Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33230
Title: ความน่าเชื่อถือของเครือข่ายสังคมทวิตเตอร์และสื่อกระแสหลัก
Other Titles: Credibility of "Twitter" social media and mainstream media
Authors: เมธาวี พีชะพัฒน์
Advisors: กิตติ กันภัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kitti.G@chula.ac.th
Subjects: สื่อมวลชน
เครือข่ายสังคมออนไลน์
สื่อสังคมออนไลน์
ทวิตเตอร์
ความเชื่อถือได้
การวิเคราะห์เนื้อหา
Mass media
Online social networks
Social media
Twitter
Reliability
Content analysis ‪(Communication)‬
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือใน การบอกต่อเรื่องราวทางสังคมในเครือข่ายสังคมทวิตเตอร์ของผู้ใช้ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของความน่าเชื่อถือระหว่างการนำเสนอเรื่องราวทางสังคมในเครือข่ายสังคมทวิตเตอร์กับสื่อกระแสหลัก และเพื่อวิเคราะห์แรงจูงใจในการนำเสนอและบอกต่อเรื่องราวทางสังคมของผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมทวิตเตอร์ ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) ผลการวิจัยพบว่าการนำเสนอและบอกต่อเรื่องราวทางสังคมในเครือข่ายสังคมทวิตเตอร์มีความน่าเชื่อถือต่ำ เนื่องจากผู้ใช้มีการนำเสนอ และบอกต่อข้อมูลข่าวสารด้วยความรวดเร็ว และขาดการกลั่นกรองตรวจสอบความถูกต้องก่อนการนำเสนอและบอกต่อ ความน่าเชื่อถือเกิดจากผู้ใช้มีความไว้วางใจในความเชี่ยวชาญของแหล่งสาร และมีความใกล้ชิดกับแหล่งสาร โดยมีหลักฐานและอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้ขณะนั้นเป็นส่วนประกอบของความน่าเชื่อถือด้วย การนำเสนอเรื่องราวทางสังคมของสื่อกระแสหลักมีความน่าเชื่อถือกว่าเครือข่ายสังคมทวิตเตอร์ เพราะสื่อกระแสหลักมีการกลั่นกรองตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารก่อนการนำเสนอ และแหล่งสารในสื่อกระแสหลักมีจรรยาปฏิบัติมากกว่าแหล่งสารในเครือข่ายสังคมทวิตเตอร์ แต่ผู้ใช้เครือข่ายสังคมทวิตเตอร์มีความเห็นว่า สื่อกระแสหลักและเครือข่ายสังคมทวิตเตอร์มีความน่าเชื่อถือใกล้เคียงกัน เพราะทั้งสื่อกระแสหลักและเครือข่ายสังคมทวิตเตอร์มีการแข่งขันในเรื่องความรวดเร็วในการนำเสนอ ทำให้มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารน้อยลง แรงจูงใจในการนำเสนอและบอกต่อข้อมูลข่าวสารในเครือข่ายสังคมทวิตเตอร์ เกิดจากความต้องการ ได้แก่ ความต้องการความสำเร็จ ความต้องการอำนาจ ความต้องการทำร้ายผู้อื่นหรือตนเอง ความต้องการมีเพื่อน และความต้องการด้านอื่นๆ
Other Abstract: The main objective of this qualitative research is to analysis the credibility of the social talk on “twitter” social media, to compare the difference of credibility between the presentation of social stories on “twitter” social media and the mainstream media and to analyze the user’s motivation of presenting and passing along stories on “Twitter” social media. The methodology of this research includes content analysis and In-depth Interview. What found from the result of this research are the social’s talk presented and passed along in “Twitter” social media has low credibility. This is because the users present and pass along the “news” content rapidly with lack of accuracy checking before the presentation. The credibility comes from how users rely on expertise of the reporter, and users are closed to the source. Evidences and user’s emotion are also components of the credibility. Presentation of social’s stories in mainstream media has more credibility than “Twitter” social media. However, the Twitter’s users have opinion that both mainstream media and Twitter have quite same credibility, as all of them compete on how fast they can deliver the content which lead to less accuracy checking. The motivations of presenting and passing along contents in “Twitter” social media are needs of success, power, aggression, friendship, etc.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33230
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1398
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1398
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
maetavee_pe.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.