Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31506
Title: การประเมินอาคารศูนย์ฝึกวิชาชีพ : ผลกระทบของสภาพพื้นที่ใช้สอยต่อผู้ใช้
Other Titles: An evaluation of area center building : an investigation of spatial and environmental impac upon users
Authors: อรุณ พุฒยางกูร
Advisors: วิมลสิทธิ์ หรยางกูร
วันชัย โพธิ์พิจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศูนย์ฝึกวิชาชีพ (Area Vocational Centers) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้โครงการเงินยืมเพื่อพัฒนาการศึกษาครั้งที่ 5 จำนวน 12 แห่ง ดำเนินงานโดยกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่ให้บริการสอนวิชาชีพแก่นักเรียนจากโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนที่ไม่สามารถจัดการสอนวิชาชีพตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พ.ศ.2521 กับหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2524 แต่เนื่องจากสถานศึกษาที่ใช้บริการของศูนย์มีจำนวนไม่เท่ากัน ดังนั้นขนาดของศูนย์จึงมี 2 ขนาดคือ ศูนย์ขนาดใหญ่ จุนักเรียนได้ประมาณ 500 ที่นั่ง และศูนย์ขนาดเล็ก จุนักเรียนได้ประมาณ 300 ที่นั่ง อาคารของศูนย์ฝึกวิชาชีพทั้ง 12 แห่ง มีลักษณะการจัดองค์ประกอบของอาคารเหมือนกันหมด มีข้อแตกต่างกันเฉพาะในเรื่องขนาดพื้นที่ใช้สอยระหว่างศูนย์ขนาดใหญ่กับศูนย์ขนาดเล็กเท่านั้น ในส่วนของอาคารรวมซึ่งเป็นอาคารหลักของศูนย์ ประกอบด้วยห้องธุรการ ห้องพยาบาล ห้องแนะแนว ห้องสมุด ห้องพัสดุกลาง ห้องอเนกประสงค์ (โรงอาหาร) ห้องเรียน และห้องฝึกงานต่าง ๆ การที่นำเอาส่วนของห้องฝึกงานมารวมอยู่กับส่วนที่เป็นห้องเรียนในอาคารหลังเดียวกัน จึงทำให้เสียงรบกวนจากห้องฝึกงานทำความรบกวนห้องเรียนต่าง ๆ เป็นอย่างมาก ประกอบกับมีปัญหาเรื่องพื้นที่ใช้สอนในบางห้องไม่เพียงพอ และสภาพแวดล้อมในบางแห่งยังไม่เหมาะสมกับการใช้สอย ดังนั้นจึงสมควรที่จะมีการประเมินอาคารศูนย์ฝึกวิชาชีพในด้านต่าง ๆ ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติก็ได้ทำการประเมินในส่วนของการดำเนินงานระยะครึ่งโครงการไปแล้ว และขณะนี้กำลังสรุปผลการประเมินระยะสิ้นสุดโครงการ สำหรับงานวิจัยฉบับนี้ เป็นการประเมินอาคารศูนย์ฝึกวิชาชีพในด้านที่เกี่ยวกับผลกระทบของสภาพพื้นที่ใช้สอยต่อผู้ใช้อาคาร โดยทำการศึกษาวิจัยเฉพาะตัวอาคารรวมของศูนย์ขนาดเล็ก 3 แห่ง ได้แก่ศูนย์จังหวัดนครปฐม สระบุรี และนครนายก ซึ่งมีลักษณะอาคารเหมือนกันหมดทุกประการ มีข้อแตกต่างเฉพาะในเรื่องทิศทางการหันตัวอาคารเท่านั้น ซึ่งมีผลกระทบต่อการประเมินไม่มากนัก ในการทำวิจัยได้ใช้แบบสัมภาษณ์ผู้บริหารและครูในศูนย์ฝึกวิชาชีพทั้ง 3 แห่ง รวมทั้งการตรวจสอบสภาวะแวดล้อมทางด้านอุณหภูมิภายในห้อง แสงสว่าง และเสียงรบกวนด้วยเครื่องมือวัด ณ ศูนย์ฝึกวิชาชีพจังหวัดนครปฐม ผลการวิจัยพอจะสรุปได้ว่า สภาพแวดล้อมกายภาพของอาคารที่เป็นอยู่ปัจจุบันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย กล่าวคือ 1. สภาพแวดล้อมกายภาพที่เป็นข้อดีของอาคาร ได้แก่ รูปแบบของอาคารที่เกิดจากการรวมพื้นที่ใช้สอนประเภทต่าง ๆ มาเป็นอาคารหลังเดียว ทำให้มีลักษณะที่แตกต่างจากอาคารทั่วไป จึงเป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของศูนย์ที่มีความสง่างาม ในขณะเดียวกันก็เกิดประโยชน์ในด้านการลดค่าก่อสร้าง การประหยัดในการใช้ที่ดิน ทำให้เกิดความสะดวกในการติดต่อ การบริหารการควบคุมดูแลได้อย่างทั่วถึง และยังสร้างความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในอาคาร 2. สภาพแวดล้อมกายภาพที่เป็นข้อเสียของอาคาร สำหรับสภาพแวดล้อมกายภาพที่เป็นข้อเสียของอาคาร และมีผลกระทบต่อผู้ใช้อาคารทั้งผู้บริหาร ครู และนักเรียน มีดังนี้คือ 2.1 ปัญหาเรื่องพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอ สาเหตุใหญ่เกิดจากการออกแบบห้องได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ กล่าวคือยังขาดห้องเรียนทฤษฎีของสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ บัญชี ช่างไฟฟ้า ช่างอีเล็กทรอนิกส์ และห้องเก็บเครื่องมือของช่างอีเล็กทรอนิกส์ และการออกแบบพื้นที่ใช้สอยของห้องที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ได้แก่ห้องธุรการ ห้องผู้อำนวยการ ห้องพยาบาล ห้องแนะแนว ห้องพัสดุกลาง ห้องปฏิบัติงานสำนักงาน ห้องปฏิบัติงานอาหารและโภชนาการ ห้องเรียน ห้องเขียนแบบ ห้องฝึกงานช่างไฟฟ้า ห้องฝึกงานช่างอีเล็กทรอนิกส์ ห้องเก็บเครื่องมือช่างกลโลหะ ห้องฝึกงานช่างยนต์ ห้องฝึกงานช่างก่อสร้าง และห้องน้ำ-ส้วมในห้องฝึกงานต่าง ๆ 2.2 ปัญหาเรื่องเสียงรบกวน สาเหตุเกิดจากการรวมห้องฝึกงานกับห้องเรียนไว้ในอาคารหลังเดียวกันโดยไม่มีการป้องกันเสียงรบกวนเป็นพิเศษ ผลจากการตรวจวัดปรากฏว่า บริเวณต่าง ๆ ภายในอาคารมีความเข้มของเสียงอยู่ระหว่าง 63-75 เดซิเบล (A) ซึ่งเกินกว่ามาตรฐานทั่วไป 40-60 เดซิเบล (A) 2.3 ปัญหาเรื่องแสงแดด เป็นปัญหาที่เกิดจากรูปแบบของอาคารที่เป็นอยู่ ไม่สามารถป้องกันแดดได้ จึงทำให้ผนังของอาคารด้านทิศตะวันออกกับทิศตะวันตกถูกแดดส่องตลอดทั้งปี ส่วนผนังด้านทิศใต้ถูกแดดส่องนานประมาณ 6 เดือน 2.4 ปัญหาปลีกย่อยอื่น ๆ ได้แก่ บางห้องไม่มีหน้าต่างหรือมีน้อยเกินไป ทำให้ได้รับแสงสว่างไม่เพียงพอ และการถ่ายเทอากาศไม่ดี ผนังของอาคารที่เป็นบานเกล็ดเหล็กติดตายป้องกันพายุฝนไม่ได้ เป็นต้น การแก้ไขปัญหา จากปัญหาที่กล่าวมาแล้ว ควรจะได้รับการแก้ไขดังนี้ คือ 1. ควรขยายพื้นที่ของห้องที่ยังไม่ได้มาตรฐาน และต่อเติมอาคารบางส่วนเพื่อขยายพื้นที่ของอาคารให้เพียงพอกับความต้องการ 2. ควรย้ายตำแหน่งที่ตั้งของห้องฝึกงานช่างไฟฟ้าและอีเล็กทรอนิกส์ให้แยกออกจากกลุ่มของห้องเรียน 3. ควรสร้างห้องพิเศษที่สามารถควบคุมเสียงรบกวน เพื่อติดตั้งเครื่องจักรที่มีเสียงดังของช่างก่อสร้าง และที่ลองเครื่องยนต์ของช่างยนต์ 4. ควรปรับปรุงห้องพยาบาล ห้องแนะแนว ห้องปฏิบัติงานผ้าและเครื่องแต่งกาย ห้องปฏิบัติงานอาหารและโภชนาการ ห้องเรียน 115,117 ห้องเขียนแบบ 113 ห้องสมุด และห้องน้ำ-ส้วมที่อยู่ในห้องฝึกงานช่างต่างๆ ให้ได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติเพียงพอ และการถ่ายเทอากาศที่ดี 5. ควรติดตั้งกันสาดและแผงบังแดดตรงผนังด้านทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตก เพื่อป้องกันแดด 6. ควรมีการตรวจสอบผนังที่เป็นบานเกล็ดเหล็กติดตาย ว่าส่วนใดที่ฝนสาดเข้ามาได้เพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขต่อไป
Other Abstract: All twelve Area Vocational Center or AVC were established by the Department of Vocational Education of Ministry of Education under the Development Credit Agreement of the Fifth Education Project. The main function of the AVC is to provide vocational instruction and training for lower and upper secondary school students of both government and private schools which cannot provide such services. These services are to be offered in order to fulfill the objectives of the 1978 syllabus for the lower secondary school and the 1981 syllabus for the upper secondary school. The size of the center, large or small, depends on the number of institutions being serve. The large center can accommodate approximately 500 students and the small 300 students. Every AVC building was built from the same design. Only the total areas of the large and the small centers are different. The main building is composed of a general office, a first-aid room, a counseling room, a library, a central storage, a canteen, classrooms and workshops. Since all the rooms were accommodated in the building, the noise from the work rooms was unavoidable. Other problems were that there were not enough space in some rooms and the existing ones were not efficiently designed. Therefore, the evaluation of the AVC building was essential. Although the National Education Commission has already done a mid-term evaluation of the Area Vocational Centers and now is implementing the final evaluation on the function of AVC project. Three centers were selected as samples for this study. They were located at Nakhorn Pathom, Saraburi and Nakhorn Nayok. These