Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33305
Title: Efficacy of standardized extract of centella asiatica ECa 233 in the management of minor aphthous ulceration
Other Titles: ประสิทธิศักย์ของสารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ 233 ในการรักษาแผลร้อนในชนิดไม่รุนแรง
Authors: Chalandakorn Reungprasertkit
Advisors: Mayuree Tantisira
Naulchavee Hongprasong
Boonyong Tantisira
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: Mayuree.T@Chula.ac.th
Naulchavee.H@Chula.ac.th
Boonyong.T@Chula.ac.th
Subjects: Plant extracts
Centella asiatica
Mouth -- Ulcers
Stomatitis
Triamcinolone
สารสกัดจากพืช
บัวบก
แผลร้อนใน
ปากอักเสบ
ไทรแอมซิโนโลน
Issue Date: 2009
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: A randomized, single-blind, placebo controlled trial was conduted to evaluate the efficacy of an oral paste containing a standardized extract of centela asiatica on minor aphthous ulcer (MiRAU) in comparison to 10% triamcinolone (TA) oral paste. One hundred and twenty individuals, median age of 21 years, 37 males and 83 females, presented at least on MiRAU with an onset of no longer than 48 hours at entry (day 0) were recruitd by an announement to the public. They were randomy divided into 3 groups of treatment receiving placebo oral paste (control), 0.05% ECa 233 oral paste and 0.10% TA oral paste. Subjects were instructed to apply the medication by themselves 3 times a day for 10 days. In addition they were asked to make a daily recording of ulcer size, degree of pain and occurrence of new ulcer in a given daily booklet. Photograph was taken on day 0 and at the follow-up on day 3 and day 10. Initial mean ulcer size was 8.14 ± 0.75, 7.80 ± 0.66 and 8.74 ± 0.76 sq.mm and initial pain score assessed by a visual analog scale (VAS) was 6.53 ± 0.30, 6.63 ± 0,26 and 6.75 ± 0.29 in cotrol, 0.05% ECa 233 and 0.10% TA treated groups, respectively. Ulcer size in control group increased to its peak value on day 3 then gradually declined with mean time to complete healing of 8.65 ± 0.25 days. In contrast a prompt decrease was noted on day 1 and continued to decrease to reach a statistically significant difference from control on day 3 in both 0.05% ECa 233 or 0.10% TA treated group which accordingly exhibited complete healing in 6.63 ± 0.23 and 6.58 ± 0.25 days. Reduction of pain by 0.05% ECa 233 and 0.10% TA was clearly demonstrated on day 1 and pain score in both groups became significantly different from control group on day 3. In addition, no adverse effect was reported during the course of treatment of 11 days. Base on the results observed, 0.05% ECa 233 seems to be as effective as 0.10% TA in reducing the ulcer size as well as ulcer associated pain in MiRAU. Further study on the prevention of recurrence of MiRAU would strengthen the potential of ECa 233 as an effectve and safe alternative treatment of MiRAU.
Other Abstract: การวิจัยเป็นการศึกษาประสิทธิศักย์ของยาป้ายปากซึ่งประกอบด้วยสารสกัดมาตรฐานบัวบก อีซีเอ 233 ในการรักษาแผลร้อนในชนิดไม่รุนแรง เปรียบเทียบกับยาป้ายปากไตรแอมซิโนโลนความเข้มข้น 0.10% โดยทดลองด้วยวิธีการสุ่มคัดเลือกและมียาหลอกเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มประชากรทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จากการประชาสัมพันธ์และประกาศในที่สาธารณะ อาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวน 120 ราย ส่วนใหญ่อายุ 21 ปี เพศชาย 37 ราย และเพศหญิง 83 ราย ซึ่งเป็นแผลร้อนในมาไม่เกิน 48 ชั่วโมงก่อนเข้าร่วมโครงการ โดยจะได้รับการสุ่มคัดเลือกและแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ได้รับยาหลอก (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ได้รับยาป้ายปากอีซีเอ 233 ความเข้มข้น 0.05% กลุ่มที่ได้รับยาป้ายปากไตรแอมซิโนโลนความเข้มข้น 0.10% ซึ่งอาสาสมัครจะป้ายยา 3 ครั้งต่อวัน เป็นระยะเวลา 10 วัน และอาสาสมัครจะเป็นผู้บันทึกข้อมูลประจำวันคือขนาดแผล ระดับความปวด และแผลใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างเข้าร่วมโครงการลงในสมุดบันทึก โดยวันแรกที่เข้าร่วมโครงการผู้วิจัยจะถ่ายภาพลักษณะแผล จากนั้นนัดตรวจติดตามผลและการลงบันทึกข้อมูลเพื่อประเมินการหายของแผลในวันที่ 3 และ 10 ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยขนาดแผลในวันแรกที่เข้าร่วมโครงการเท่ากับ 8.14 ± 0.75, 7.80 ± 0.66 และ 8.74 ± 0.76 และผลค่าเฉลี่ยระดับความปวดในวันแรกที่เข้าร่วมโครงการซึ่งประเมินด้วย VAS เท่ากับ 6.53 ± 0.30, 6.63 ± 0.26 และ 6.75 ± 0.29 ในกลุ่มที่ได้รับยาหลอก กลุ่มที่ได้รับยาป้ายอีซีเอ 223 ความเข้มข้น 0.05% และกลุ่มที่ได้รับยาป้ายไตรแอมซิโนโลนความเข้มข้น 0.10% ตามลำดับ ขนาดแผลของกลุ่มควบคุมจะเพิ่มขึ้นสูงสุดในวันที่ 3 ก่อนที่จะค่อยๆ ลดลงและหายสนิท ซึ่งมีค่าเฉลี่ยในการหายของแผลเท่ากับ 8.65 ± 0.25 วัน ในทางตรงกันข้ามกลุ่มที่ได้รับ 0.05% ECa 233 และ 0.10% ไตรแอมซิโนโลน พบว่าขนาดแผลลดลงตั้งแต่วันที่ 1 และลดลงอย่างต่อเนื่องจนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 3 เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม โดยมีค่าเฉลี่ยในการหายของแผลเท่ากับ 6.63 ± 0.23 และ 6.58 ± 0.25 วัน ตามลำดับ ผลการลดะดับความปวดพบว่าทั้ง 0.05% ECa 233 และ 0.10% ไตรแอมซิโนโลน สามารถลดความปวดได้อย่างชัดเจนตั้งแต่วันที่ 1 และลดความปวดได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมตั้งแต่วันที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) รวมทั้งไม่พบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาป้ายอีซีเอ 233 ในระหว่างการเข้าร่วมโรงการ 11 วัน จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า อีซีเอ 233 ความเข้มข้น 0.05% ในรูปของยาป้ายปากน่าจะมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับไตรแอมซิโนโลน ในการลดขนาดและความปวดของแผลร้อนในชนิดไม่รุนแรง ซึ่งในอนาคตต้องศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการป้องกันการกลับเป็นโรคซ้ำของ ECa 233 เพื่อเป็นการสนับสนุนถึงความแรงของประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ ECa 233 รักษาผู้ที่เป็นโครแผลร้อนในชนิดไม่รุนแรงต่อไป
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2009
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Pharmacology (Inter-Department)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33305
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1559
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1559
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chalandakorn_re.pdf19.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.