Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36233
Title: ผลของ nandrolone laurate ต่อการเชื่อมของกระดูกในสุนัข
Other Titles: Effects of nandrolone laurate on fracture healing in dogs
Authors: ภาคภูมิ อาษา
Advisors: ศิรินทร หยิบโชคอนันต์
สุมิตร ดุรงค์พงษ์ธร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: sirintorn.y@chula.ac.th
sumit.D@chula.ac.th
Subjects: สุนัข -- กระดูกหัก -- การรักษา
กระดูกหักในสัตว์ -- การรักษา
Dogs -- Fractures -- Treatment
Fractures in animals -- Treatment
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ nandrolone laurate (NL) ในการเสริมการรักษาการเชื่อมกระดูกหัก ภายหลังการแก้ไขภาวะกระดูกหักด้วยวิธีการผ่าตัดในสุนัข สุนัขที่เข้าร่วมการศึกษาเป็นสุนัขที่มีภาวะกระดูท่อนยาวขาหน้าหรือขาหลังหักไม่เกิน 1 สัปดาห์ และเข้ารับการแก้ไขภาวะกระดูกหักด้วยวิธีการผ่าตัดที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวนทั้งสิ้น 16 ตัว อายุเฉลี่ย 2.13 ± 0.72 ปี แบ่งสุนัขทั้งหมดออกเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่ม คือ กลุ่มควบคุม และกลุ่มศึกษา จำนวนกลุ่มละ 8 ตัว สุนัขกลุ่มศึกษาไดรับการฉีด NL ขนาด 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อตัว) เข้าใต้ผิวหนังทันทีภายหลังการผ่าตัดแก้ไขภาวะกระดูกหัก และได้รับการฉีก NL อีก 2 ครั้งในสัปดาห์ที่ 2 และ 4 หลังการผ่าตัดแก้ไขภาวะกระดูกหักตรวจวัดระดับ bone alkaline phosphatase (BALP), osteocalcin (OC), total calcium (Ca²⁺) และ inorganic phosphorus (P) ในซีรัม ในสัปดาห์ที่ 1, 2, 4, 8 และ 12 ภายหลังการผ่าตัดแก้ไขภาวะกระดูกหัก รวมทั้งตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดแดงในสัปดาห์ที่ 0, 4, 8 และ 12 และค่าเอนไซม์ตับ ในสัปดาห์ที่ 0 และ 8 ของการศึกษา ร่วมกับการประเมินการหายของกระดูกด้วยภาพถ่ายรังสีวินิจฉัย ณ สัปดาห์ที่ 4, 8 และ 12 รวมระยะเวลาการศึกษาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ จากผลการศึกษาพบว่า ระดับ BALP เฉลี่ยในซีรัมของสุนัขกลุ่มศึกษาสูงกว่าสุนัขกลุ่มควบคุมตลอดระยะเวลาการศึกษา โดยพบระดับที่สูงกว่าสุนัขกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยทางสถิต (p<0.05) ณ สัปดาห์ที่ 8 และ 12 และเมื่อเปรียบเทียบระดับ BALP เฉลี่ยในซีรัมของสุนัขกลุ่มศึกษากับสัปดาห์ที่ 0 ภายในกลุ่มเดียวกัน พบว่าระดับ BALP เฉลี่ยในสัปดาห์ที่ 1 และ 12 เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับระดับ OC เฉลี่ยในซีรัมของสุนัขทั้งสองกลุ่มเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ 0 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบระดับ OC ในซีรัมระหว่างสุนัขกลุ่มศึกษาและสุนัขกลุ่มควบคุม ณ เวลา เดียวกัน พบว่า ระดับ OC เฉลี่ยในซีรัมของสุนัขกลุ่มศึกษาสูงกว่ากลุ่มควบคุมตลอดระยะเวลาการศึกษา ระดับ total Ca²⁺ และ inorganic P ในซีรัมของสุนัขกลุ่มควบคุมอยู่ในระดับปกติ และถึงแม้ระดับ total Ca²⁺ และ inorganic P ในชีรัมของสุนัขกลุ่มศึกษาต่ำกว่าระดับปกติในสัปดาห์ที่ 12 ของการศึกษา แต่ไม่มีสุนัขตัวใดแสดงอาการผิดปกติทางคลินิก ค่าเอนไซม์ที่แสดงการทำงานของตับในสุนัขทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับปกติ และผลจากการประเมินภาพถ่ายรังสีวินิจฉัย พบว่า ในสัปดาห์ที่ 4 สุนัขกลุ่มศึกษามีปริมาณกระดูกซ่อมที่มาพอกบริเวณกระดูกหักมากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม จากผลการทดลองครั้งนี้สรุปได้ว่า การฉีด NL ขนาด 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เข้าใต้ผิวหนัง ทุก 2 สัปดาห์ ติดต่อกัน 3 ครั้ง มีผลทำให้ระดับ OC และ BALP ในซีรัมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นการบ่งชี้การทำงานของเซลล์ osteoblast ที่เพิ่มขึ้นระหว่างมีการเชื่อมของกระดูกหักในสุนัข
Other Abstract: The aim of this study was to investigate the effects of nandrolone laurate (NL) on heaing formation of bone fracture in dogs. Sixteen client-owned dogs (2.13 ± 0.72 years old) with less than a week fracture of long bone forelimb or hindlimb were divided into two groups; control (n=8) and study groups (n=8). All the fractured bones were fixed with intramedullary pin and/or plate and screws. NL (5 mg/kg. maximum of 50 mg/dog) was injected subcutaneously immediately after correction of bone fracture, and then at the 2nd and the 4th week of the study. Serum bone alkaline phosphatase (BALP), osteocalcin (OC), total calcium (Ca²⁺) and inorganic phosphorus (P) concentrations were measured before (week 0) and after surgery at the 1st, 2nd, 4th, 8th and 12th week. Red blood cell count were evaluated in week 0, 4, 8 and 12. Liver function enzyme concentrations were evaluated in week 0 and 8. In addition, radiographs were taken in week 4, 8 and 12 to monitor bone heaing formation. The entire period of this study was 12 weeks. The results showed that, average serum BALP concentrations in dogs of the study group were higher than those of the control group for the entire period of the study. However, the statistical difference (p<0.05) was observed ony in week 8 and 12 compared to those of the control group. In addition, the serum BALP concentrations in dogs of the study group in week 1 and 12 were significantly increased (p0.05) copared to those in week 0. Average serum OC concentrations in dogs of the study group tended to be higher than those of the control group with no statistical difference (p>0.05) for the entire period of the study. Total serum Ca²₊ and inorganic P concentrations in dogs of the control group were in normal range. In the study group, although the concentration of total serum Ca²₊ in week 12 was lower than normal range, none of the dog showed clinical signs of hypocalcemia. The liver function enzyme concentrations were also normal in both groups. At the 4th week, more callus between the fractured gap was observed in the treated group compared to that in the control group. Taken together, our findings suggested that nandrolone laurate (5 mg/kg. Sc) every 2 weeks for 3 injections increased serum BALP and OC concentrations, indicating an increased activity of osteoblast during bone healing process.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชวิทยาทางสัตวแพทยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36233
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phakphum_as.pdf3.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.