Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33515
Title: | กระบวนการรณรงค์ทางการสื่อสารเพื่อสังคม "โครงการถนนสีขาว" |
Other Titles: | Process of social communication campaign : A look at "White road project" |
Authors: | ชาญชัย เจริญลาภดิลก |
Advisors: | กาญจนา แก้วเทพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้ต้องการที่จะวิเคราะห์เป้าประสงค์ของโครงการ “ถนนสีขาว” ในด้านการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร และด้านคืนกำไรตอบแทนสังคม ตลอดจนประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการรณรงค์ดังกล่าว ตามขั้นตอนคือ การประเมินถึงความต้องการ เป้าประสงค์ ความสามารถในการตอบสนองของผู้รับสารเป้าหมาย, การวางแผนงานรณรงค์ การผลิตสื่ออย่างมีระบบ, การประเมินผลอย่างต่อเนื่อง, บทบาทเสริมของสื่อมวลชน การสื่อสาระหว่างบุคคล และการเลือกสรรสื่อที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการวิเคราะห์เป้าประสงค์ของกระบวนการรณรงค์ทางการสื่อสารโดยใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับลำดับชั้นของผลกระทบทางการสื่อสาร ตลอดจนประเมินกลยุทธ์การใช้รูปแบบการกระตุ้น และ “เนื้อหาสาร” ที่ใช้ในการรณรงค์ ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินกิจกรรมทั้งหมดของโครงการ “ถนนสีขาว” มีเป้าประสงค์เพื่อคืนกำไรตอบแทนสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นโครงการที่สร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กรผู้จัดทำคือบริษัทโตโยต้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย และสำหรับในด้านประสิทธิภาพของกระบวนการรณรงค์พบว่าโครงการนี้มีการวางแผนงานการรณรงค์ การผลิตสื่ออย่างมีระบบ มีการใช้บทบาทเสริมของสื่อมวลชน และการสื่อสารระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี รวมทั้งมีการเลือกสรรสื่อที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย หากทว่ายังขาดการประเมินถึงความต้องการ และเป้าประสงค์ รวมทั้งความสามารถในการตอบสนองของผู้รับสารเป้าหมาย โดยที่มีการประเมินผลโครงการเพียงครั้งสองครั้งเท่านั้น สำหรับในส่วนของการวิเคราะห์เป้าประสงค์ของกระบวนการรณรงค์ทางการสื่อสารพบว่าโครงการ “ถนนสีขาว” เป็นการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบของการกระตุ้น และโน้มน้าวให้เกิดการเปลี่ยนทัศนคติของผู้รับสารเป็นอันดับแรก รองลงมาคือกิจกรรมการให้ข้อมูล ความรู้ เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในที่สุด ทั้งนี้โดยอาศัยกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่สำคัญในหลายด้านคือ รูปแบบการกระตุ้น ซึ่งมีทั้งการสร้างเนื้อหาเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความกลัว, ให้เหตุผล ตลอดจนใช้กลุ่มอ้างอิงในการจูงใจกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการใช้กลยุทธ์การกระตุ้นให้เกิดความกลัวต่อผู้รับสารเป้าหมายเป็นส่วนใหญ่ |
Other Abstract: | The purposes of the thesis are “White Road” campaign’s goals analysis in the side of corporate image creation, social contribution and the assessment of the campaign process efficiency regrading the following aspects; needs, goals assessment, the ability of target audiences respondsiveness, campaign planning, systematic media production, continuously evaluation, reinforced role of mass media, interpersonal communication, media selection to be appropriate target group and goals analysis of communication campaign process by using conceptual framework of hierarchy of effects including to assess type of appeal and the message contents used in the campaign. The results show that overall activities implementation belonging to “White Road” campaign project concentrate in social contribution which create corporate image through Toyota Motor Thailand besides. Concerning in campaign process efficiency perceive that “White Road” project has systematic campaign planning and communicated instrument, having reinforced role of mass media and satisfactory interpersonal communication usages, comprise media selection to fit to target group. However it still lacked a good preaccessment of needs, goals as well as audience responses as campaign evaluation was proceeded only once or twice during the entire campaign period. In connection with the content analysis concerning the goals of communication campaign, it could be concluded that the campaign activities were mainly of appeal and persuasion approaches aiming at attitude change among the target andience whereas relevant informative activities were supplementariry used to create the behavior changes. Wide variety of strategies were used in the campaign. For example, type of appeals consisting mostly warning messages to stimulate public concern regarding fearfulness, reasonableness as well as the use of reference group aiming to appeal and persuade the target audience. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/33515 |
ISBN: | 9746340646 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chanchai_ch_front.pdf | 717.54 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanchai_ch_ch1.pdf | 1.29 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanchai_ch_ch2.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanchai_ch_ch3.pdf | 561.84 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanchai_ch_ch4.pdf | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanchai_ch_ch5.pdf | 2.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanchai_ch_ch6.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chanchai_ch_back.pdf | 3.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.