Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36743
Title: Effects of polysaccharide gel extracted from durian Durio zibethinus fruit-rinds on immune responses in chickens and quantity cholesterol in chicken nuscle
Other Titles: ผลของสารสกัดเจลพอลิแซ็กคาไรด์จากเปลือกทุเรียน Durio zibethinus ต่อการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในไก่และปริมาณคอเลสเตอรอลในกล้ามเนื้อของไก่
Authors: Nustha Kitprathaung
Advisors: Nattaya Ngamrojanavanich
Sununta Pongsamart
Niwat Chansiripornchai
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: Nattaya.N@Chula.ac.th
No information provided
Niwat.C@Chula.ac.th
Subjects: Polysaccharides
Durian
Chickens
Cholesterol
โพลิแซคคาไรด์
ทุเรียน
ไก่
โคเลสเตอรอล
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2012
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Polysaccharide gel (PG) from the fruit-rind of durian (Durio zibethinus Murr.) was studied. This study was to evaluate:(1) the effects of PG as a feed additive diet on body weight gain, fed conversion ratio (FCR), immune stimulation, total bacteria and Salmonella in feces and cholesterol levels in broilers. Eighty broiler chicks at one day of age were divided into 4 groups. Three experimental groups were fed a commercial diet coated with PG at 1, 2 and 3 g/100 g, respectively, and the control group was fed a commercial diet without PG. The study was performed for 42 days. Chicken weight gain and FCR in the treatment and control groups were not significantly different. The hemagglutination-inhibition (HI) antibody titers against Newcastle disease (ND) virus and ELISA antibody titers against the infectious bursal disease (IBD) virus were significantly different (P<0.05). The chickens fed the commercial feed added with 3 g/100 g PG revealed the highest titers against the ND and IBD antibodies than the other groups. There was no significant difference of heterophil:lymphocyte ratio between the treatment groups fed with PG and the control group fed without PG. Total bacteria counts in chicken feces were reduced and exhibited 81-97 % reduction in the experimental groups after feeding PG additive diet for 6 weeks. The Salmonella detected colonies were not found at week 6. Cholesterol levels in the plasma of chickens in the treatment and control groups were not significantly different. However, the cholesterol contents in the muscles of the broilers fed with 3% PG were significantly lower than the chickens fed without PG (P<0.05). (2) the effects of PG as a vaccine adjuvant. One hundred and sixty eight broilers were divided into 3 experimental groups. Three experimental groups were vaccinated with inactivated NDV vaccine containing PG at 0.5, 1.0 and 1.5 g/100 g vaccine; The study was performed for 55 days. The FCR in the negative control, positive control groups, the group received inactivated vaccine with 0%, 1.0% and 1.5% PG and the group were received commercial inactivated ND vaccine were not significant difference. The HI titers against ND virus showed at week 4 that HI titer in negative control, positive control and treated group injected with inactivated vaccine with 0, 0.5, 1.0 and 1.5% PG as well as commercial inactivated ND vaccine were not significant difference (P<0.05). At week 5, the HI titer values in negative and positive control group and treated group injected with 0.5 and 1% PG were not significant difference but significantly lower than those of group injected with 1.5% PG and commercial vaccine. The study found that the PG in diet benefited health promotion of broilers chickens in reduction fecal bacteria, immunostimulation and cholesterol reduction. PG can be used as a vaccine adjuvant to improve the immune system in chicken.
