Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34983
Title: การใช้เครื่องหมายการค้ากับสิทธิที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
Other Titles: Use of Trademarks in Relation to Relevant Rights
Authors: อดุล ทินะพงศ์
Advisors: ธัชชัย ศุภผลศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการศึกษาว่ากฎหมายไทยให้ความคุ้มครองและยอมรับต่อการก่อตั้งสิทธิและรักษาสิทธิในเครื่องหมายการค้าจากการใช้หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าเพียงใด และกฎหมายไทย ได้มีการกำหนดมาตรการป้องกันความสับสนของผู้บริโภคจากการใช้หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าให้มีประสิทธิภาพอย่างใดและสมควรทำการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติในกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองและยอมรับต่อการก่อตั้งสิทธิและรักษาสิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้ใช้โดยสุจริตและเพื่อป้องกันความสับสนของผู้บริโภคจากการใช้หรือจะใช้เครื่องหมายการค้าเช่นว่านั้นอย่างไรบ้าง ผลการวิจัยพบว่า ก. พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ไม่มีบทบัญญัติที่ชัดเจนในเรื่องที่เกี่ยวกับข้อกำหนดที่ให้มีการใช้ว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่า “ใช้” และอย่างไรจึงเรียกว่า “ไม่ได้ใช้” จึงควรมีการประกาศให้มีการใช้ข้อกำหนดต่อการใช้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ใช้อำนาจตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ในข้อกำหนดต่อการใช้ที่จะนำมาใช้บังคับควรมีความเป็นสากล เพื่อให้ต่างประเทศยอมรับถึงวิธีปฏิบัติและแนวทางในการใช้เครื่องหมายการค้ามากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ข. ภาระการพิสูจน์ถึงการใช้หรือไม่ใช้เครื่องหมายการค้า ยังคงตกอยู่ที่ผู้ร้องขอให้มีการเพิกถอนเครื่องหมายการค้า ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า ทำให้การพัฒนาการเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย ไม่เป็นไปตามกระแสของธุรกิจอันแท้จริงในปัจจุบัน จึงควรมีการออกประกาศโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้มีการนำข้อกำหนดที่ให้มีการพิสูจน์ถึงการใช้ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง และในเวลาที่มีการต่ออายุทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาใช้บังคับ เพื่อเป็นการลดภาระในการพิสูจน์ของผู้ร้องขอให้มีการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าลงและเพื่อเป็นการลดจำนวนคำร้องขอให้มีการเพิกถอนเครื่องหมายการค้าเพราะเหตุที่ไม่มีการใช้ลง ตลอดไปจนถึงคดีประเภทนี้ในศาล และ ค. นโยบายในการใช้เครื่องหมายการค้าของผู้จดทะเบียนมีอยู่อย่างสับสนและแตกต่างกันก่อให้เกิดความสับสนต่อประชาชนผู้บริโภคและพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ไม่มีบทบัญญัติโดยตรงในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคจากความสับสนเหล่านี้ ผู้จดทะเบียนและเจ้าของเครื่องหมายการค้าทั้งหลายควรมีนโยบายที่แน่ชัดในการบริหาร และจัดการเครื่องหมายการค้าของตนอย่างเหมาะสม เพื่อให้การใช้และจัดการเครื่องหมายการค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: This research has the objective to study how much Thai laws give protection and accept the establishment and preservation of the right of trademark from the Use or Proposed to Use trademark and how Thai laws effectively provide criteria to protect the confusion of the consumers from the Use or Proposed to Use of Trademark and which provisions should be suitably amended in order to provide due protection and acceptance to the establishment and preservation of the right of trademark of the bona fide user and to provide due protection against the confusion of the consumers from the Use or Proposed to Use of Trademark. The findings are that a. the provisions of the Trademark Act, B.E. 2534 has not expressly provided the matters regarding User Requirements that what shall be regarded as “Use” and what shall be regarded as “Non-Use”, there should be an announcement to implement the User Requirements by the Minister of the Ministry of Commerce by exercising his authority stated under Section 5 of the Trademark Act, B.E. 2534. The User Requirements so implemented should be internationalized in order that foreign countries accept the schemes and practices of trademark use at higher level than that being at present, b. burden of proof whether trademark is used or not used is still at the person who files for cancellation of trademark according to the provision of the Trademark Act. This burden makes development of Thailand’s trademark inconsistently grow with the actual and current business, there should be an announcement made by the Minister of the Ministry of Commerce to require proof of use on renewal or at ther periods in order to reduce the burden of proof of person who files for cancellation action and to decrease number of cancellation actions as well as such relavant cases in Court; and c. policies to use trademark of the registrants is confusingly diversified causing the confusion to the consumers where Trademark Act, B.E. 2534 has no direct provisions to protect the consumers from such confusions, registrants and trademark owners should have a clear policy to effectively and properly administer and manage their use of trademarks.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34983
ISBN: 9745825131
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Adul_ti_front.pdf7.45 MBAdobe PDFView/Open
Adul_ti_ch0.pdf5.07 MBAdobe PDFView/Open
Adul_ti_ch1.pdf10.35 MBAdobe PDFView/Open
Adul_ti_ch2.pdf37.63 MBAdobe PDFView/Open
Adul_ti_ch3.pdf37.31 MBAdobe PDFView/Open
Adul_ti_ch4.pdf13.23 MBAdobe PDFView/Open
Adul_ti_ch5.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open
Adul_ti_back.pdf4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.