Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3238
Title: | ประสิทธิภาพของชุดตรวจสอบ Delvotest-PR และ Microbial inhibition disk method ในการตรวจหายาปฏิชีวนะตกค้างในน้ำนมในประเทศไทย : รายงานผลงานวิจัย |
Other Titles: | Efficacy of Delvotest-O and microbial inhibition disk method for detecting antibiotic residues in dairy milk in Thailand |
Authors: | ธงชัย เฉลิมชัยกิจ ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ |
Email: | Thongchai.C@Chula.ac.th Suphachai.N@Chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวแพทยศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์. ภาควิชาจุลชีววิทยา |
Subjects: | น้ำนม ปฏิชีวนะ การปนเปื้อนของจุลินทรีย์ การปนเปื้อนในน้ำนม |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การตรวจสอบหายาปฏิชีวนะตกค้างในน้ำนมพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรซ์ 323 ตัวอย่าง ยูเอชที 330 ตัวอย่าง น้ำนมดิบจากถังนมรวมของเกษตรกร 515 ตัวอย่าง จากโคนมปกติ 200 ตัวอย่าง และจากโคนมที่มีอาการเต้านมอักเสบก่อนให้การรักษา 50 ตัวอย่าง โดยวิธี Microbial inhibition disk method และใช้ชุด ตรวจสอบ Delvotest-P[superscript R] พบว่าอัตราการให้ผลบวกลดลง 42: 1-100% หลังจากการอุ่นตัวอย่างน้ำนมที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส นาน 3 นาที ก่อนทำการตรวจสอบแสดงว่าผลบวกเท็จที่เกิดขึ้นน่าจะมีสาเหตุจากสารยับยั้งการแบ่งตัวของแบคทีเรียตามธรรมชาติในน้ำนม (Natural inhibitors) เช่น Lysozyme และ Lactoferrin เป็นต้น โดยที่สารเหล่านี้ไม่สามารถทนความร้อนได้ ดังนั้น การอุ่นน้ำนมก่อนการตรวจสอบหายาปฏิชีวนะโดยวิธีทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือในการตรวจสอบ อย่างไรก็ดีพบว่าการอุ่นน้ำนมอาจทำให้เกิดผลลบเท็จได้เช่นกัน ซึ่งการศึกษานี้พบว่าอัตราการผลลบเท็จเกิดขึ้น 12.8-13.6 % ในตัวอย่างน้ำนมที่มีอาการเต้านมอักเสบและกำลังรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ปริมาณของ Somatic cell count (SCC) ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับผลการตรวจสอบหายาปฏิชีวนะโดยวิธีทั้งสองดังกล่าวในการศึกษานี้ แต่การอุ่นตัวอย่างน้ำนมที่มี SCC สูงก่อนการตรวจสอบสามารถลดอัตราการเกิดผลบวกเท็จได้เช่นกัน ทั้งนี้ ในการทดสอบประสิทธิภาพความน่าเชื่อถือของการตรวจสอบหายาปฏิชีวนะพบว่าค่า Specificity ของทั้งสองวิธีเท่ากันคือ 92.50 % แต่ Microbial inhibition disk method มีค่า Sensitivity เท่ากับ 98.85 % สูงกว่าของ Delvotest-P[superscript R] ซึ่งเท่ากับ 93.10 % |
Other Abstract: | Microbial inhibition disk method and Delvotest-P[superscript R] were used for detecting antibiotic residues in pasteurized milk 323 samples, U.H.T. milk 330 samples, raw milk from the bulking cans 515 samples, raw milk from healthy cows 200 samples and mastitic milk before treatment 50 samples. The positive test results were decreased 42: 1-100% after heating the samples at 80 degrees Celsius 3 minute prior to be tested. These finding indicated that natural inhibitors in milk (eg.Lysozyme, Lactoferrin, etc.) interfered with the test results and caused numbers of false positive. Since the natural inhibitors are heat-labile substance, heating the milk samples before testing will reduce the incidence of false positive. However, this study found 12.8-13.6% of false negative samples after heat-treatment. The somatic cell count (SCC) had been reported to be associated with false positive test results but this correlation was not found in this study. However, the reducing of false positive after heating of high SCC mastitic milk samples was found in this study. The screening test for antibiolic residues in milk by Microbial inhibition disk method has higher sensitivity (98.85%) than Delvotest-P[superscript R] (93.10%), but both has the same specificity (92.50%) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3238 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Vet - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thongchai_efficacy.pdf | 3.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.