Other Abstract: สารพอลิแซ็กคาไรด์เจล (PG) สกัดจากเปลือกของผลทุเรียน (Durio zibethinus) เป็นสารเพคติคพอลิแซ็กคาไรด์ที่มีฤทธิ์ต่อภูมิคุ้มกันและต้านแบคทีเรียได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลของ PG ในฐานะอาหารเสริมในด้านการเพิ่มน้ำหนัก อัตราแลกเนื้อ ผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน การลดจำนวนแบคทีเรียโดยรวมและซัลโมเนลลาในมูลไก่ และการลดโคเลสเตอรอลในไก่เนื้อ ใช้ไก่เนื้ออายุ 1 วันจำนวน 80 ตัว แยกออกโดยสุ่มเป็น 4 กลุ่ม ไก่กลุ่มทดลองให้อาหารที่เคลือบด้วย PG ในอัตราส่วน 1, 2 และ 3 กรัมต่อ 100 กรัมอาหารไก่ ตามลำดับ และไก่กลุ่มควบคุมให้อาหารพื้นฐานที่ไม่มี PG เป็นเวลา 42 วัน พบว่า PG ไม่มีผลแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการเพิ่มน้ำหนักไก่และอัตราแลกเนื้อในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไก่กลุ่มทดลองที่ให้อาหารเคลือบด้วย PG ในอัตราส่วน 3 กรัมต่อ 100 กรัมอาหารไก่มีระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคนิวคาสเซิลและเบอร์ซาอักเสบติดต่อที่สูงกว่าไก่กลุ่มอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของอัตราส่วนของค่าเฮทเทอโรฟิลล์ต่อลิมโฟไซด์ระหว่างไก่กลุ่มทดลองที่ได้รับอาหารที่เคลือบด้วย PG และกลุ่มควบคุมที่ให้อาหารพื้นฐานที่ไม่มี PG พบว่าในสัปดาห์ที่ 6 ไก่กลุ่มทดลองที่ได้รับ PG มีจำนวนแบคทีเรียโดยรวมในมูลไก่สดลดลง 81-97% อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) เมื่อเทียบกับไก่กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับ PG ปริมาณเชื้อซัลโมเนลลาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และไม่พบโคโลนีของเชื้อซัลโมเนลลา ในสัปดาห์ที่ 6 ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของปริมาณโคเลสเตอรอลในพลาสมา ขณะที่ไก่กลุ่มที่ได้รับอาหารที่เคลือบด้วย PG มีปริมาณโคเลสเตอรอลในเนื้ออกไก่ต่ำกว่าไก่กลุ่มที่ไม่ได้รับ PG อย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) (2) ประเมินผลของ PG เพื่อเสริมประสิทธิภาพของวัคซีนชนิดเชื้อตายที่ผลิตขึ้นเองต่อโรคนิวคาสเซิล ทำการทดลองในไก่เนื้อ 168 ตัว กลุ่มทดลองให้วัคซีนชนิดเชื้อตายที่มี PG ในอัตราส่วน 0.5, 1.0 และ 1.5 กรัมเปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทำการทดลองเป็นเวลา 55 วัน พบว่าไก่กลุ่มควบคุมลบซึ่งไม่ได้รับวัคซีนและไม่มีการป้อนเชื้อพิษนิวคาสเซิล ไก่กลุ่มควบคุมบวกซึ่งไม่ได้รับวัคซีนแต่มีการป้อนเชื้อพิษนิวคาสเซิล ไก่กลุ่มทดลองที่ให้วัคซีนชนิดเชื้อตายที่มี PG ในอัตราส่วน 0.5 และ 1.0 กรัมเปอร์เซ็นต์และไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีนทางการค้าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของอัตราแลกเนื้อ สัปดาห์ที่ 4 ระดับของภูมิคุ้มกันต่อโรคนิวคาสเซิลระหว่างไก่กลุ่มควบคุมลบ ไก่กลุ่มควบคุมบวก ไก่กลุ่มทดลองที่ให้วัคซีนชนิดเชื้อตายที่มี PG ในอัตราส่วน 0.5, 1.0 และ 1.5 กรัมเปอร์เซ็นต์ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับไก่กลุ่มที่ได้รับวัคซีนทางการค้า ในสัปดาห์ที่ 5 พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคนิวคาสเซิลระหว่างไก่กลุ่มควบคุมลบ กลุ่มควบคุมบวกและไก่กลุ่มทดลองที่ให้วัคซีนชนิดเชื้อตายที่มี PG ในอัตราส่วน 0.5 และ 1.0 กรัมเปอร์เซ็นต์ แต่มีค่าต่ำกว่ากลุ่มทดลองที่ฉีดวัคซีนที่มี 1.5%PG และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนทางการค้า จากการทดลองสามารถสรุปได้ว่าใช้ PG เป็นสารช่วยเสริมในอาหารไก่เพื่อช่วยเสริมสุขภาพในไก่ในการช่วยลดปริมาณแบคทีเรียในมูลไก่ เพิ่มการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของไก่และลดปริมาณโคเลสเตอรอลในเนื้อไก่ได้
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2012
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Biotechnology
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36743
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.919
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.919
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nustha_ki.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.