Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3387
Title: ฤทธิ์ของกรดซินนามิกและอนุพันธ์ในการลดระดับกลูโคสการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินและ การยับยั้งเอนไซม์แอลฟ่า-กลูโคซิเดส
Other Titles: Effect of cinnamic acid and derivatives on hypoglycemic activity, stimulation of insulin secretion and alpha-glucosidase inhibition
Authors: ปรีชา มูลสาร, 2515-
Advisors: ศิริทร หยิบโชคอนันต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Subjects: กรดซินนามิก
กลูโคส
อินซูลิน
เอนไซม์แอลฟ่า-กลูโคซิเดส
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของกรดซินนามิก (CIN) และอนุพันธ์ 6 ชนิด ได้แก่ กรดออร์โท-, เมทา-, พารา-ไฮดรอกซีซินนามิก และกรดออร์โท-, เมทา-, พารา- เมททอกซีซินนามิก ต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือด การกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนในภาวะปกติและภาวะน้ำตาลสูง และการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟ่า-กลูโคซิเดสจากลำไส้หนูขาว การทดลองนี้ใช้หนูขาวสายพันธุ์ Sprague-Dawley น้ำหนัก 300-350 กรัม แบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว โดยกลุ่มที่ 1 ได้รับน้ำเกลือเข้าทางหลอดเลือดดำ กลุ่มที่ 2-8 ได้รับกรดซินนามิกและอนุพันธ์ (5 ก./กก.) ตามลำดับ หลังจากให้สารทดสอบ 30 นาที จึงฉีดสารละลายกลูโคสขนาด 0.25 ก./กก. เข้าทางหลอดเลือดดำ และเก็บตัวอย่างพลาสม่าจากหลอดเลือดดำฟีเมอรอล ณ นาทีที่ 0, 5, 10, 30, 60, 90 และ 120 เพื่อนำมาตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคสด้วยวิธี glucose oxidase test จากนั้นนำสารที่มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดมาศึกษาฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลินในภาวะน้ำตาลปกติ (5.5 mM) และภาวะน้ำตาลสูง (10 mM) ด้วยเทคนิค In situ pancreatic perfusion และฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟ่า-กลูโคซิเดส จากผลการทดลองพบว่า CIN, กรดออร์โท-ไฮดรอกซีซินนามิก (o-HCA) และกรดพารา-เมททอกซีซินนามิก (p-MCA) สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ โดย CIN และ o-HCA ลดระดับน้ำตาลได้ ณ นาทีที่ 10 ส่วน p-MCA ได้ในนาทีที่ 5, 10 และ 90 หลังจากฉีดน้ำตาลกลูโคสเข้าหลอดเลือดดำ นอกจากนี้ CIN และ p-MCA สามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินได้สูงสุดในภาวะน้ำตาลปกติและภาวะน้ำตาลสูงเป็น 1.98, 3.41 เท่า และ 1.6, 2.41 เท่า ตามลำดับเมื่อเทียบกับ 0.2%DMSO อย่างไรก็ตาม o-HCA ไม่มีผลกระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน แต่สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ซูเครส และมอลเตสได้ โดยมีค่า IC[subscript 50]ต่ำกว่าอะคาร์โบส 20.06 และ 775 เท่า ตามลำดับ สรุปได้ว่า CINและอนุพันธ์สองชนิด คือ p-MCA และ o-HCA สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้โดยผ่านทางกลไกที่แตกต่างกัน คือ CIN และ p-MCA กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน ในขณะที่ o-HCA ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟ่า-กลูโคซิเดส
Other Abstract: The purposes of this study were to investigate the effects of cinnamic acid and derivatives including, ortho-, meta-, para-hydroxycinnamic acid and ortho-, meta-, para-methoxycinnamic acid, in antihyperglycemic activity, stimulation of insulin secretion from pancrease in both normal and high glucose conditions and alpha-glucosidase inhibition from rat intestine. Male Sprague-Dawley rat weighting 300-350 g were divided into 8 groups. Each group contained 6 rats. Group 1 received vehicle (iv). Group 2-8 received cinnamic acid and its derivatives (5 mg/kg; iv), respectively. The intravenous glucose tolerance test (0.25 g/kg) was performed 30 min after receiving the treatments. Blood plasma samples were collected from femoral vein to determine glucose concentration by glucose oxidase test at 0, 5, 10, 30, 60, 90 and 120 min. In addition, we investigated the effects of cinnamic acid and its derivatives, that exerted In vivo antihyperglycemic actvity, on insulin secretion from perfused rat pancrease in the presence of both normal (5.5 mM glucose) and high glucose (10 mM glucose) conditions as well as alpha-glucosidase inhibition. The results showed that CIN and o-HCA significantly reduced plasma glucose concentrations at 10 min and p-MCA at 5, 10 and 90 min after intravenous glucose injection. In normal and high glucose conditions, CIN and p-MCA stimulated insulin secretions by 1.98, 3.41 and 1.6, 2.41 folds, respectively, when compared with those of 0.2%DMSO. o-HCA failed to stimulate insulin secretion from rat pancrease. However, it inhibited sucrase and maltase activities with IC[subscript 50] lower than acarbose by 20.06 and 775 folds, respectively. In conclusion, CIN and its derivatives, o-HCA and p-MCA, exerted antihyperglycemic activities via different mechanisms. Both CIN and p-MCA decreased plasma glucose concentrations by stimulating insulin secretion from rat pancreas whereas o-HCA inhibited alpha-glucosidase activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3387
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1262
ISBN: 9745329398
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.1262
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
preecha.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.