Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32573
Title: Effectiveness of pharmacist home health care for tupe 2 diabetes in Bangkok metropolitan : a community based study
Other Titles: ประสิทธิผลของเภสัชกรเยี่ยมบ้านในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประเภท 2 ในชุมชน เขตกรุงเทพมหานคร
Authors: Sirirat Tunpichart
Advisors: Rungpetch Sakulbumrungsil
Ratana Somrongthong
Duangtip Hongsamoot
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: Rungpetch.C@Chula.ac.th
Ratana.so@chula.ac.th
No information provided
Subjects: Diabetes -- Care
Home care services
Pharmacists
Medication therapy management
เบาหวาน -- ผู้ป่วย -- การดูแล
เภสัชกร
บริการดูแลผู้ป่วยในบ้าน
Issue Date: 2010
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Background: The diabetes was common chronic disease in Thailand with increasing burdens of morbidity and mortality. There were 42.8% of diabetes patients in Bangkok who had been treated but disease conditions were uncontrolled. The diabetes was associated with metabolic risk of co-morbidities and treated with polypharmacy. Consequently, diabetes with the drug related problems (DRPs) frequently occur, leading to problems on disease controlled. The objective of this study was to assess the effectiveness of community pharmacist home health care for diabetic patients in community-based Bangkok Metropolis. The community pharmacists were required to indentify the drug related problems of diabetes by using medication therapy management (MTM) as the service template. Methods: This study was an action research using one group before-and-after. The Thirty-four communities out of 68 Bangkok Metropolitan Health Centers were participating in referring uncontrolled diabetic patients to 3 community pharmacy settings for home health care visits. The study populations were 288 uncontrolled diabetic patients with high prevalence of drug related problems were purposively identified by nurses from primary care units during their regular home health visits and referred to community pharmacists. Three pharmacist home health care interventions using MTM services were planned over the 6-month period. Two additional pharmacist home visits were also conducted for outcome assessment. The average time spent by the pharmacist on each patient was approximately 60 minutes of which 20 minutes were spent on patient and/or caregiver interview and medication review and 40 minutes on intervention, patient medication record, documentation, and referral if needed. Results: The mean (SD) age of 288 patients was 66.0 (9.4) years and 75.3% were female of 288 patients. Hypertension was the main co-morbidity found in 81.7% of patients, and 90% with two or more diseases. They were taking on the average (SD) of 7.1 (3) medications and 89.3% of patients had 4 or more medications. A total of 858 drug related problems or 2.98 problems per patient were identified by registered community pharmacist. Among these, 822 or 95% were non-adherence. The peripheral neuropathy was the major clinical symptoms detected in 134 of patients. Inappropriate eating behavior and lack of exercise were life- style problems. After 3 interventions, non-adherence level was changed to adherent level and partial adherent by 18.2%, 26%, respectively. Fasting blood glucose level > 126 mg/dL was improved in 3.38% of patients, while blood pressure level was improved in 56.1% of patients by changing from hypertension stage II to lower stage. Out of 34 cases referred to physicians, 55% or 19 cases had their medications altered as recommended by community pharmacists. Conclusion: This study concluded that community pharmacist home health care could alleviate patients' medication utilization problems and would thus improve overall quality of patient care. The integrated care among primary care units and community pharmacists would be recommended to extend to other provinces and at a larger scale. Policy: Community pharmacy services have not been a part of universal health coverage. However, Medication Therapy Management (MTM) for chronic conditions provided by pharmacists, cover improve quality of patient medication utilization, and they should be included as a part of benefit package for patients. Integrating community pharmacy services as a part of health benefit scheme would improve patient medication utilization and in turn improving patient outcomes.
