Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34183
Title: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ กับตัวแปรทางการเงินของกลุ่มประเทศในเอเซีย
Other Titles: A study on the relationships between stock returns and monetary variables in Asian countries
Authors: นิศากร พัฒนศิษฎางกูร
Advisors: ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา
วัฒนพร พี่งบุญ ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เงินเฟ้อ
ปริมาณเงิน
อัตราดอกเบี้ย
อัตราผลตอบแทน
หลักทรัพย์
การลงทุน
การวิเคราะห์การถดถอย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นั้น สิ่งที่ผู้ลงทุนต้องการ คือ ผลตอบแทนจากการลงทุน (Stock returns) แต่ผลตอบแทนของหลักทรัพย์จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลายประการ ตัวแปรทางการเงินที่สำคัญ ได้แก่ เงินเฟ้อ (Inflation) อัตราดอกเบี้ย (Interest rate) และปริมาณเงิน (Money supply) ปัจจัยเหล่านี้อาจจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของผลตอบแทนของหลักทรัพย์ จากแนวทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า ผลตอบแทนของหลักทรัพย์จะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับ เงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ย แต่จะมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับปริมาณเงิน แต่จกผลของศึกษาค้นคว้า (Empirical studies) ของนักวิชาการทางการเงิน พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนของหลักทรัพย์กับตัวแปรทางการเงินของประเทศส่วนใหญ่ มีทิศทางของความสัมพันธ์ไม่สอดคล้องกับแนวทฤษฎี ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้เขียนได้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างผลตอแทนของหลักทรัพย์ กับตัวแปรทางการเงิน 3 ตัว คือ เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และปริมาณเงิน เพื่อทดสอบทิศทางของความสัมพันธ์ว่าสอดคล้องกับแนวทฤษฎีหรือไม่ โดยทำการศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าวในกลุ่มประเทศเอเชีย 7 ประเทศ ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (Newly developed countries) ได้แก่ ประเทศ ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน กลุ่มที่สองคือ กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Developing countries) ได้แก่ ประเทศ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย ข้อมูลที่นำมาศึกษาเริ่มตั้งแต่เดือน มกราคม 2520 ถึงประมาณเดือน สิงหาคม 2528 รวม 9 ปี ยกเว้นประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวัน ซึ่งข้อมูลครอบคลุม ประมาณ 5 ปี เนื่องจากข้อจำกัดของข้อมูล ในการทดสอบทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนของหลักทรัพย์กับตัวแปรทางการเงินแต่ละตัวได้ใช้รูปแบบของสมการถดถอย (Regression equation) ทดสอบความสัมพันธ์ว่ามีนัยสำคัญหรือไม่ นอกจากนี้ยังพิสูจน์ข้อสมมติฐานที่ว่า ระดับการพัฒนาของประเทศที่แตกต่างกันของ 2 กลุ่มประเทศในเอเชีย ส่งผลให้ระดับความสัมพันธ์ดังกล่าวแตกต่างกัน จากการศึกษาสามารถสรุปผลความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนของหลักทรัพย์กับตัวแปรทางการเงินทั้ง 3 ได้ดังนี้ 1. ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนของหลักทรัพย์กับเงินเฟ้อของ 7 ประเทศในเอเชียมี 5 ประเทศ ที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้าม โดยมีเพียง ฮ่องกง ประเทศเดียวที่ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ส่วน 2 ประเทศที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันมีเพียง มาเลเซีย ประเทศเดียวที่ความสัมพันธ์มีนัยสำคัญ จึงสรุปได้ว่าผลการศึกษาส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนของหลักทรัพย์กับเงินเฟ้อจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนของหลักทรัพย์กับอัตราดอกเบี้ยของ 7 ประเทศ ในเอเชีย มี 5 ประเทศที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้ามกัน โดยมี ฮ่องกง และฟิลิปปินส์เพียง 2 ประเทศ ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ส่วน 2 ประเทศ ที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันมีเกาหลีใต้ประเทศเดียวที่มีความสัมพันธ์มีนัยสำคัญ จึงสรุปได้ว่า ผลการศึกษาส่วนใหญ่ ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนของหลักทรัพย์กับอัตราดอกเบี้ยจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 3. ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนของหลักทรัพย์กับปริมาณเงินของ 7 ประเทศในเอเชีย มี 5 ประเทศที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยมี 3 ประเทศ คือ ฮ่องกง สิงคโปร์ และมาเลเซีย ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ ส่วน 2 ประเทศมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางตรงกันข้าม มีเพียงประเทศ เกาหลีใต้ ที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ จึงสรุปได้ว่า ผลการศึกษาส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับทฤษฎีทีว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนของหลักทรัพย์กับปริมาณเงินจะเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม จากผลการศึกษา สรุปได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างผลตอบแทนของหลักทรัพย์กับตัวแปรทางการเงินทั้ง 3 คือ เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และปริมาณเงิน ของประเทศโดยส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับทฤษฎี ซึ่งความไม่สอดคล้องนี้อาจจะเป็นผลมาจากปัจจัยอื่น ที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนของหลักทรัพย์มากกว่า และในแต่ละประเทศก็จะแตกต่างกัน ซึ่งอาจจะทำการศึกษาในรายละเอียดของแต่ละประเทศต่อไป ส่วนในการเปรียบเทียบผลกระทบของตัวแปรทางการเงินดังกล่าวต่อผลตอบแทนของหลักทรัพย์ ระหว่าง 2 กลุ่มประเทศในเอเชีย ซึ่งแบ่งตามระดับการพัฒนาของประเทศนั้น ก็ไม่สามารถสรุปได้ว่า ตัวแปรทางการเงินมีผลกระทบต่อผลตอบแทนของหลักทรัพย์ของ 2 กลุ่มประเทศในเอเชียนี้ไม่เท่ากัน เนื่องจากผลกระทบดังกล่าวในแต่ละประเทศจะแตกต่างกันตามลักษณะเฉพาะของประเทศนั้นๆ และไม่สามารถจัดกลุ่มได้ตามระดับการพัฒนาของประเทศ
Other Abstract: Stock investors put their money in the stock market and expect to get returns from their investments. Stock returns, however, are affected by a number of factors, especially monetary variables such as inflation, interest rates, and money supply. Theoretically, stock returns are positively related to inflation and interest rates but negatively related to money supply. Many studies in the finance literature indicated that the relationships between stock returns and monetary variables in most countries are inconsistent with the theories. The purpose of this thesis is to study the relationships between stock returns and three monetary variables : inflation, interest rates, and money supply. The empirical analyses are conducted using data from seven countries in Asia which are divided into two groups. The first group are newly developed countries which include Hong Kong, Singapore, South Korea, and Taiwan. The second group are developing countries which include the Philippines, Malaysia, and Thailand. The monthly data used in the study cover a period of eight months and eight years from January 1977 to August 1985, However, because of the limitation of the data, the covered period for South Korea and Taiwan is only five years. Regression technique is utilized to evaluate the relationships between stock returns and the three monetary variables and the assumption that different levels of development cause different relationships. The evidences in this study indicate that : 1. Relationships between stock returns and inflation are found to be negative in five out of the seven countries with a significant relationship in Hong Kong. The relationship in Malaysia is found to be significantly positive. The result is not consistent with the theory. 2. Relationships between stock returns and interest rates are found to be negative in five out of the seven countries with significant relationships in Hong Kong and Philippines. The relataionship in Korea is significantly positive. The result is not consistent with the theory. 3. Relationships between stock returns and money supply are found to be positive in five out of the seven countries with significant relationships in Singapore and Malaysia. The relationship in Korea is significantly negative. The result is not consistent with the theory. Therefore, the study indicates that the relationships between stock returns and the three monetary variables are not consistent with the theories. One possible explanation could be the exclusion of some other variables which affect stock returns. The assumption that different levels of development causes different relationships between stock returns and monetary variables is inconclusive because of the inconsistence in the relationships among the countries tested.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34183
ISBN: 9745673099
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nisakorn_pa_front.pdf7.42 MBAdobe PDFView/Open
Nisakorn_pa_ch1.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open
Nisakorn_pa_ch2.pdf7.1 MBAdobe PDFView/Open
Nisakorn_pa_ch3.pdf5.74 MBAdobe PDFView/Open
Nisakorn_pa_ch4.pdf31.7 MBAdobe PDFView/Open
Nisakorn_pa_ch5.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open
Nisakorn_pa_back.pdf10.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.