Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32692
Title: ผลของอัลลิซินต่อการหดตัวของมดลูกหนูแรท
Other Titles: Effect of allicin on rat uterine contraction
Authors: อันธิกา เพิ่มพิณทอง
Advisors: ราตรี สุดทรวง
สมศักดิ์ บวรสิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: กระเทียมนอกจากใช้เป็นอาหารแล้วยังนำมาใช้เป็นสมุนไพรอีกด้วย ตำรับยาสมุนไพรของไทยได้กล่าวถึงสรรพคุณในการรักษาโรคของกระเทียมไว้หลายอย่าง เช่น แก้โรคผิวหนัง เป็นยาระบาย และเป็นยาขับปัสสาวะ เป็นต้น นอกจากนี้เกี่ยวกับระบบการสืบพันธุ์ ก็พบว่า กระเทียมให้ผลเป็นยาขับระดู ยาบีบมดลูก และยาที่ทำให้เกิดการแท้ง โดยสารที่มีฤทธิ์มากที่สุดในกระเทียม คือ อัลลิซิน ซึ่งสามารถสกัดได้โดยใช้อีเธอร์ อัลกอฮอลล์ หรือน้ำ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีใครทราบกลไกทางสรีรวิทยาของสารสกัด อัลลิซิน การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงกลไกการทำงานของสารสกัด อัลลิซินต่อการหดตัวของมดลูกหนูแรท โดยศึกษาว่ากลไกดังกล่าวผ่านทาง muscarinic receptor, beta receptor, alpha receptor หรือใช้ Ca-channel โดยใช้มดลูกของหนูแรทอายุ 8-10 สัปดาห์ ในระยะ estrus มาศึกษา in vitro ใช้เครื่อง Dynograph บันทึกผลการทดลองทั้งความแรง (amplitude) อัตรา(rate) จังหวะ (rhythm) รูปลักษณ์ (form) ของการหดตัว ผลการทดลองพบว่าสารสกัด อัลลิซิน เพิ่มความแรงของการหดตัวของมดลูกหนูแรท อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.01) โดยการหดตัวจะสูงขึ้นตามปริมาณสารสกัด อัลลิซินที่เพิ่มขึ้น และพบว่า atropine ไม่สามารถยับยั้งฤทธิ์ของสารสกัด อัลลิซินได้ (P< 0.01) จึงเชื่อว่า สารสกัด อัลลิซินไม่ได้ออกฤทธิ์ผ่าน muscarinic receptor ผลการทดลองของสารสกัด อัลลิซินต่อ beta adrenergic receptorของมดลูกหนูแรทโดยใช้ propranolol พบว่า propranollo ไม่สามารถเสริมฤทธิ์หรือเอื้อฤทธิ์ของสารสกัด อัลลิซินได้ (P< 0.01) จึงเชื่อว่าสารสกัด อัลลิซินไม่มีผลต่อ beta adrenergic receptor ในทำนองเดียวกัน phentolamine ก็ไม่สามารถยับยั้งฤทธิ์ของสารสกัด อัลลิซินได้ (P< 0.01) นั่นคือ สารสกัด อัลลิซินไม่มีผลต่อ alrenergic receptor เช่นกัน และพบว่า สารสกัด อัลลิซินสามารถเพิ่มการหดตัวของมดลูกหนูแรทได้หลังจากให้ verapamil แบบ dose dependent (P < 0.025) จึงเชื่อว่าสารสกัด อัลลิซินอาจเหนี่ยวนำให้มีการเปิด calcium channel และ/หรือ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของ calcium ในเซลล์ จากผลการทดลองพอสรุป เป็นแนวทางที่จะนำกระเทียมมาใช้ในทางคลินิก เพื่อช่วยในการคลอด การขับรถ และขับประจำเดือนต่อไป
Other Abstract: Garlic (Allium sativum Linn.) has been used for food plant and medicinal products for years. It was documented in a Thai traditional medicine as a dermatologic agent, laxative drug and diuretics. Besides the application for emmenagogue, it is also claimed for the abortive effect. The most active substance in garlic which may be extracted by ether or alcohol is allicin, a sulfur containing structure. However, a little deal of information for the mechanism of action of allicin (garlic) has been postulated. The purpose of this study is to investigate the mechanism of action of allicin on the contraction of rat uterine, via muscarinic receptor, beta receptor, alpha receptor or Ca-channel. Uterine horn used obtained from estrus phase of the estrous cycle of rat, 8-10 weeks of age. The study was performed in vitro. The contraction was recorded with a Dynograph in terms of amplitude, rate, rhythmicity and form. The results in the present study appears that allicin significantly increases the amplitude of contraction (P < 0.01): the higher dose of allicin the more amplitude of contraction. Furthermore, atropine did not inhibit the action of allicin. (P<0.01). Thus, it suggests that allicin does not function via muscarinic receptor. Testing for beta adrenergic receptor by application of propranolol indicated that propranolol neither enhanced the effect of allicin nor possessed permissive actions (P<0.01). It may be suggested that allicin does not act via the beta receptor. The regimen employed for phentolamine caused no inhibitory effect on allicin action by which indication of no exertion on alpha receptor. The study of applying verapamil, a calcium blocker, allicin overcame the effect of verapamil in a dose-dependent manner (P<0.025). The conclusion has been drawn that allicin may induce an opening of calcium channel and/or activate intracellular calcium mobilization. The present findings provide a hypothetical indication for application of garlic extract in clinical in clinical use on reproductive function in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สรีรวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32692
ISBN: 9745793868
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Antika_pe_front.pdf6.28 MBAdobe PDFView/Open
Antika_pe_ch1.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open
Antika_pe_ch2.pdf4.17 MBAdobe PDFView/Open
Antika_pe_ch3.pdf16.08 MBAdobe PDFView/Open
Antika_pe_ch4.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open
Antika_pe_ch5.pdf589.08 kBAdobe PDFView/Open
Antika_pe_back.pdf8.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.