Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33452
Title: การนำเสนอโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน เพื่อพัฒนาความสามารถในการเลี้ยงดูบุตร สำหรับบิดาหรือมารดาที่ต้องเลี้ยงดูบุตรตามลำพัง
Other Titles: A proposed non-formal education programs to develop single parent's ability to raise children
Authors: กษิรา โพธิวรรณ
Advisors: อาชัญญา รัตนอุบล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Archanya.R@Chula.ac.th
Subjects: เด็ก -- การเลี้ยงดู
ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
Child rearing
Single-parent families
Non-formal education
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรสำหรับบิดาหรือมารดาที่ต้องเลี้ยงดูบุตรตามลำพัง จำแนกตามภูมิหลัง 2) เพื่อนำเสนอโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของบิดาหรือมารดาที่ต้องเลี้ยงดูบุตรตามลำพัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย บิดาหรือมารดาที่ต้องเลี้ยงดูบุตรตามลำพังที่เข้าร่วมในโครงการพัฒนาเครือข่ายครอบครัวพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว จำนวน 97 คน กลุ่มแกนนำบิดาหรือมารดาที่ต้องเลี้ยงดูบุตรตามลำพัง จำนวน 5 คน และ เจ้าหน้าที่มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่าความเบ้ (skewness) ค่าความโด่ง (kurtosis) ค่าสถิติที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ผลการวิจัยพบว่า 1. บิดาหรือมารดาที่ต้องเลี้ยงดูบุตรตามลำพังมีความต้องการในด้านเนื้อหาหลักสูตรมากที่สุด และต้องการเรียนรู้เรื่องการพัฒนาความสามารถทางอารมณ์ (E.Q) และคุณธรรม (M.Q) มากที่สุด 2. 2. ผลการเปรียบเทียบความต้องการในการจัดโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05 เมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ อาชีพ ฐานะทางเศรษฐกิจ สาเหตุของการเลี้ยงดูบุตร 3. โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ประกอบด้วย 1) การศึกษาบริบท บริบทภายในคือข้อมูลพื้นฐานขององค์กร บริบทภายนอกคือ สภาพสังคมและการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ 2) การแสวงหาความร่วมมือ ผู้ให้การสนับสนุนในการพัฒนาโปรแกรมคือ มูลนิธิเครือข่ายครอบครัวและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 3) แนวคิดเกี่ยวกับโปรแกรมมาจากการศึกษาความต้องการของสมาชิกทั่วไป แกนนำ และเจ้าหน้าที่ 4) การแยกแยะและจัดลำดับความคิด พิจารณาจากความต้องการของสมาชิกทั่วไป แกนนำ และเจ้าหน้าที่ ตามลำดับ 5) วัตถุประสงค์ของโปรแกรมคือ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเลี้ยงดูบุตรด้วยโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่สอดคล้องกับความต้องการของบิดาหรือมารดาที่ต้องเลี้ยงดูบุตรตามลำพัง 6) การเตรียมการถ่ายโอนการเรียนรู้ จัดการศึกษาโดยให้บุตรได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ 7) การสร้างแผนการประเมินผล ทำการประเมินผลภายหลังเสร็จสิ้นการจัดกิจกรรม โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการคัดเลือกวิธีการประเมินผลร่วมกัน 8) กำหนดรูปแบบเป็นการเรียนเป็นกลุ่ม ปฎิทินการศึกษาขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้นำโปรแกรมการศึกษาไปใช้ 9) การเตรียมงบประมาณและการวางแผนการตลาด แหล่งทุนมาจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 10) การสร้างแผนการเรียนการสอน ควรใช้วิธีการจัดการศึกษาแบบบูรณาการและบรรยายให้ความรู้ ในหัวข้อที่เกี่ยวกับการพัฒนาความสามารถทางอารมณ์และคุณธรรม จิตวิทยาพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น 11) การประสานงานในการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก ในการปฏิบัติโปรแกรมภาคสนาม ควรจัดกิจกรรมในสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานคร ในวันเสาร์หรืออาทิตย์ นอกเวลาราชการ 12) การประชาสัมพันธ์ผลการจัดโปรแกรมแก่สมาชิกในโครงการควรกระจายข่าวสารผ่านทางวารสารมูลนิธิที่จัดส่งทางไปรษณีย์ 4. ผลการนำเสนอโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนแก่ผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า องค์ประกอบโดยรวมทั้งหมดมีความเหมาะสม และมีข้อเสนอแนะในการนำโปรแกรมการศึกษาที่นำเสนอไปใช้จริงให้รายละเอียดในแต่ละองค์ประกอบเพิ่มเติมตามความเหมาะสมของแต่ละสถานการณ์ และควรแสวงหาผู้สนับสนุนการจัดโปรแกรมเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่มีอยู่
Other Abstract: The purposes of the study were to 1) study and compare the demand of non-formal education setting to develop single parents’ ability to raise children classified by their background, 2) present non-formal education program corresponded with their needs. The samples consisted of 97 single parents who participated in the family network of single parents developing project, 5 single parents were the leader of the project and 3 officers of the family network foundation. The research instruments were the questionnaires and the interview question forms. The data were analyzed using the percentage, mean ( ), Standard Deviation (SD), skewness, kurtosis, t-test and one-way analysis of variance. The results were as follows: 1. The single parents highly reported that they need to learn more about the curriculum content, Emotional Quotient (E.Q.) and Moral Quotient (M.Q.). 2. The comparison of the single parents need in the non-formal education program was significantly difference at .05 level classified by their background 3. The non-formal education program to develop single parents’ ability to raise children consisted of 1) discerning the contexts: the internal contexts were data of the organization background and the external contexts were the social issues and the government support, 2) building a solid base of support: the supporters were family network foundations and other related organizations, 3) identifying program ideas: the ideas were gathered from the needs of general members, leaders and officers, 4) sorting and prioritizing program idea: this step considered the samples’ needs, 5) developing program objectives: this program objective was to develop the single parents’ ability to raise children using non-formal education program corresponded with their needs, 6) devising transfer-of-learning plans: allowed children to participate in the activities, 7) formulating evaluation plans: an evaluation method was done at the end of the activities using collaborative process, 8) selecting format for the group learning: the program leader made the program schedule, 9) preparing budgets and marketing plans: Thaihealth Promotion Foundation provided the budgets, 10) designing instructional plans: the integration methods and the lecture should be applied for studying the E.Q. and M.Q. development and the children psychology development, 11) coordinating facilities and on-site events: the activities should be organized in the Bangkok transport central area on Saturday or Sunday, out of office hours, 12) making recommendations and communicating result: the results of the program should be announced to the public through the foundations newsletter by mailing. 4. The experts indicated that the program components were suitable for the target group. Besides, to implement the program, the user should add more details in each steps of the program development and seek more supporters in organizing the program from what the organization already had.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33452
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.629
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.629
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kasira_po.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.