Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32310
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสำลี ทองธิว-
dc.contributor.authorเรวณี ชัยเชาวรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-06-19T09:46:46Z-
dc.date.available2013-06-19T09:46:46Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32310-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน ตามหลักการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมเน้นความเข้าใจวัฒนธรรมการบริโภคแบบพอเพียงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งประกอบด้วย ความรู้ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน และพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียง การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การสร้างโปรแกรมส่งเสริมความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน ตามหลักการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมเน้นความเข้าใจวัฒนธรรมการบริโภคแบบพอเพียง 3) ดำเนินการทดลองใช้โปรแกรม และ 4) การปรับปรุงโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยยาง ชุมชนชัยพร อ.ไชยวาน จ.อุดรธานี ปีการศึกษา 2551 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) แบบบันทึกพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียง 3) แบบสัมภาษณ์เพื่อประเมินพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียง และ 4) แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t (t-test) ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองโปรแกรมรวม 8 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการเข้าร่วมโปรแกรม นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเฉลี่ย สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.หลังการเข้าร่วมโปรแกรม นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเฉลี่ย สูงกว่าเกณฑ์การประเมินคือ ร้อยละ 60 3.หลังการเข้าร่วมโปรแกรมนักเรียนมีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียงเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.พฤติกรรมการบริโภคแบบพอเพียงของนักเรียนที่ผ่านการเรียนรู้ด้วยโปรแกรม อยู่ในระดับ 3 คือ นักเรียนปฏิบัติตนตามแนวทางการบริโภคแบบพอเพียงได้อย่างเหมาะสมen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the effects of a knowledge enhancement program on sufficiency economy in daily life base on service learning approach emphasizing sufficiency - consuming culture on learning achievement; knowledge of sufficiency economy and consuming behaviors of grade six students. This research involved 4 stages: 1) basic data study; 2) a development of a program to enhancing on sufficiency economy in daily life base on service learning approach emphasizing sufficiency - consuming culture; 3) program trial; and 4) program modification. The Sample group was the 33 students of grade six in Ban Hua Yang school, Chaiwan district, Udonthani province, academic year 2008, using a basic sufficiency economy knowledge test, a recording form on sufficiency consuming behaviors, an interview form concerning consuming behaviors and an observation recording form on consuming behaviors. The data was analyzed through percentages, arithmetic mean, standard deviation and t-test values. The duration during the experimental program was 8 weeks. The results were as follows: 1. The students’ post-test arithmetic mean scores in basic sufficiency economy knowledge were higher than the pre-test arithmetic mean scores at the .05 level of significance. 2. After using the program, the students’ arithmetic mean score in basic sufficiency economy knowledge were higher than the criterion of the program which were 60%. 3. After using the program, the students’ arithmetic mean scores in sufficiency – consuming behaviors were higher than before using program at the .05 level of significance. 4. The students’ sufficiency – consuming behaviors were at the level 3: students behaved according to sufficiency – consuming guidelines appropriately.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.671-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen_US
dc.subjectนักเรียนประถมศึกษาen_US
dc.subjectเศรษฐกิจพอเพียง -- ปรัชญา -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectAcademic achievementen_US
dc.subjectSchool childrenen_US
dc.subjectSufficiency economy -- Philosophy -- Study and teachingen_US
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวัน ตามหลักการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมเน้นความเข้าใจวัฒนธรรมการบริโภคแบบพอเพียงที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6en_US
dc.title.alternativeEffects of a knowledge enhancement program on sufficiency economy in daily life based on service learning approach emphasizing sufficiency-consuming culture on learning acheivement of grade six studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineประถมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSumlee.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.671-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rewanee_ch.pdf3.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.