Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3632
Title: สมบัติทางเคมีและทางกายภาพของสตาร์ชจากกลอย Dioscorea hispida Dennst และสตาร์ชจากกลอยที่ผ่านการดัดแปรด้วยความร้อนชื้น
Other Titles: Chemical and physical properties of yam Dioscorea hispida Dennst starch and heat-moisture modified yam starch
Authors: ธาริน นาคศรีอาภรณ์, 2521-
Advisors: จิรารัตน์ ทัตติยกุล
พาสวดี ประทีปะเสน
Advisor's Email: Jirarat.t@chula.ac.th
pasawad@sc.chula.ac.th, Pasawadee.P@Chula.ac.th
Subjects: กลอย
สตาร์ช
การดัดแปรด้วยความร้อนชื้น
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติทางเคมีและกายภาพของสตาร์ชจากกลอย 2 ชนิด ได้แก่ กลอยข้าวเจ้าและกลอยข้าวเหนียวและศึกษาสมบัติทางเคมีและกายภาพของสตาร์ชจากกลอยข้าวเหนียวที่ผ่านการดัดแปรด้วยความร้อนชื้น สตาร์ชจากกลอยข้าวเจ้าและกลอยข้าวเหนียวมีปริมาณองค์ประกอบทางเคมีที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยในสตาร์ชแห้งมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 86.4% และ 86.6% ปริมาณโปรตีน 0.14% และ 0.13% และปริมาณไขมัน 0.12% และ 0.13% สตาร์ชจากกลอยทั้งสองชนิดมีปริมาณอะมิโลสทั้งหมดสูงและแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ คือ 37.2% และ 39.9 % แกรนูลของสตาร์ชจากกลอยทั้ง 2 ชนิดเป็นรูปหลายเหลี่ยม มีขนาด 3.7 micrometre และ 4.0 micrometre และมีโครงร่างผลึกเป็นแบบ B สตาร์ชจากกลอยทั้งสองชนิดมีกำลังการพองตัวปริมาณ amylose leaching และความสามารถในการถูกย่อยด้วยเอนไซม์ alpha amylase และ amyloglucosidase ต่ำ เมื่อทดสอบสมบัติทางความหนืดด้วยเครื่อง RVA มีอุณหภูมิเริ่มเกิดความหนืดที่ 79.6 ํC และ 78.3 ํC มีความหนืดสูงสุดสูงปานกลาง มีความคงทนต่อแรงเฉือนและความร้อนที่ 95 ํC ปานกลาง และมีค่าการคืนตัวค่อนข้างต่ำ และเมื่อทดสอบด้วยเครื่อง DSC พบว่าสตาร์ชจากกลอยทั้ง 2 ชนิด มีอุณหภูมิในการเกิดเจลาติไนเซชันอยู่ในช่วง 71.3 ถึง 84.6 ํC และมีค่า [delta]H อยู่ในช่วง 14.3 ถึง 16.4 J/g เมื่อเก็บสตาร์ชที่อุณหภูมิ 4 ํC นาน 14 วันพบว่าสตาร์ชจากกลอยทั้ง 2 ชนิด มีค่า [delta]H[subscript R] อยู่ในช่วง 7.7 ถึง 8.8 J/g เจลของสตาร์ช (7% w/w) จากกลอยทั้งสองชนิด สามารถคงตัวได้เมื่อมีแรงกระทำ โดยมีค่า G* คงที่ตลอดช่วงความถี่ตั้งแต่ 0.001 ถึง 30 Hz. เมื่อดัดแปรสตาร์ชจากกลอยข้าวเหนียวด้วยความเข้มข้น โดยปรับให้มีความชื้น 5 ระดับ คือตั้งแต่ 13 ถึง 30% และแต่ละระดับให้ความร้อนที่อุณหภูมิตั้งแต่ 90 ถึง 130 ํC เป็นเวลา 10 ชั่วโมง พบว่าลักษณะโครงร่างผลึกเปลี่ยนไปจากแบบ B เป็น C ในสตาร์ชจากกลอยข้าวเหนียวที่ผ่านการดัดแปรฯ โดยไม่ปรับความชื้นที่อุณหภูมิ 90 ํC และเปลี่ยนเป็นแบบ A ในสตาร์ชจากกลอยข้าวเหนียวที่ผ่านการดัดแปรฯ โดยไม่ปรับความชื้นที่อุณหภูมิ 100 ถึง 130 ํC ขณะที่โครงร่างผลึกยังคงเป็นแบบ B เช่นเดิมในสตาร์ชจากกลอยข้าวเหนียวที่ผ่านการดัดแปรฯที่ปรับความชื้นให้เป็น 18 ถึง 30% ที่อุณหภูมิ 90 ํC สตาร์ชจากกลอยที่ผ่านการดัดแปรฯมีกำลังการพองตัว ปริมาณ amylose leaching ความหนืดสูงสุด รวมถึงความสามารถในการถูกย่อยด้วยเอนไซม์ต่ำลงต่ำลงและมีอุณหภูมิเริ่มเกิดความหนืดความคงทนต่อแรงเฉือนและความร้อน การคืนตัวสูงขึ้นในสตาร์ชที่ดัดแปรฯในสภาวะที่ตัวอย่างมีความชื้นต่ำหรือที่ตัวอย่างมีความชื้นสูงที่อุณหภูมิต่ำ มีช่วงอุณหภูมิในการเกิดเจลาติไนเซชันสูงขึ้น ในขณะที่มีค่า [delta]H และ [delta]H[subscript R] ต่ำลงในทุกสภาวะการดัดแปร สตาร์ช จากกลอยข้าเหนียวที่ผ่านการดัดแปรฯโดยไม่ปรับความชื้นที่อุณหภูมิ 90 ถึง 120 องศาเซลเซียส ให้เจลที่มีค่า G* สูงขึ้นและคงที่ตลอดช่วงความถี่ในการทดสอบ
