Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32639
Title: การชักนำให้เกิดภาวะไฮโปไทรอยด์ด้วยยาเมทิมาโซลและความสัมพันธ์ ระหว่างฮอรณ์โมนไทรอกซิน และภาวะการเจริญพันธุ์ในลิงหางยาว (Macaca Fascicularis) เพศเมีย
Other Titles: Induction of hypothyroidism by methimazole and the interrelationships between thyroxine and fertility in female cynomolgus monkeys (Macaca fascicularis)
Authors: ยุพาพร ไชยสีหา
Advisors: พุฒิพงศ์ วรวุฒิ
ประคอง ตังประพฤทธิ์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการคือ ตรวจหาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน T₄, E₂ และ P ในซีรัม และ E₁ -3-G และ Pd-3∝-G ในปัสสาวะในระยะสำคัญของรอบประจำเดือน ทั้งในช่วงหลังประจำเดือน (D₃) ก่อนตกไข่ (D₁₀) และระยะลูเตียล (D₂₃ ) ของลิงหางยาวเพศเมียที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ และติดตามหาผลกระทบระยะยาวที่มีต่อระบบต่อมไร้ท่อที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ และอาการข้างเคียงในลิงที่ชักนำให้อยู่ในภาวะไฮโปไทรอยด์ด้วยยาเมทิมาโซล ผลของการศึกษาพบว่าลิง 7 ตัวมีรอบเดือนเป็นปกติ (26-35วัน) มีระดับของฮอร์โมนในวันD₃,D₁ และ D₂₃ ตามลำดับดังนี้คือ T₄ มีค่า 7.3± 1.4, 5.1±0.7 และ 6.8±1.4 ไมโครกรัม/เดซิลิตร E₂ มีค่า 73.7±32.0, 155.6±44.1 และ 80.4±16.1 พิโคกรัม/มิลลิลิตร และ Pมีค่า 177.5±38.4, 309.7±42.3 และ 2578.2±970.0 พิโคกรัม/มิลลิลิตร ระดับของ E₁ -3-G และ Pd-3∝-g ในปัสสาวะมีการเพิ่มสูงสอดคล้องกับการเพิ่มสูงของ E₂ และ P ในซีรัม แม้ว่าระดับของT₄ทั้งสามระยะของรอบประจำเดือนจะไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p<0.05) แต่ก็มีแนวโน้มว่า T₄จะมีระดับลดลงในช่วงที่มีอีสโตรเจนในซีรัมสูง เมื่อให้ลิงกินยาเมทิมาโซลในปริมาณ 10 มิลลิกรัม/วัน จะมีผลทำให้เกิดภาวะไฮโปไทรอยด์ได้ภายใน 2-14 สัปดาห์ โดยพบระดับ T₄ ลดลงต่ำกว่า 2 ไมโครกรัม/เดซิลิตรอย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่ระดับ T₄ ยังอยู่ในเกณฑ์ปกตินั้นพบว่าลิงที่กินยาจะยังคงมีรอบประจำเดือนเป็นปกติ โดยพบมีการเพิ่มสูงของ E₂ ในซีรัมและ E₁ - 3- G ในปัสสาวะในช่วงท้ายของระยะฟอลลิคูลาร์ และติดตามด้วยการเพิ่มสูงของ P ในซีรัมและ Pd-3∝-G ในปัสสาวะในช่วงครึ่งหลังของรอบประจำเดือน แต่เมื่อระดับ T₄ ในซีรัมลดต่ำลงกว่า 2 ไมโครกรัม/เดซิลิตรแล้ว ลิงทุกตัวจะไม่มีการเพิ่มระดับของอีสโตรเจน โปรเจสเตอโรน และเมตาบอไลต์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของฮอร์โมนเหล่านี้เกิดขึ้นสอดคล้องกับการตรวจพบว่าลิงเริ่มมีอาการ menorrhagia และ/หรือติดตามด้วยอาการ amenorrhea นอกจากนี้ยังพบอาการน้ำนมไหลร่วมด้วยตลอดระยะเวลาที่ศึกษา แม้ว่าในช่วงท้ายของการทดลองจะลดประมาณยาที่ให้ลงเหลือเพียงครึ่งของที่ให้เดิมก็ตาม และพบว่าเมื่อลดปริมาณยาลง ระดับของ T₄และ E₂ ค่อยๆเพิ่มขึ้น แต่ P ยังคงอยู่ในระดับต่ำ การศึกษานี้อาจสรุปได้ว่า ยาประเภทแอนติไทรอยด์ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีผลกระทบระยะยาวต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์และภาวะ การเจริญพันธุ์ของลิงหางยาว และอาการน้ำนมไหลที่เกิดขึ้นหลังจาก ได้รับยา น่าจะเป็นผลมาจากยาออกฤทธิ์ไปกระตุ้นให้ไฮโปทาลามัสหลั่ง TRH ไปกระตุ้นการหลั่งของทั้ง TSH และ PRL จากต่อมใต้สมอง
Other Abstract: This study was aimed to find out whether there are some alterations of serum levels of T₄, E₂ and P and urinary levels of E₁ -3-G and Pd-3∝-G during major stages of menstrual cycle in normal adult female cynomolgus monkeys and whether longterm hypothyroidism induced by an antithyroid drug; methimazole, would have any effect on reproductive endocrinology and associated symptoms. Seven female cynomolgus monkeys which showed regularity of the cycle of 26-35 days were used. RIA determination of thyroid and reproductive steroids during day 3, 10 and 23 of the cycle showed that serum levels of T₄ were 7.3±1.4, 5.1±0.7 and 6.8±1.4Hg/dl; serum E₂ levels were 73.7±32.0, 155.6±44.1 and 80.4±16.1 pg/ml. and serum P levels were 177.5±38.4, 309.7±2.3 and 2578.2±970.0 pg/ml respectively. Urinary levels of E₁ -3-G and Pd-3∝-G were corresponded to endogeneous high levels of E₂ and P in serum during follicular phase and luteal phase respectively. Although there are no significantly different on serum levels of T₄ in all phase of the cycle studied (p<0.05) but T₄ level declined sharply during high endogeneous levels of E₂ in late follicular phase of the cycle. MMI was force fed twice daily. All animals treated with 10 mg/day of MMI showed typical symptoms of hypothyroidism within 2-14 weeks. Those treated with normal range of serum T₄ exhibited normal menstrual cycle and high serum levels of E₂ and P and high levels of urinary metabolites similar to those found in the pretreatment cycles. However when the levels of T₄ was declined to the levels of 1.5-2 Hg/dl, all animals promptly showed cessation of endogeneous E₂ and P productions and showed typical symptoms of menorrhagia, amenorrhea and galactorrhea. When MMI was reduced to the dose of 5 mg/day, serum T₄ and E₂ were slightly increased while serum P was still in low levels. It could be concluded from this study that longterm use of antithyroid drug may have major effect on suppression of both thyroid and ovarian function in cynomolgus monkeys. It is possible that this effect may be exerted via the hypothalamic stimulation of TRH. This hormone may probably stimulate both TSH and PRL from the anterior pituitary gland.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีววิทยาช่องปาก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32639
ISBN: 9745695254
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yupaporn_ch_front.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_ch_ch1.pdf5.27 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_ch_ch2.pdf13.77 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_ch_ch3.pdf6.64 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_ch_ch4.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open
Yupaporn_ch_back.pdf13.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.