buildings were constructed the same way except their location and orientation. However, the difference of the orientation would not affect this study. The instrument used were interview schedules for interviewing the AVC administrators and teachers. The checklist for room ambient was also used but for only the AVC at Nakhorn Pathom. The study revealed both positive and negative impacts as follows: 1. Positvie impact: The uniqueness of the building was attributed to the combination of all different classrooms and workshops together. Construction cost was less and the land occupied was also less. Moreover, the various rooms are functionally located. Positive effects in terms of administration, management and communication were also gained. 2. Negative impact: The negative effect of the building caused many serious impacts among the administrators, teachers and students as follows: 2.1 Inadequate space: Overall building space was inefficiently designed as well as insufficiently provided. More rooms were needed such as lecture rooms for the department of Food and Nutrition, Accounting, Electro Mechanics, Electronics and Electronic Instruments Storage. Usable space of most rooms were less than the standard requirement. These rooms include the general office, the director room, the first-aid room, the counseling room, the central storage, the workshops for the departments of Commercial, Food and Nutrition, Drafting, Electro Mechanics, Electronics, Auto Mechanics, Building Construction and rest rooms in all workshops. 2.2 Due to the fact that the buildings had been designed on a multi-purpose basis, therefore, the noise from the workshops affected classrooms and other rooms as well. The noise level was between 63-75 Decibel (A) which was higher than the standard of 40-60 Decibel (A) level. 2.3 The structure of the building could not protect the building from the direct sun light. Therefore the eastern and western parts of the building were exposed to the sun light all year round, while the southern part was also for 6 months. 2.4 There were not enough windows in some rooms. The ventilation and light were thus inadequate. Parts of the building wall were made of steel louver which could not protect the building from rain storm. Recommendation Problems as mentioned above could be solved as follows: 1. The substandard and spatially inadequate rooms should be enlarged. The building should be thus expanded. 2. Electro mechanics and Electronics workshops should be separated from the classrooms. 3. There should be sound proof rooms in order to protect any noise produced from wood machines and from auto-testing. 4. Improvement should be carried out in such rooms as the first-aid room, the counseling room, the workrooms for Clothing and Textile, Food and Nutrition, the classrooms 115,117, the drafting room, the library and the rest rooms in workshops, which had light and ventilation problems. 5. Overhanging roof and sun shade at the eastern, southern and western parts of the building should be installed. 6. The steel louver panel should be examined and fixed up to prevent the sneaking in of rain.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/31506
ISBN: 9745647187
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Arun_pu_front.pdf6.36 MBAdobe PDFView/Open
Arun_pu_ch1.pdf4.1 MBAdobe PDFView/Open
Arun_pu_ch2.pdf23.75 MBAdobe PDFView/Open
Arun_pu_ch3.pdf34.49 MBAdobe PDFView/Open
Arun_pu_ch4.pdf10.16 MBAdobe PDFView/Open
Arun_pu_back.pdf13.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.