Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33004
Title: ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ของวิทยาลัยครู เกี่ยวกับการผลิตบัณฑิต เพื่อเป็นนักสื่อสารพัฒนาการ ในระดับท้องถิ่น
Other Titles: The opinion ofteachers colleges administrators and teachers in communication arts concerning the education of their students to become local development communicators
Authors: พรรณทิพา สินไชย
Advisors: สุรพล วิรุฬห์รักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะทราบและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร และอาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ของวิทยาลัยครู 17 แห่ง เกี่ยวกับการผลิตบัณฑิต เพื่อเป็นนักสื่อสารพัฒนาการในระดับท้องถิ่น พร้อมทั้งหาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอนและแนวโน้มในการผลิตบัณฑิต ตลอดจนปัญหาและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้บริหารและอาจารยืเห็นตรงกันว่า นักสื่อสารพัฒนาการในระดับท้องถิ่น ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นที่ตนปฏิบัติงานอยู่เป็นอย่างดี ส่วนคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญคือ มีความกระตือรือร้น และตั้งใจในการทำงาน ผุ้บริหารและอาจารย์ยังเห็นตรงกันว่า วิชาที่ควรเน้นที่สุดคือวิชาที่เน้นความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ เกี่ยวกับวิธีสอนควรให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกปฏิบัติจริงมากที่สุด ใช้การสอนแบบบรรยายให้น้อยที่สุด สำหรับอุปกรณ์การสอนควรนำสื่อหรือทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น เช่นหนังสือพิมพ์ในท้องถิ่นหรือแม้แต่สื่อบุคคล เช่น ผู้นำท้องถิ่นมาเป็นสื่อในการสอนให้มากที่สุด การประเมินการเรียนการสอนควรใช้การทดสอบภาคปฏิบัติในสถานการณ์จริงมากที่สุด ผู้บริหารและอาจารย์เห็นตรงกันว่าการผลิตบัณฑิตสาขานี้ ควรมุ่งให้สามารถประกอบอาชีพอิสระได้มากที่สุด โดยทั่วไปผู้บริหารและอาจารย์มีความคิดเห็น ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ผุ้บริหารและอาจารย์เสนอความคิดเห็น เพิ่มเติมตรงกันเป็นส่วนใหญ่ว่า ควรเตรียมอาจารย์ที่มีความรู้ตรงสาขาวิชาให้พร้อมและเพียงพอ มีห้องปฏิบัติงานที่ตรงกับเนื้อหาวิชาที่สอนให้เพียงพอเหมาะสม และควรมีหลักสูตรปริญญาตรีที่มีปรัชญาและเนื้อหาของหลักสูตรที่ชัดเจน
Other Abstract: This study was to find out and compare the opinions of teachers colleges administrators and teachers in Communication Arts from 17 teachers colleges concerning the education of their students to become local development communicators. In additions, all data about teaching, trend to educate students were find out ; also problems and recommendations. According to this research, administrators and teachers generally agreed that local development communicators should have skill and under standing in problems and needs of their locality. These commicators should be enthusiastic persons and have strong intention to work in local area, Administrators and teachers saw that the subjects being taught should be highly applicable and practical. The teaching methods should allow students with real practicing and the least teaching method should be lecture. They suggested that employment of local media resources such as local newspapers, teachers forcasted the trend of individual enterprises should be emphasised. There is no significant difference in opinions between administrators and teachers. Moreover, administrators and teachers recommended that there should have enogh teachers with sufficient background subject and well equipped laboratory. Finally, B.A. curriculum should thoroughly prepare with sufficient philosophy and subject content
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33004
ISBN: 9745691313
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pantipa_si_front.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open
Pantipa_si_ch1.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open
Pantipa_si_ch2.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open
Pantipa_si_ch3.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Pantipa_si_ch4.pdf3.15 MBAdobe PDFView/Open
Pantipa_si_ch5.pdf7.8 MBAdobe PDFView/Open
Pantipa_si_back.pdf9.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.