Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/355
Title: | ระบบสุขภาพและการประเมินผลการดำเนินการ : รายงานการศึกษา |
Other Titles: | รายงานการศึกษาระบบสุขภาพและการประเมินผลการดำเนินการ |
Authors: | ปรีดา ทัศนประดิษฐ์ เกื้อ วงศ์บุญสิน สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล สุวาณี สุรเสียงสังข์ แกมทอง อินทรัตน์ |
Email: | Kua.W@chula.ac.th Suwanee.S@chula.ac.th Kaemthong.I@chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์. ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสถิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Subjects: | เครื่องชี้ภาวะสุขภาพ ระบบสุขภาพ สุขภาพ--วิจัย |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อกำหนดตัวชี้วัดของการดำเนินการของระบบสุขภาพของประเทศไทย โดยเป็นกระบวนการค้นหาข้อมูลนำเข้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในและต่างประเทศ ร่วมกับกระบวนการกลุ่มเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในหมู่ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการอันไปสู่ข้อมูลที่สำคัญยิ่งสำหรับคณะวิจัย ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหมดได้รับการนำมาประมวล วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อใช้ในการกำหนดนิยามของระบบสุขภาพ องค์ประกอบของระบบสุขภาพ วัตถุประสงค์ของการประเมินการดำเนินการระบบสุขภาพ กรอบการประเมิน หมวดของตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมิน และตัวชี้วัดที่เหมาะสมต่อการใช้ในการประเมิน นอกจากนั้นยังได้ให้คำแนะนำของแหล่งหรือวิธีการได้ค่าของตัวชี้วัด ความพร้อมในการดำเนินการเพื่อเก็บตัวชี้วัดแต่ละตัว และสิ่งที่ยังต้องการการพัฒนาหรือทำการศึกษาในกลุ่มตัวชี้วัดจำนวนหนึ่ง ผลการวิจัยได้สาระสำคัญ ดังนี้ ระบบสุขภาพ หมายถึง กิจกรรมทั้งหมดที่เป็นกระบวนการที่มีจุดประสงค์หลักในการสร้างเสริม ฟื้นฟูและคงไว้ซึ่งสุขภาพของบุคคลและประชาชน องค์ประกอบของระบบสุขภาพซึ่งครอบคลุมเฉพาะกิจกรรมทั้งหมดที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสุขภาพ สามารถจำแนกออกได้เป็นสองส่วนสำคัญ คือ ระบบที่เป็นทางการ (Formal health system) และระบบที่ไม่เป็นทางการ ครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีเพื่อสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน กิจกรรมที่ไม่เป็นทางการเหล่านี้ถึงแม้จะไม่มีความเป็นแบบแผนเท่ากับระบบที่เป็นทางการ แต่ก็ยังคงลักษณะของแบบแผนและความเชื่อมโยงในระดับหนึ่ง ประการสำคัญสามารถเทียบเคียงระหว่างระบบที่เป็นทางการกับระบบที่ไม่เป็นทางการได้ ความสอดคล้องกันปรากฏทั้งในส่วนของการดูแลสุขภาพ และองค์ประกอบอื่น ๆ ได้แก่ การเงิน-ค่าใช้จ่าย ข้อมูลและการสื่อข่าวสาร การพัฒนาบุคลากรและการถ่ายทอดประสบการณ์ การควบคุมกำกับนโยบายและวัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิต ตลอดจนการศึกษาวิจัยและการทดลองพื้นบ้านหรือการค้นพบต่าง ๆ วัตถุประสงค์ของการประเมินระบบสุขภาพของประเทศไทย คือ เพื่อทราบถึงสมรรถภาพของการดำเนินการของระบบสุขภาพ ซึ่งรวมถึง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความชอบธรรมเพื่อนำไปใช้ในการติดตามและพัฒนาระบบสุขภาพ ในการประเมินระบบสุขภาพควรครอบคลุมมิติด้าน "ผลลัพธ์ (Outcome)" "ประสิทธิภาพ (Efficiency)" และ "ความเป็นธรรม (Efficiency)" ทั้งนี้หมวดของการประเมินที่สมควรทำประกอบด้วย สถานะสุขภาพ (Health state) ผลลัพธ์ทางสุขภาพ (Health outcomes) การดูแลทางสุขภาพ (Health care/services) การคลังทางสุขภาพ (Health care finance) การนำในระดับพื้นที่ (Stewardship) การวิจัย (Research) การผลิตและพัฒนาบุคลากร (Human resources) ข้อมูลข่าวสารทางสุขภาพ (Health information) ตัวชี้วัดที่สมควรทำการประเมินได้ทำการจำแนกไว้ตามหมวดทั้ง 8 หมวดมีทั้งหมด 60 ตัวชี้วัด โดยที่ตัวชี้วัดจำนวนหนึ่งสามารถดำเนินการเก็บได้โดยไม่ยากและสามารถดำเนินการได้ในปัจจุบัน แต่ตัวชี้วัดอีกจำนวนหนึ่งยังต้องการกการกำหนดเกณฑ์หรือนิยาม หรือทำการกำหนดกระบวนการทดสอบหรือเก็บข้อมูล นอกจากนั้นยังมีตัวชี้วัดอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมหรือการพัฒนาค่อนข้างมากก่อนที่จะนำมาใช้หรือเก็บได้จริง วิธีการให้ได้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของตัวชี้วัด ตลอดจนความพร้อมและความต้องการการพัฒนาตัวชี้วัดทั้ง 60 ตัว ได้รับการระบุไว้ในการศึกษานี้ ผลที่ได้จากการวิจัยนี้ คงไม่สามารถนำไปใช้ได้ในทันที และยังคงต้องการการผ่านกระบวนการพิจารณาในวงกว้างจากแวดวงนักวิชาการแลผู้ปฏิบัติ โดยเฉพาะผู้กำหนดนโยบายและผู้บริหารซึ่งอาจทำได้โดยการเผยแพร่และรับข้อคิดเห็นเพื่อนำมาปรับปรุง อย่างไรก็ตามผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้ให้กรอบและแนวทางสำคัญซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาระบบการประเมินการดำเนินการของระบบสุขภาพของประเทศไทย |
Other Abstract: | The research study is to determine the indicators of the performances of health system in Thailand thorough the two processes, searching input from various sources in Thailand and other countries and brain storming technique, to create the process of learning together among resource persons and academics that leads to the vital information for conducting further researches and programs. All the derived data were processed, analyzed and synthesized to determine the definition and the composition of health system, the objectives of the evaluation of the health system performance, the scope of the evaluation, the domains of indicators used in the evaluation, and the methods of which we derived the valuation of the indicators, the readiness of the implementation in investigation and collecting each indicator, and some special issues in a group of these indicators that needed to be developed and studied, were also presented in the study. The results of the study could not be used immediately and still need the process of broad considerations from academics and practitioners especially policy planners and executives which could be made by distributing all the information and receiving more opinions of all resource persons for the improvement of the outcome. However, this research has provided the scope and important guidelines, which are necessary for developing the evaluation of the health system in Thailand. Even though the suggested indicators of this study are used for the health system performance evaluation; but through the way of using these indicators in the future, the development for further improvement will be needed continuously. |
Description: | นำเสนอต่อสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/355 |
ISBN: | 9741324081 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Pop - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kua(det).pdf | 6.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.