Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32084
Title: ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านภาคใต้ฝั่งตะวันออกของไทย (นครศรีธรรมราช) พ.ศ.2435-2504
Other Titles: Economic history of the village community in Southeastern Thailand (Nakhon Si Thammarat) 1892-1961
Authors: พูนศักดิ์ ชานิกรประดิษฐ์
Advisors: ฉัตรชัย นาถสุภา
แล ดิลกวิทยรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาชุมชนหมู่บ้านนครศรีธรรมราช ในช่วงก่อน พ.ศ. 2435 ว่ามีโครงสร้างทางเศรษฐกิจและระบบวัฒนธรรมเป็นอย่างไร และในช่วง พ.ศ. 2435-2504 มีเหตุการณ์ใดเข้ามากระทบหมู่บ้านบ้าง และส่งผลกระทบต่อชุมชนหมู่บ้านอย่างไร ในการศึกษาไม่ได้ศึกษาตามแนวทฤษฎีใดอย่างเคร่งครัด หากแต่พยายามมุ่งศึกษาถึงความเป็นชุมชนหมู่บ้านในแง่มุมต่าง ๆ ในบริบทของชุมชนหมู่บ้าน มากกว่าเป็นการศึกษาโดยพิจารณาจากภายนอก โดยเน้นการวิเคราะห์ที่โครงสร้างเศรษฐกิจ ที่ประกอบไปด้วยหลังการผลิตและความสัมพันธ์ทางการผลิต และดำเนินเรื่องผ่านวิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้านโดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เป็นหลัก ผลการศึกษาพบว่า ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและระบบการอยู่ร่วมกันเป็นพื้นฐานที่ส่งผลต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจและระบบทางวัฒนธรรม ในด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ชุมชนหมู่บ้านแห่งนี้มีศักยภาพในการพึ่งตนเองสูง มีเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ชาวบ้านมีระบบการช่วยเหลือ การแบ่งปันกันมากมายหลายรูปแบบ ทั้งในแง่การผลิตและการดำรงชีวิต โดยมีแก่นอยู่ที่เรื่อง “น้ำใจ” และ “ระบบการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ” จึงทำให้ไม่เกิดความขัดแย้งขึ้นจากภายในการพัฒนาไปสู่วิถีการผลิตแบบใหม่ อย่างไรก็ตามไม่ใช่เหตุผลทางเศรษฐกิจเท่านั้น ที่ดูเหมือนเป็นอุปสรรค หากแต่ตัวแปรต่าง ๆ ทั้งสภาพทางภูมิศาสตร์และโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ถูกครอบโดยระบบทางวัฒนธรรม มีส่วนเกี่ยวพันโยงใยกัน ในการยับยั้งวิกฤตและผ่อนแรงกระทบที่เข้ามาจากภายนอก จึงทำให้เสมือนว่าเป็นสังคมที่หยุดนิ่ง โดยที่จริงแล้วเป็นสังคมที่มีความเคลื่อนไหวและก้าวไปอย่างช้า ๆ ภายใต้ระบบความสมดุลและวิถีแห่ง “น้ำใจ”
Other Abstract: The objective of this research is to study economic structure and cultural system of the village community of Nakhon Si Thammarat before 1892 and how it had changed during 1892 and 1961. The study does not follow such theories strictly, but studies the community in many aspects from its own point of view rather than from outside. The study emphasizes economic structure, which is the combination of productive forces and the social relations of production. Geographic factors and the cultural system, and they are explained via the way of life of villagers. The main sources of data is from interviewing. This research found that the fertility of natural resources and the system of living together are the basis of economic structure and cultural system. The village community is highly self-subsistent, with technology which is harmonious to nature. The villagers have the system of helping and sharing with one another on the basis of “Nam Jai” and “ the system of living together with nature” ; therefore, there is no internal conflict which may lead to new mode of production. However, not only economic factors seem to be obstacles but other various factors, such as geological factors and economic structure superimposed by cultural system, also help reducing external attacks. This made the village community seem static while it is dynamic, developing gradually under the system of equilibrium and the way of “Nam jai.”
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32084
ISBN: 9746313886
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phoonsak_ch_front.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
Phoonsak_ch_ch1.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open
Phoonsak_ch_ch2.pdf23.33 MBAdobe PDFView/Open
Phoonsak_ch_ch3.pdf15.53 MBAdobe PDFView/Open
Phoonsak_ch_ch4.pdf15.61 MBAdobe PDFView/Open
Phoonsak_ch_ch5.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Phoonsak_ch_back.pdf5.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.