Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36432
Title: บทบาทขององค์กรชุมชนในกระบวนการมีส่วนร่วมในโครงการบ้านมั่นคงในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Roles of community-based organizations in the participation processes in Baan Mankong programs in Bangkok
Authors: สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ
Advisors: อภิวัฒน์ รัตนวราหะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: rapiwat@gmail.com
Subjects: อำนาจชุมชน
องค์กรชุมชน
การพัฒนาชุมชนเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
สังคมวิทยาเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Community power
Community organization
Community development, Urban -- Thailand -- Bangkok
Sociology, Urban -- Thailand -- Bangkok
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนในโครงการบ้านมั่นคง พื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบบทบาทขององค์กรชุมชนที่มีระดับการมีส่วนร่วมต่างกัน และ 3) ศึกษาลักษณะการติดต่อสื่อสารท่ามกลางสมาชิกองค์กรชุมชนในชุมชนที่องค์กรชุมชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมที่ต่างกัน ระเบียบวิธีการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1) การศึกษาระดับภาพรวม มีหน่วยวิเคราะห์การวิจัยคือองค์กรชุมชนที่ดำเนินโครงการบ้านมั่นคงในกรุงเทพมหานคร จำนวน 130 องค์กรชุมชน และ 2) การศึกษาระดับเชิงลึกแบบกรณีศึกษา มีหน่วยวิเคราะห์การวิจัยคือสมาชิกองค์กรชุมชนรายครัวเรือนในแต่ละกรณีศึกษาที่คัดเลือกมาจากการจำแนกประเภทระดับการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในการดำเนินโครงการบ้านมั่นคง วิธีการรวบรวมข้อมูลการวิจัยมี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ข้อมูลทุติยภูมิจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน 2) การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการพัฒนาชุมชน และ 3) การสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามกับหน่วยวิเคราะห์ทั้งสองระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิควิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเปรียบเทียบความแตกต่างขององค์กรชุมชนที่มีระดับการมีส่วนร่วมที่ต่างกัน และเทคนิควิเคราะห์โครงข่ายทางสังคมเพื่อการอธิบายบทบาทขององค์กรชุมชนและสมาชิกองค์กรชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีสถานการณ์ร่วมกันของสมาชิกองค์กรชุมชนเป็นสิ่งสำคัญของกระบวนการรวมกลุ่มขององค์กรชุมชน สถานการณ์ที่มีปัญหาต่อความมั่นคงในการอยู่อาศัยจะทำให้สมาชิกชุมชนมีการรับรู้และตระหนักต่อสถานการณ์ และเป็นสิ่งกระตุ้นให้เกิดทัศนคติและพฤติกรรมในการแก้ไขปัญหา นำไปสู่การวางกลยุทธการติดต่อสื่อสารอย่างเป็นโครงข่ายเพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหา และค้นหาสมาชิกบุคคลอื่นที่เผชิญกับสถานการณ์เดียวกัน 2) การรวมกลุ่มองค์กรชุมชนควรมาจากการให้คุณค่าต่อวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มของสมาชิกองค์กรมากกว่าการแทรกแซงและสร้างเงื่อนไขในการรวมกลุ่มขององค์กรชุมชน เนื่องจากจะเป็นปัจจัยที่ทำให้การตระหนักและการรับรู้ในบริบทที่มีความหมายร่วมกันลดลง ส่งผลต่อความเข้าใจในบทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกองค์กรชุมชน 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการขององค์กรชุมชนไม่ได้มาจากการตัดสินใจขององค์กรชุมชนในทุกขั้นตอนของการดำเนินโครงการ สิ่งนี้ทำให้ระดับการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนในการดำเนินโครงการบ้านมั่นคงมีความแตกต่างกัน คือ การมีส่วนร่วมแบบหุ้นส่วนกับการมีส่วนร่วมแบบให้ความคิดเห็น การมีส่วนร่วมทั้งสองลักษณะนี้มีความต่างกันอย่างมาก ทั้งด้านการปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรภายนอก บทบาทการมีส่วนร่วมและลักษณะการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมแบบหุ้นส่วนจะส่งผลต่อบทบาทขององค์กรชุมชนและบทบาทของสมาชิกองค์กรชุมชนในการดำเนินโครงการ และ 4) การดำเนินโครงการขององค์กรชุมชนที่มีส่วนร่วมแบบหุ้นส่วนมุ่งเน้นกิจกรรมและวิธีการติดต่อสื่อสารโดยการใช้กลุ่มย่อยเพื่อการติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างเป็นโครงข่ายแบบสื่อสารอย่างครอบคลุมที่สามารถทำให้เกิดความรับรู้เข้าใจร่วมกันตรงกันนำไปสู่การมีส่วนร่วมและการตัดสินใจร่วมกัน
Other Abstract: The objectives of this study were 1) to study the level of community participation in community development projects, Baan Mankong program, in Bangkok metropolis 2) to comparative study of roles of CBOs (Community-based Organizations) in different levels of community participation and 3) to study characterization of communication among CBO members in the different levels of community participation. The research methodology was divided into two levels: 1) the overview level had the unit of analysis was CBOs in community development projects in Bangkok metropolis and 2) the in-depth level had the unit of analysis was CBO members by selecting case studies with the classification levels of community participation in community development projects. Data collection methods had 3 ways including 1) to gather secondary data from CODI (Community Organizations Development Institute) 2) to in-depth interview from key informant in community development projects and 3) to interview by questionnaires with unit of analysis at two levels. The data analysis was made by statistical technique to compare of different levels of CBO participation, and by technique of SNA (social network analysis) for describe roles of CBOs. Research finding that 1) The meaning of perception is key to community conglomeration, namely a problem situation has effect to unstable dwelling of people that make people's conscious perception in situation to finding solution and make to communicate with other people who have same situation. 2) Community conglomeration should made by people’s conscious perception in objective of conglomeration, but should not made by agent's intervention because of it make meaning of perception decrease. 3) Decision-making of CBOs in each state of program contribute to different levels of community participation and 4) community participation at partnership level use small group in organization to communicate with other members that lead to network linkage at all. The network makes to raise people's perception and meaning contribute to roles of member in community conglomeration and decision-making together.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36432
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1581
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1581
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sarit_ti.pdf5.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.