Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36028
Title: การประเมินความต้องการจำเป็นสมบูรณ์ของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับนักเรียนออทิสติก
Other Titles: A complete needs assessment of inclusive education for autistic students
Authors: เนาวรัตน์ คงพ่วง
Advisors: ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangkamol.T@Chula.ac.th
Subjects: การศึกษาแบบเรียนร่วม -- การประเมินความต้องการจำเป็น
การเรียนร่วมของเด็กพิเศษ
เด็กออทิสติก
เด็กออทิสติก -- การศึกษา
Inclusive education -- Needs assessment
Mainstreaming in education
Autistic children
Autistic children -- Education
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำหนดและจัดลำดับความต้องการจำเป็นของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับนักเรียนออทิสติก 2) วิเคราะห์สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับนักเรียนออทิสติก 2) วิเคราะห์สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับนักเรียนออทิสติก และ 3) เพื่อกำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนออทิสติก การวิจัยนี้มีเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ครูผู้มีประสบการณ์ในการดูแลหรือสอนนักเรียนออทิสติกในโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับนักเรียนออทิสติกทุกเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 390 คน จากโรงเรียนจำนวน 78 โรง วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐานและใช้การประชุมกลุ่มครูผู้มีประสบการณ์ดูแลหรือสอนนักเรียนออทิสติกในห้องเรียนรวมอย่างน้อย 5 ปี จำนวน 6 คน ร่วมกันวิเคราะห์สาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาโดยประยุกต์ใช้แนวคิดต้นไม้แห่งความล้มเหลวประกอบการประชุมกลุ่มและดำเนินการประชุมกลุ่มด้วยเทคนิคกลุ่มสมมตินัยเพื่อร่วมกันกำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหาของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับนักเรียนออทิสติก ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาของโรงเรียนที่จัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับนักเรียนออทิสติกที่พบมีแนวทางการแก้ปัญหาของความต้องการจำเป็นเร่งด่วนที่สุดของแต่ละด้านดังต่อไปนี้ 1. ด้านการบริหาร คือ อัตราส่วนจำนวนครูผู้ดูแลนักเรียนออทิสติกในห้องเรียนรวมไม่เพียงพอมีแนวทางการแก้ไขปัญหา คือ เพิ่มปริมาณครูการศึกษาพิเศษ โดยมุ่งเน้นที่หลักสูตรการผลิตครู 5 ปี เพราะสามารถเรียนรู้ต่อยอดได้อย่างรวดเร็ว 2. ด้านหลักสูตร คือ การปรับปรุงหลักสูตรยังไม่เหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนออทิสติกมีแนวทางการแก้ไขปัญหา คือ กระทรวงศึกษาธิการ, สมศ. และโรงเรียน ควรสร้างความเข้าใจในเรื่องนโยบายและหลักการในการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ในการเขียนแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) เนื่องจากยังมีความสับสนเกี่ยวกับการจัดหลักสูตรเฉพาะบุคคล 3. ด้านการจัดการเรียนการสอน คือ โรงเรียนยังไม่ให้นักเรียนออทิสติกมีโอกาสร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นทุกกิจกรรม มีแนวทางการแก้ไขปัญหา คือ ควรมีการให้ความรู้ จัดการประชาสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติ ครู บุคลากรทุกคนในโรงเรียน และผู้ปกครองทั้งของเด็กออทิสติกและเด็กปกติ 4. ด้านสื่อ สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โรงเรียนขาดจากจักสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการให้นักเรียนออทิสติกได้ฝึกการใช้ชีวิตประจำวัน มีแนวทางการแก้ไขปัญหา คือ รัฐควรมีนโยบายการจัดสรรงบประมาณอย่างเป็นรูปธรรมและจริงจัง 5. ด้านบุคลากร คือ โรงเรียนขาดการเชิญวิทยากร/ศึกษานิเทศก์มาให้ความรู้ด้านการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมแก่ครูในการจัดการเรียนการสอน มีแนวทางการแก้ไขปัญหา คือ โรงเรียนควรคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม อาจเป็นครูในโรงเรียนไปอบรมเพื่อนำความรู้มาถ่ายทอดต่อครูในโรงเรียนทั้งหมด
Other Abstract: This research aimed to identify and set priority of inclusive education schools for autistic students problems, to analyze the causes of inclusive education schools for autistic students' problems and to ascenaln the proper solutions to solve tlic problems of inclusive education schools for autistic students. This research collected data by questionnaire developed by researcher; the data were filled up by the 390 teachers from 78 inclusive education schools for autistic students and analyzed by using basic statistics. The research also employed [he focus groups to analyze the causes of the problems by applying Fault Tree Analysis Technique. The focus groups were participated by 6 contributors who were personnel in charge of inclusive education schools for autistic students and the researcher moderated the focus groups to ascertain the proper solurions to solve the problems of inclusive education schools for autistic students problems. The research found that tlie problems of education schools for autistic students which have to solve for a special need are : I . The administration is the lack of special teachers. The proper solution to solve the problem is [n build up tlie special teachers for curriculum 5 years so they are able for the continuous education in the future. 2. The curriculum is not convenient for autistic students. The proper solution to solve the problem for ministry of education. ONESQA and schools is to create the emphatic policy of instruction especially the policy of individualized educatio~pi rogram (IEP) to make this program more understandable for all people. 3. The instruction is the schools do not pemiit autistic students in all activity. The proper solutions ro solve the problem are to expose tlie knowledge and promote all the activities to students, autistic students. teacllers and all !he guardians. 4. The equipment. place and facility are the lack of environmental arrangement for autistic student5 for practicing their daily program. The proper solution to solve the problem is the government should be serious in allocate the budget for improving the environment in the schools for the autistic students. 5 . The personnel is the schools do not have an expert or a specialist to educate tlle teachers. The proper solution to solve the problem is the schools should select a suitable person to train from an expert or specialist and express knowledge to all the teachers in schools.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36028
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.462
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.462
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
naowarat_ko.pdf3.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.