี 2485 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ระบบการจัดการพันธบัตรรัฐบาลมีพิธีปฏิบัติค่อนข้างเป็นระบบราชการ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติงานมากมาย ซึ่งยังมิได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมากนัก ประกอบกับวิธีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงาน การจัดแบบฟอร์มและเอกสารทางการบัญชีตลอดจนทะเบียนต่าง ๆ ยังไม่มีระบบที่เหมาะสมเท่าที่ควร ทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเป็นการศึกษาระบบการควบคุมภายในเกี่ยวกับการจัดการพันธบัตรรัฐบาลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเลือกกรณีศึกษาที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่มีปริมาณงานมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสาขาภาคทั้ง 3 สาขาของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะการดำเนินงานที่สำคัญ ๆ เหมือนกันได้แก่ การจัดจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล การจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล การไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตร การแก้ไขรายละเอียดเกี่ยวกับเจ้าของพันธบัตร ตลอดจนการเก็บรักษาพันธบัตรที่รับฝากจากสถาบันการเงิน เป็นต้น สำหรับวิธีการศึกษา ได้ใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์ผู้บริหารและพนักงานของส่วนการกู้เงิน รวมทั้งการสอบถามข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานดังกล่าวข้างต้นจากพนักงานของฝ่ายตรวจสอบกิจการภายใน ฝ่ายกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนพนักงานในส่วนวิเคราะห์และจัดการตลาดเงิน ฝ่ายการธนาคาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ข้อมูลอีกส่วนหนึ่งจากระเบียบคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทย และแฟ้มปัญหาโต้ตอบกับลูกค้า นอกจากนั้นยังมีข้อมูลที่สำคัญซึ่งได้มาจากการออกแบบสอบถามผู้ถือพันธบัตรโดยสุ่มตัวอย่างศึกษา 200 ราย และได้รับคำตอบกลับคืนมา 137 ราย หลังจากนั้นจึงทำการประเมินผลเพื่อดูว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการควบคุมภายในเกี่ยวกับการดำเนินงานแต่ละด้านเป็นอย่างไร และมีปัญหาเกิดขึ้นในการดำเนินงานแต่ละด้านมากน้อยเพียงใด ผลการศึกษาพบว่าธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานใหญ่ ส่วนใหญ่มีวิธีการจัดการเกี่ยวกับพันธบัตรรัฐบาลซึ่งเป็นไปตามระบบการควบคุมภายใน กล่าวคือมีผังการจัดแบ่งส่วนงานและกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ มีนโยบายและวิธีปฏิบัติงาน มีมาตรฐานในการปฏิบัติงานตลอดจนการจดบันทึกและรายการ รวมทั้งการตรวจสอบกิจการภายใน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการกำหนดวิธีการควบคุมภายในตามลักษณะดังกล่าวแล้ว แต่ปรากฏว่ายังมีปัญหาเกิดขึ้นในการดำเนินงานในแต่ละด้านบ้างเล็กน้อย โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากหลักการปฏิบัติงานเป็นระบบราชการ ซึ่งได้ปฏิบัติต่อเนื่องกันมาโดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก ทำให้ขั้นตอนการปฏิบัติงานตลอดจนการบันทึกสมุดทะเบียนต่าง ๆ ค่อนข้างล้าสมัย นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนพนักงานและพนักงานบางตำแหน่งขาดความรู้ความชำนาญงานเฉพาะด้าน จากการศึกษาในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาละข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในการดำเนินงานแต่ละด้านของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่เกี่ยวกับการจัดการพันธบัตรรัฐบาลไว้แล้ว แต่ทั้งนี้แนวทางและข้อเสนอแนะต่าง ๆ จะสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงการควบคุมภายในเกี่ยวกับการจัดการพันธบัตรรัฐบาลที่ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานใหญ่ได้เพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบ เช่น โครงสร้างขององค์การการควบคุมดูแลของฝ่ายบริหาร และบุคลากร นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น ทรัพยากรที่จะนำมาใช้ในการปรับปรุง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กรณีศึกษาการควบคุมภายในของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ เกี่ยวกับการจัดการพันธบัตรรัฐบาล รวมทั้งแนวการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่แสดงไว้นี้ นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานใหญ่แล้ว ยังสามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานของสาขาธนาคารทั้ง 3 สาขาได้ อีกทั้งยังอาจเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพันธบัตรรัฐบาล เพื่อใช้ศึกษาและปฏิบัติงานควบคุมตลอดจนกำหนดแนวนโยบายที่จะช่วยเหลือและประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทยให้ได้ผลต่อไป
