Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32073
Title: บรรณารักษ์ตามบัณฑิตคติของผู้ใช้ห้องสมุด
Other Titles: Image of the Librarian According to Library User
Authors: พุทธชาด ตุ้มทรัพย์
Advisors: อัมพร ทีขะระ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาทัศนคติของผู้ใช้ห้องสมุด 2 กลุ่ม คือ นิสิตนักศึกษาที่เรียนวิชาบรรณารักษศาสตร์เป็นวิชาเอกในระดับปริญญาตรี กับนิสิตนักศึกษาที่เลือกเรียนสาขาวิชาอื่น ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สมมติฐานของเรื่องสร้างขึ้นตามทฤษฎีที่ว่ามีรูปแบบทางปรัชญาวิชาชีพบรรณารักษ์อยู่ 4 ประการ คือ ผู้ดูแลรักษาหนังสือ นักมนุษยชาติ เป็นสื่อกลาง และผู้ส่งเสริม ดังนั้นทัศนคติที่กลุ่มประชากรมีต่อบรรณารักษ์จึงควรจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดทั้ง 4 ประการนี้ ในการวบรวมข้อมูลเพื่อวิจัย ใช้ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือศึกษาทัศนคติของผู้ใช้ ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามจำนวน 477 ฉบับ (93.53%) จากจำนวนแบบสอบถามทั้งหมด 510 ฉบับที่ได้รับคืน มาวิเคราะห์ทางสถิติและนำเสนอในรูปแบบร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สอดคล้องของเคนดาลล์ แบบทดสอบ F-test, t-test และแบบทดสอบผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference, LSD) จากแบบสอบถามตอนที่ 1 สถานภาพส่วนตัวและข้อมูลเบื้องต้นได้ข้อมูลว่านักศึกษาใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย เพื่อการอ่าน และ/หรือศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ ในกลุ่มนักศึกษาภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ได้ผลว่า นักศึกษาที่เลือกเรียนวิชานี้เป็นวิชาเอกเพราะสามารถหางานทำได้ง่าย ส่วนนักศึกษาทั่วไปคิดว่าวิชานี้เป็นวิชาที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เป็นนักอ่านอย่างจริงจัง แบบสอบถามตอนที่ 2 เป็นแบบจัดอันดับความสำคัญเพื่อศึกษาคุณลักษณะของบรรณารักษ์ที่ต้องการและได้ผลว่า คุณลักษณะของผู้ที่มีนิสัยรักหนังสือและรักการอ่านมีผู้เลือกเป็นอันดับสูงสุด สำหรับรูปแบบในด้านทัศนคติต่อบรรณารักษ์ได้ผลการวิจัยว่า นักศึกษาภาควิชาบรรณารักษศาสตร์มีทัศนคติต่อบรรณารักษ์ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง 4 แบบ แตกต่างกับนักศึกษาทั่วไป ในระดับนัยสำคัญที่ .01 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า บรรณารักษ์เป็นผู้ที่นิสิตนักศึกษายอมรับว่ามีบทบาทสำคัญในด้านการศึกษา ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ ๑. บรรณารักษ์ควรพิจารณาปรับปรุงตนเองตามรูปแบบของปรัชญาในวิชาชีพบรรณารักษ์ที่ตรงกับความต้องการของสังคม เช่น เป็นสื่อกลาง ผู้ส่งเสริมเพื่อให้บรรลุอุดมการณ์ของวิชาชีพ ๒. ในการปรับปรุงหลักสูตร โรงเรียนบรรณารักษศาสตร์ควรเพิ่มเติมรายวิชาใหม่ ๆ ที่ทันสมัยให้ทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ควรมีการสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และความคิดเห็นใหม่ ๆ ๓. มหาวิทยาลัยควรอนุมัติเงินสำหรับการศึกษาต่อเนื่องของบรรณารักษ์ เช่น การฝึกงานในต่างประเทศ การเข้าร่วมประชุมทางวิชาการ ในปัจจุบันการอนุญาตให้ไปปฏิบัติราชการเพื่อทำการวิจัยก็เป็นสิ่งจำเป็น ๔. สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยควรอุทิศเวลาอย่างเต็มที่และพยายามส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในห้องสมุด เพื่อที่จะชักจูงให้นักศึกษาสนใจในวิชาชีพ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the image towards the librarian of 2 groups of library users : under graduate Library Science students, and under graduate Library Science students, and undergraduate students in other fields of Chulalongkorn University, Thammasat University, and Chiengmai University. The hypothesis was formulated according to a theory that there were 4 models of the philosophy of librarianship : Custodian, Humanitarian, Mediator and Promoter. Therefore the image of the librarian among the population research should reflect the difference of these models of thought. The data collected for an analysis were documentary research, and a questionnaire attempted to investigate users’ attitude. 477 copies (93.53%) of 510 distributed questionnaires were answered and analyzed statistically by percentage, arithmetic mean, standard deviation, Kendall’s coefficient of concordance, F-test, t-test and LSD (Least Significant Difference) The first part of the questionnaire about users’ personal status revealed that a student spent 4-6 hours per week in the university central library for reading and/or studying for assignments. Among Library Science students, this subject was chosen as major because of the availiability of the job, while students in other fields thought that this subject was suitable for bookish people. The second part was the ranking order to investigate needed characters of a librarian. The character of a person with love of book and reading was chosen at highest rate. For models of thought, the research resulted that the image of the librarian according to undergraduate Library Science students differed from other undergraduate students at .01 level. At it was conclusively proved that the role of the librarian was well recognized among students the researcher suggested that:- 1. Desirable models of philosophy of librarianship as mediator, promoter should be promoted among librarians in order to reach the goal of this profession. 2. In revising their curriculum, library school should increase modern courses to meet the progress of technology. Seminars and workshops should be held for sharing new experiences and ideas 3. The university should provide funds for Librarian’ continuing education: training abroad, attending conference. A sabbatical leave for research is also needed at present. 4. The Thai Library Association should devote much of the time and effort to promote the use of advanced technology in library in order to recruit students’ interest in the profession.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32073
ISBN: 9745631396
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Puthachard_to_front.pdf4.92 MBAdobe PDFView/Open
Puthachard_to_ch1.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open
Puthachard_to_ch2.pdf6.66 MBAdobe PDFView/Open
Puthachard_to_ch3.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open
Puthachard_to_ch4.pdf11.28 MBAdobe PDFView/Open
Puthachard_to_ch5.pdf7.58 MBAdobe PDFView/Open
Puthachard_to_back.pdf8.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.