Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34381
Title: การศึกษาระดับการพัฒนาของชุมชนเมืองในประเทศไทย
Other Titles: The study of the development level of urban communitities in Thailand
Authors: บุษนี แพร่วิศวกิจ
Advisors: ดารณี ถวิลพิพัมน์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เมือง -- ไทย
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
การพัฒนาชุมชนเมือง -- ไทย
เทศบาล
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษาระดับการพัฒนาของชุมชนเมืองนี้ได้ทำในระดับเทศบาลจำนวน 45 แห่ง โดยนำแนวความคิดเกี่ยวกับระบบสังคมซึ่งเน้นการแยกย่อย (Differentiation) และการผสมผสาน (Integration) ว่าเป็นกระบวนการที่ทำให้ชุมชนเมืองเปลี่ยนสภาพจากสภาวะเรียบง่ายเข้าสู่สภาวะซับซ้อนและมีความสามารถปรับตัวในสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น มาใช้ในการศึกษา โดยเมืองที่มีการแยกย่อยและการผสมผสานหรือความซับซ้อนในระดับสูงย่อมสะท้อนให้เห็นถึงระดับการพัฒนาที่สูงกว่าชุมชนเมืองที่มีความซับซ้อนในระดับต่ำกว่า การแยกย่อยหมายถึงความหลากหลายของหน้าที่และความเชี่ยวชาญในด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนแสดงให้เห็นได้จากสถาบันและกิจกรรมต่างๆ ในด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนเมือง การผสมผสานถึงแรงทางสังคมที่เชื่อมโยงทุกๆ ส่วนของชุมชนตลอดจนสมาชิกเข้าด้วยกัน แสดงให้เห็นได้จากองค์กรหรือสมาคมที่สมาชิกในสังคมร่วมกันจัดตั้งขึ้น ในการศึกษาระดับการพัฒนาของชุมชนเมืองได้ใช้เทคนิค Multidimensional Scaling การศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมของชุมชนเมืองซึ่งอยู่ในรูปของการแยกย่อยด้านเศรษฐกิจและสังคมและการผสมผสานทางสังคมอย่างเป็นทางการ อาศัยเทคนิค Guttman Scale และ Cross-Sectional Study ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้คือ 1) ชุมชนเมืองที่ทำการศึกษามีระดับการพัฒนาแตกต่างกัน สามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มเมืองที่มีระดับการพัฒนาระดับสูงมาก ได้แก่ เชียงใหม่ กลุ่มเมืองที่มีระดับการพัฒนาสูงได้แก่ นครราชสีมา อุดรธานี นครสวรรค์ ชลบุรี พิษณุโลก และอุบลราชธานี กลุ่มเมืองที่มีระดับการพัฒนาปานกลาง ได้แก่ ภูเก็ต ลำปาง สุราษฎร์ธานี ราชบุรี นครปฐม นครศรีธรรมราช ลพบุรี สงขลา ตรัง จันทบุรี ยะลา กาญจนบุรี สุรินทร์ เพชรบุรี บุรีรัมย์ เชียงราย บ้านโป่ง และอยุธยา กลุ่มเมืองที่มีระดับการพัฒนาต่ำได้แก่ ศรีสะเกษ สมุทรสาคร ปัตตานี ชุมพร น่าน ตราด สวรรคโลก ยโสธร นราธิวาส เพชรบูรณ์ ศรีราชา ชัยภูมิ หนองคาย สมุทรสงคราม ระนอง ปากพนัง หล่มสัก วารินชำราบ ตะพานหิน และพนัสนิคม 2) รูปแบบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมของชุมชนเมืองไทยที่ศึกษา มีการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนไปสู่รูปแบบที่ซับซ้อนขึ้น กล่าวคือ ชุมชนเมืองมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไปในลักษณะที่ค่อยๆ เพิ่มความหลากหลายของรูปแบบกิจกรรมที่แสดงถึงหน้าที่และความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะการพัฒนา
Other Abstract: The study of the development level of urban communities is done at the municipal level in 45 areas, employing social system concept with a focus on differentiation and integration as the processes that change an urban community from states of simplicity to a more complexity and adaptability. Higher level of differentiation and integration or higher complexity implies higher development level of the urban community, and vice versa. Differentiation can be referred to as the diversification of functions and specializations in the community’s economic and social spheres, expressed in the form of institutions and activities in the community. Integration is seen as the social force that combines every parts of the community, including its members, together, and can be noticed by the organization or association, set up by community members. Multidimensional Sealing technique is used in the study of the development potential of urban communities, whereas Cross-Sectional study and Guttman Scale technique are used in the study of social structural changes in urban communities in terms of economic and social differentiation and formal social integration. The results of the study could be summarized as follow : 1) urban communities under study have different levels of development which may be classified in 4 groups: the very high development level group consisted of Chiang Mai alone; the high development level group comprised of Nakornratchasima, Udonthani, Nakhonsawan, Chonburi, Phisanulok, Ubonratchathani; the moderate development level group comprised of Phuket, Lampang Suratthani, Ratburi, Nakhonpathom, Nakhonsithamarat, Lopburi Songklla, Trang, Chantaburi, Yala, Kanjanaburi, Surin, Phetburi Buriram, Chiangrai, Banpong, Ayutthaya; and the low development level group comprised of Si saket, SAmutsakhon, Pattani Chumporn, Nan, Trat, Sawankalok, Yasothon, Narathiwad, Phetchabun, Siracha, Chaiyaphum, Nongkai, Samutsongkhram, Ranong, Pab panang, Lomsak, Varinchamrab, Taphanhin Panasnikhom. 2) the patterns of social structure of the urban communities under study have changed from simple to complex forms which show gradual increase in the diversification of activities implying different functions and specializations along the path of development.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34381
ISBN: 9745684384
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Busanee_pr_front.pdf7.55 MBAdobe PDFView/Open
Busanee_pr_ch1.pdf5.28 MBAdobe PDFView/Open
Busanee_pr_ch2.pdf14.74 MBAdobe PDFView/Open
Busanee_pr_ch3.pdf16.04 MBAdobe PDFView/Open
Busanee_pr_ch4.pdf12.2 MBAdobe PDFView/Open
Busanee_pr_ch5.pdf25.17 MBAdobe PDFView/Open
Busanee_pr_ch6.pdf9.29 MBAdobe PDFView/Open
Busanee_pr_back.pdf40.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.