Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32955
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุขเจริญ ตั้งวงษ์ไชย-
dc.contributor.advisorนิจศรี ชาญณรงค์-
dc.contributor.authorนภาดา สุขกฤต-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2013-07-09T14:35:51Z-
dc.date.available2013-07-09T14:35:51Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/32955-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en_US
dc.description.abstractภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลันซึ่งเป็นระยะที่สำคัญมากในการช่วยชีวิตและลดความพิการของผู้ป่วย มีรายงานว่าดนตรีบำบัดเป็นการรักษาเสริมที่มีประสิทธิภาพแต่ยังไม่มีการวิจัยถึงผลของการฟังเพลงไทย การวิจัยเชิงทดลองนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบถึงผลของการฟังเพลงไทยต่อภาวะวิตกกังวล และซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน ได้ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คน จากผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลันที่พักรักษาตัวอยู่ที่หอผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง ตึกธนาคารกรุงเทพฯ ชั้น 3 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2553 กลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งให้เป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน โดยการสุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยในกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมการฟังเพลงไทยเป็นเวลา 4 วัน ๆ ละ 45 นาที ในขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานของโรงพยาบาลโดยมิได้รับโปรแกรมการฟังเพลงใด ๆ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการเจ็บป่วย แบบวัดภาวะทางอารมณ์ฉบับดัดแปลง modified Visual Analog Mood Scale (mVAMS) แบบประเมินภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าฉบับภาษาไทย Thai Hospital Anxiety and Depression Scale (Thai HADS) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Wilcoxon signed ranks test และ Mann-Whitney test ในการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยนี้พบว่าผู้ป่วยในกลุ่มทดลองมีภาวะวิตกกังวลจากแบบประเมิน mVAMS และ ภาวะ ซึมเศร้าจากแบบประเมิน Thai HADS ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติภายหลังการฟังเพลง แต่อย่างไรก็ตามไม่พบความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของสัญญาณชีพก่อนและหลังการทดลองในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม สรุปว่าการฟังเพลงไทยช่วยลดภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลันได้en_US
dc.description.abstractalternativeAnxiety and depression are common in patients with acute ischemic stroke. Music therapy has been reported as an effectively adjunctive treatment for these patients. The purpose of this experimental study was to examine the effect of Thai popular music listening on anxiety, depression and the vital signs of acute ischemic stroke patients. Twenty-four participants were recruited from acute stroke unit, King Chulalongkorn memorial hospital during March-September, 2010, randomized to be the experimental and the control subjects. Each participant in the experimental group received the four days Thai popular music listening intervention while the control subjects received standard care without music listening. The instruments consisted of the questionnaire assessed for demographic and clinical data, modified Visual Analog Mood Scale (mVAMS) and Thai Hospital Anxiety and Depression Scale (Thai HADS). Descriptive statistic, Wilcoxon signed ranks test and Mann-Whitney test were used for the statistical analysis. It was found that patients in the experimental group had statistically significant less anxiety and depression comparing to control group after listening to music. Anyway there were no statistically significant differences of the vital signs after the intervention in both groups. The results demonstrated that Thai popular music listening can reduce anxiety and depression in patients with acute ischemic stroke.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1317-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหลอดเลือดสมอง -- โรค -- ผู้ป่วยen_US
dc.subjectความวิตกกังวลen_US
dc.subjectความซึมเศร้าen_US
dc.subjectดนตรีบำบัดen_US
dc.subjectCerebrovascular disease -- Patientsen_US
dc.subjectAnxietyen_US
dc.subjectDepressionen_US
dc.subjectMusic therapyen_US
dc.titleผลของการฟังเพลงต่อภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้าในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลันen_US
dc.title.alternativeThe effect of music listening on anxiety and depression in acute ischemic stroke patientsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSookjaroen.T@Chula.ac.th-
dc.email.advisorNijasri.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1317-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nabhada_su.pdf807.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.