Other Abstract: ความเป็นมา: โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในประเทศไทย ซึ่งก่อปัญหาภาวะโรคแทรกซ้อนและอัตราการตายเพิ่มขึ้นทุกปี จากรายงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทยพบว่าผู้ป่วยเบาหวานในกรุงเทพมหานครที่ได้รับการรักษา 42.8%ที่ไม่สามารถควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดได้ (วิชัย เอกพลากร,2552) โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับภาวะเสี่ยงของโรคร่วมซึ่งต้องใช้ยาหลายรายการในการรักษา จึงทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีโอกาสเกิดปัญหาจากการใช้ยาและส่งผลต่อการควบคุมโรค จุดประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อประเมินประสิทธิผลของเภสัชกรชุมชนเยี่ยมบ้านในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานในชุมชน เขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งเภสัชกรชุมชนนำรูปแบบการจัดการด้านยา (Medication Therapy Management: MTM) มาให้บริการเพื่อค้นหาปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวาน วิธีการศึกษา: การวิจัยนี้เป็นวิจัยแบบเชิงปฏิบัติการ (Action research) มีการศึกษาก่อนและหลังการจากการให้บริการเยี่ยมบ้านโดยเภสัชกร ทีมพยาบาลเยี่ยมบ้านของศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร 68 แห่ง เป็นผู้คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมอาการไม่ได้และมีความเสี่ยงที่อาจเกิดปัญหาจากการใช้ยา โดยการส่งรายชื่อและข้อมูลจำนวน 34 ชุมชนให้กับเภสัชกรชุมชนในร้านยา 3 แห่ง เภสัชกรชุมชนให้การดูแลผู้ป่วยโดยใช้รูปแบบการจัดการด้านยา (MTM) เพื่อการเยี่ยมดูแลที่บ้าน จำนวน 3 ครั้ง และ เพื่อติดตามประเมินผล อีก 2 ครั้ง ในระยะเวลา 6 เดือน การเยี่ยมบ้านแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 60 นาทีต่อผู้ป่วย 1 คน โดย 20 นาที ซักถามประวัติข้อมูลจากผู้ป่วยและผู้ดูแลและ 40 นาทีในการจัดทำข้อมูลการใช้ยา ลงบันทึกเอกสาร จัดทำเอกสารเพื่อส่งต่อแพทย์ที่ให้การรักษา และ แก้ปัญหา พร้อมคำอธิบายเรื่องโรค ยา อาหาร ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่าง 288 คน มีอายุเฉลี่ย 66±9.4 ปี เป็นเพศหญิง 75.3% มีโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคร่วม 81.7% และ มีโรคร่วมมากกว่า 2 โรคขึ้นไปถึงร้อยละ 90 มีการรับประทานยาโดยเฉลี่ย 7.1 ± 3 รายการและร้อยละ 89.3 มีรายการยามากกว่า 4 รายการขึ้นไป จากการเยี่ยมโดยเภสัชกรพบปัญหาจากการใช้ยาทั้งหมด 858 ปัญหา คิดเป็น 2.98 ปัญหาต่อผู้ป่วย 1 คน เป็นปัญหาจากไม่ให้ความร่วมมือในด้านยา (non-adherence) 822 ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 95 จากปัญหาทั้งหมด ปัญหาทางด้านคลีนิค 134 คนมีอาการชาปลายมือ ปลายเท้าจากโรคเบาหวาน ผู้ป่วยในชุมชนมีปัญหาจากพฤติกรรม การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย จากการเยี่ยมบ้าน 3 ครั้งโดยเภสัชกรชุมชน พบว่า ปัญหาจากไม่ให้ความร่วมมือในด้านยามีการเปลี่ยนแปลงเป็นร้อยละ 18.2 ในกลุ่มร่วมมือ และ ร้อยละ 26 กลุ่มให้ความร่วมมือบ้าง ผลการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้นร้อยละ 3.38 ในกลุ่มที่มีระดับน้ำตาล มากกว่า 126 มก./ดล. ในขณะที่ระดับความดันโลหิตสูงของกลุ่มความดันโลหิตระดับความรุนแรงขั้นที่ 2 (Stage II ≥160/≥ 100) เปลี่ยนเป็นกลุ่มที่มีระดับความรุนแรงน้อยกว่าร้อยละ 56.1 นอกจากนี้เภสัชกรเยี่ยมบ้านได้ส่งผู้ป่วยกลับแพทย์ผู้รักษาจำนวน 34 คน และ ได้รับการตอบสนองจากแพทย์ ร้อยละ 55 หรือ 19 คน พร้อมได้รับการแก้ปัญหาจากคำเสนอแนะของเภสัชกรเยี่ยมบ้าน สรุป: การศึกษาพบว่า การดูแลผู้ป่วยโดยเภสัชกรชุมชนเยี่ยมบ้านสามารถช่วยลดปัญหาที่อาจจะเกิดจากการใช้ยาพร้อมกับเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วย การประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยบริการปฐมภูมิและเภสัชกรชุมชนย่อมก่อประโยชน์สูงสุด จึงเห็นสมควรการขยายรูปแบบเภสัชกรชุมชนเยี่ยมบ้านทั่วประเทศ นโยบาย: รูปแบบการบริการของเภสัชกรชุมชนยังไม่อยู่ในระบบประกันสุขภาพของประเทศ อย่างไรก็ตามการจัดการด้านยา (MTM) โดยเภสัชกรชุมชนเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มคุณภาพการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังซึ่งควรอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของผู้ป่วย โดยการผสมผสานรูปแบบการบริการของเภสัชกรชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลผู้ป่วยในระบบสาธารณสุข จะช่วยก่อประโยชน์การใช้ยาอย่างเหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ยาในการรักษาโรค
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2010
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Research for Health Development
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32573
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1275
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1275
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sirirat_tu.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.