Other Abstract: The objective of this research was to examine physicochemical properties of yam starches extracted from Thai yams (Dioscorea hispida Dennst); kloy kao chao (YS1) and kloy kao neaw (YS2), and heat-moisture modified (HMM) YS2 starch. The chemical compositions of both yam starches, except amylose content, were not significantly different. YS1 and YS2 starches contain 86.4% and 86.6% carbohydrate, 0.14% and 0.13% protein, 0.12% and 0.13% fat, 37.2% and 39.9% total amylose, on dry basis, respectively. The starch granules from both types of yam were polyhedral having diameters of 3.7 and 4.0 microns and had the typical B-type X-ray diffraction pattern. The starches had low swelling power, amylose leaching content and the susceptibility to alpha-amylase and amyloglucosidase. The pasting temperatures of YS1 and YS2 starches observed by RVA were 79.6 degree celsius and 78.3 degree celsius, respectively, with moderate peak viscosity, shearing and heating stability at 95 degree celsius, and low setback. From DSC test,both yam starches had gelatinization temperatures in the range of 71.3 degree celsius to 84.6 degree celsius and [delta]H in the range of 14.3 to 16.4 J/g. It was found that [delta]H[subscript R] was in the range of 7.7 to 8.8 J/g after storing gelatinized starches at 4 degree celsius for 14 days. From frequency sweep test, the gel (7% w/w) from both yam starches gave constant G* over the tested frequency range. After HMM at 5 moisture levels (13% to 30%) and 5 temperatures (90 degree celsius to 130 degree celsius) for 10 hours, the granules crystalline structure changed from B to C-type in YS2 starch modified at unadjusted moisture content (~13%) and 90 degree celsius and changed to A-type in that modified at unadjusted moisture content at the temperature range of 100 degree celsius to 130 degree celsius. However, YS2 starch modified at adjusted moisture content in the 18 to 30% range and 90 degree celsius still showed a B type crystallographic pattern. The effect of HMM at low or high moisture levels at low temperatures caused a decrease in swelling power, amylose leaching content, and enzyme susceptibility. In general, all modification conditions used in this study increased gelatinization temperature, but decreased [delta]H and [delta]H[subscript R] HMM of YS2 starch at unadjusted moisture content and the temperature range of 90 degree celsius to 120 degree celsius gave a gel with a higher G* which was constant over the tested frequency range.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/3632
ISBN: 9741764324
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tarin.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.