Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/368
Title: | การพัฒนางานบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยวิธีเบ็นช์มาร์คกิ้ง กับ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ : การวิจัย |
Other Titles: | Improving the reference services of the Center of Academic Resources, Chulalongkorn University by benchmarking methodology with the National University of Singapore Library |
Authors: | ยุพิน จันทร์เจริญสิน |
Email: | Yupin.C@car.chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิทยบริการ |
Subjects: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิทยบริการ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ บริการตอบคำถาม--ไทย บริการตอบคำถาม--สิงคโปร์ การเปรียบเทียบจุดเด่น (การจัดการ) |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้าของสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยวิธีการเบ็นช์มาร์คกิ้ง กับห้องสมุดมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ วิธีการเบ็นช์มาร์คกิ้ง เป็นเครื่องมือใช้สำหรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นที่ยอมรับของวงการธุรกิจมาก่อน และมาเป็นที่นิยมในวงการหัองสมุด กระบวนการเป็นการศึกษาวิเคราะห์หาความแตกต่าง จุดอ่อน จุดแข็ง ของคู่เปรียบเทียบที่มีวิธีการปฏิบัติการเป็นเลิศ เพื่อนำมาเป็นแนวทางการปรับปรุงงานของตน ผลการวิจัยที่ได้จากการทำเบ็นช์มาร์คกิ้ง ได้ข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้ 1. ควรมีความแตกต่างในเรื่องระยะเวลาการให้บริการในระหว่างเปิด-ปิด ภาคการศึกษา และระหว่างสอบ เพื่อสนองความต้องการของผู้รับบริการและเป็นการใช้งบประมาณ กำลังคนอย่างมีคุณค่า 2. ควรมีการแบ่งพื้นที่การให้บริการที่นั่งอ่านเป็นสัดส่วนของระดับการอนุญาตให้ใช้เสียงได้ มีการจัดห้องประชุมกลุ่มย่อย ห้องศึกษาเดี่ยว เขตอนุญาตใช้โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น 3. ควรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริการ สื่อสารกับผู้รับบริการให้เต็มศักยภาพ ควรจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น scanner และ printer และมีบริการ Documenta Delivery ไว้ให้บริการคณาจารย์และนักวิจัย 4. บรรณารักษ์ฝ่ายต่าง ๆ ควรมีส่วนร่วมในการให้บริการสารสนเทศ และบรรณารักษ์ฝ่ายบริการสารสนเทศ ควรจะทำหน้าที่ช่วยคัดเลือกหนังสือ ทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุดด้วย สำหรับการพัฒนาบรรณารักษ์นั้น นอกจากการเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญทางวิชาชีพแล้ว ควรได้รับการสนับสนุนให้เข้าร่วมประชุม สัมมนา ทางวิชาการด้วย เพื่อสร้างเสริมความรู้ในเนื้อหาเพื่อให้บริการคุณภาพ 5. คณาจารย์ นักวิจัยควรจะได้รับจัดสรรเงินงบประมาณ สำหรับการซื้อทรัพยากรสารสนเทศที่แต่ละคนต้องการใช้ |
Other Abstract: | This research was aimed at the improvement of the reference services of the Center of Academic Resources, Chulalongkorn University. Benchmarking is widely reconized by business circles as a tool continuous, on-going improving, and is now increasingly popular among those libraries where improvement is needed. The process outlined here involved studying the strengths and weakness of a selected partner library which has highly evolved practices. In this case, the reference services of the National University of Singapore Library was selected for study. The findings of this study, then, were closely examined to imrove the references services of the Center of Academic Resources, Chulalongkorn University. The following suggestions are made based on this examination: 1. The opening hours of the Center should be varied. Sundays should be in service during the academic session. 2. The reading area shoul be zoned for individual study, and group discussion areas should also be provided. 3. Information Technology should be comprehensively implemented to economize on manpower, and also fro the convenience of the users. 4. Librarians should receive further profieesional and academic training in order to render quality service. 5. Instructors and researchers shouls be provided with an annual allowance to support their research projects. |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/368 |
ISBN: | 9741333897 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | OAR - Research Reports |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.