Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32391
Title: ผลของ curcumin ต่อภาวการณ์บาดเจ็บของเส้นประสาทในหนู
Other Titles: Effect of curcumin on nerve injury in rats
Authors: รุ่งฟ้า ธัญธนนุกุล
Advisors: สิทธิพร แอกทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Sithiporn.A@Chula.ac.th
Subjects: ระบบประสาท -- บาดแผลและบาดเจ็บ
ระบบประสาท -- การสร้างใหม่
สารสกัดจากพืช
ขมิ้นชัน
Nervous system -- Regeneration
Nervous system -- Wounds and injuries
Curcumin
Extracts
Curcuma longa
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทนำ ภายหลังเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บจะเกิดการงอกใหม่ได้เองแต่ยังคงจำกัดด้วยการงอกใหม่ที่ใช้เวลานานและการตายของเซลล์ประสาท จึงมีความพยายามพัฒนาวิธีรักษาแต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จในการนำมาใช้ในมนุษย์การทดลองนี้นำ curcumin ซึ่งสกัดได้จากรากขมิ้นชัน Curcuma longa ที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต่อต้านเซลล์มะเร็ง ลดการอักเสบ รวมถึงมีผลดีในการรักษาโรคทางระบบประสาท. วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผล curcumin หลังจากภาวะเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บว่ามีผลดีในการลดการตายของเซลล์ประสาทในปมประสาทไขสันหลังและกระบวนการงอกใหม่ของเส้นประสาทหรือไม่. วิธีดำเนินการวิจัย หนีบเส้นประสาท sciatic ที่ขาข้างซ้ายและฉีด curcumin เข้าช่องท้อง ขนาด 100 300 และ 500 mg/kg/day เป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นประเมินการคืนหน้าที่ของเส้นประสาทสั่งการโดยการวัดจากรอยพิมพ์เท้าและนับจำนวนเซลล์ประสาทในปมประสาทไขสันหลังที่ระดับ L4 ส่วนการศึกษาการงอกใหม่ของเส้นประสาทจะทำการฉีด curcumin เข้าช่องท้อง 300 mg/kg/day เป็นเวลา 10 วัน และวัดระยะการงอกใหม่ของเส้นประสาท. ผลการศึกษา พบว่า curcumin ทั้ง 3 ขนาดช่วยลดการตายของเซลล์ประสาทในปมประสาทไขสันหลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01 ในกลุ่ม 100 และ 300 mg/kg/day; P<0.05 ในกลุ่ม 500 mg/kg/day) ส่วนในการคืนหน้าที่ของเส้นประสาทและการงอกใหม่ของเส้นประสาทที่พบผลดีกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ. สรุปผล ผลการทดลองนี้สนับสนุนคุณประโยชน์ของ curcumin ต่อภาวะเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บ โดยการลดการตายของเซลล์ประสาท แต่อาจไม่ได้ส่งผลชัดเจนต่อการคืนหน้าที่ของเส้นประสาทและการงอกใหม่ของเส้นประสาท
Other Abstract: Introduction: After nerve injury, spontaneous recovery is usually limited by slow axonal regeneration and neuronal cell death. Efforts so far have failed to ameliorate these problems in clinical situation. Curcumin extracted from Curcuma longa has antioxidant,antineoplastic and anti-inflammatory properties. Its benefits in neurological diseases have been shown. Objective: This experiment was conducted to test if curcumin could reduce neuronal cell loss and enhance the nerve regeneration processes after nerve injury. Methods: Left sciatic nerve crush with intraperitoneal injection of curcumin 100, 300 and 500 mg/kg/day for 2 weeks were done to the rats. At the end, the rats were tested for motor recovery using walking track analysis and subsequently sacrificed to remove L4 DRG for neuronal cell count.Another study of nerve regeneration distance at 10 days withintraperitoneal injection of curcumin300mg/kg/dayhas also done. Results: All 3 doses of curcumincould significantly reduce neuronal cell loss. (P<0.01 at 100 and 300 mg/kg/day; P<0.05 at 500 mg/kg/day)However, curcumin did not significantlyenhance the motor recovery andnerve regeneration and distance. Conclusion: These data suggest the beneficial effect of curcumin on nerve injury by decreasing neuronal cell loss but notenhancing the motor recovery andnerve regeneration distance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32391
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1542
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1542
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rungfa_tu.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.