Other Abstract: The Bank of Thailand is the central bank of the country and widely known as “Bank Chat”. In performing the role of the central bank, the Bank of Thailand is authorized by the Ministry of Finance to be responsible for managing financial systems and maintaining the financial stability of the country. One of the important tasks of the Bank of Thailand is the management of government loans. The Bank of Thailand is authorized by the Ministry of Finance to manage treasury bonds which are short-term loans (not more than 12 months), and government bonds which are long-term loans (normally 5-10 years). The issuance of the government bonds is an important instrument in the domestic funds mobilization of the government. It is, therefore, necessary that sufficient control be established in order that the management of the government bonds in pursurance of the policy of the Ministry of Finance will be as efficiently and as effectively as possible. However, the management system of the government bonds by the Bank of Thailand since its establishment in 1942 has been rather bureauratic with many lengthy operational steps which have not much been improved over the years. It is likely that significant delays may be resulting from inappropriate systems of assigning job responsibility to personnels, and cumbersome systems for keeping documents, records, and accounts. This thesis is intended to study the internal control system for the management of the government bonds by the Bank of Thailand by limiting its scope only to the head office of the Bank of Thailand which contains most relevant data as compared to the other 3 branches of the Bank. The studies were made on the major management operations of the government bonds such as public offering, interest payment, redemption, changing of bondholder registration, changing of bondholding conditions and safeguarding of government bonds belonging to financial institutions. The research methods used in this study involve the interviews and on the job observations of executives and officials of the Loan Management Division, including opinion survey on those whose works are connected with this Division such as the Audit and Inspection Department, the Department of Bank Supervision and Examination, and the Banking Analysis and Money Market Management Division in the Banking Department. Additional data are also extracted from the present rules, regulations, and customer problem files. The most important of all, significant data are obtained from questionaires given to bondholders. Two hundred questionaires were circularized while 137 of them were returned. From all the data obtained, evaluation is then made to determine the effectiveness of the internal control as well as the existing problems of the government bond management of the Bank of Thailand. The study reveals that in general the Bank of Thailand head-office maintains an appropriate internal control system which consists of good and effective organizational structure, divisions of functions and responsibilities, policies and procedures, work standards, recording and reporting system, and internal auditing. However, even with such workable internal control, problems and shortcomings are still presented in each activity conducted by the Loan Management Division. The main cause of the problems seems to arise from the bureaucratic lengthy and outdated procedures which have been practiced from the beginning without appropriate modification to suit the prevailing situations. Moreover, there are insufficient personnels, and some officials lack certain specialized knowledge and experience required for their duties. In this study, the author has proposed recommendations in connection with guidelines which can be used to solve problems in conducting each activity concerning the internal control of the government bond management of the Bank of Thailand head-office. However, effectiveness of these guidelines and recommendations suggestions will depend on such factors as the organizational structure, the supervision and control by executives and officials. This effectiveness will also be subject to such limitations as the availability of resources. This case study and guidelines for solving the operational problems will not only be beneficial to the administration of the Bank of Thailand headoffice, but they will also be adapted for use in other three branches of the Bank of Thailand. Moreover, the study and guidelines will also be useful for other government agencies who are concerned with the government bonds management, so the they can formulate policies in order to provide more effective assistances and better coordinations with the Bank of Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: บัญชีมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบัญชี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31459
ISBN: 9745672696
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phenchun_mo_front.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Phenchun_mo_ch1.pdf726.31 kBAdobe PDFView/Open
Phenchun_mo_ch2.pdf827.42 kBAdobe PDFView/Open
Phenchun_mo_ch3.pdf12.89 MBAdobe PDFView/Open
Phenchun_mo_ch4.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open
Phenchun_mo_ch5.pdf874.04 kBAdobe PDFView/Open
Phenchun_mo_ch6.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Phenchun_mo_back.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.